ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศมณฑล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Char (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 110:
เคาน์ตีบางแห่งมีเพียงอำเภอเดียว ได้แก่ [[บริสตอล]] [[เฮริฟอร์ดเชอร์]] [[เกาะไวต์]] (หรือไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight)) [[Northumberland|นอร์ทัมเบอร์แลนด์]] และ [[รัตแลนด์]] จึงทำให้เป็นเขตปกครองอิสระ (unitary authority) ไปโดยปริยาย นอกเหนือจากเขตปกครองอิสระที่ยกฐานะจากอำเภอ ทั้งนี้ เคาน์ตีแต่ละแห่งจะมีลอร์ดเลฟเทนันต์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (Lord Lieutenant) ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้แต่งตั้งให้มาประจำทำหน้าที่ตามพิธีการสำคัญ ในส่วนของประชาชนที่อาศัยก็จะได้เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขึ้นแยกต่างหากจากผู้ว่าราชการจังหวัด
 
บางอำเภอหรือตำบลในเคาน์ตีที่มีประชากรหนาแน่น มักถูกยกฐานะขึ้นเป็นเขตปกครองอิสระเช่นเดียวกับเคาน์ตีที่มีอำเภอเดียว โดยจะมีสถานะเป็นเทศบาลเมือง (town) หรือนคร (city) ซึ่งหากเมืองใดต้องการยกสถานะเป็นนคร จะต้องทำเรื่องทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ผ่านทางกระทรวงมหาดไทย (Home Office) หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาได้แก่ จำนวนประชากร ความสำคัญของเมือง และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น<ref name="1927mem">"Functions of local authorities. Memorandum from Health Ministry", ''The Times'', 17 June 1927.</ref> ในอังกฤษเขตปกครองอิสระมักมีอำนาจแยกไปจากเคาน์ตี แต่ยังคงสังกัดอยู่ในเคาน์ตีนั้น เช่น อำเภอ[[ไบรตัน|ไบรตันแอนด์โฮฟ]] มีสถานะเป็นนครและเขตปกครองพิเศษในเคาน์ตีอีสต์ซัสเซกส์ (ยกฐานะเมื่อ พ.ศ. 2543) แต่ในสกอตแลนด์เขตปกครองพิเศษมักแยกเขตการบริหารออกจากเคาน์ตีต่างหาก (ยกเว้นงานทะเบียนที่ยังขึ้นตรงกับเคาน์ตี) เช่น[[เอดินบะระ]] ซึ่งเป็นนครอิสระแต่อยู่ในท้องที่ทะเบียนของเคาน์ตีมิดโลเดียน (Midlothian)
 
ทั้งนี้ การตระเวนตรวจตราความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจะกระทำโดยตำรวจ ซึ่งจะสังกัดอยู่กับจังหวัดตำรวจ (constabulary) แยกออกไปต่างหากจากจากเคาน์ตี จังหวัดตำรวจหนึ่งอาจดูแลจังหวัดเดียวหรือหลายจังหวัดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดตำรวจแฮมป์เชอร์ (Hampshire Constabulary) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและป้องปรามอาชญากรรมในเขตเคาน์ตี[[แฮมป์เชอร์]] (Hampshire) และเคาน์ตีเกาะไวต์ (Isle of Wight) จังหวัดตำรวจซัสเซกส์ (Sussex Police) ดูแลทั้งเคาน์ตีเวสต์ซัสเซกส์และอีสต์ซัสเซกส์ จังหวัดตำรวจเอวอนแอนด์ซัมเมอร์เซต (Avon and Somerset Constabulary) ดูแลเคาน์ตีซัมเมอร์เซต เคาน์ตีบริสตอล และบางส่วนทางตอนใต้ของเคาน์ตีกลอสเตอร์เชอร์ (Glocestershire) ส่วนจังหวัดตำรวจเดอแรม (Durham Constabulary) ดูแลเฉพาะเคาน์ตีเดอแรมเท่านั้น
บรรทัด 129:
== อำเภอ (เคาน์ตี) ในจีน ==
{{บทความหลัก|เขตการปกครองของจีน}}
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน่วยการปกครองย่อยที่ซับซ้อนมาก ทำนองเดียวกับ[[มณฑลเทศาภิบาล]]ซึ่งเคยใช้ในไทย การปกครองแบ่งย่อยออกเป็นมณฑล ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: province; [[ภาษาจีน|จีน]]:省; [[พินอิน]]:Shěng; คำอ่าน: เสิ่ง) บางมณฑลอาจให้มีอำนาจปกครองตนเอง เรียกว่า เขตปกครองตนเอง ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: autonomous region ;[[ภาษาจีน|จีน]]: 自治区; [[พินอิน]]:Zìzhìqū; คำอ่าน: จื้อจื้อชวีฺจื้อจื้อชวี) นครขนาดใหญ่เช่น[[เป่ยจิง]] [[ฉงชิ่ง]] [[ซั่งไห่]] และ[[เทียนจิน]] ก็ถูกจัดให้มีฐานะเท่ามณฑลเช่นกัน เรียกว่า เทศบาลนคร ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: municipality; [[ภาษาจีน|จีน]]:直辖市; [[พินอิน]]:Zhíxiáshì; คำอ่าน: จื๋อเสียซื่อ)
 
โดยทั่วไป ส่วนการปกครองย่อยจากมณฑลของจีน เรียกว่าจังหวัด ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: prefecture; [[ภาษาจีน|จีน]]:地区; [[พินอิน]]:Dìqū; คำอ่าน: ตี้ชวีฺตี้ชวี) ซึ่งบางจังหวัดก็มีสถานะเป็นเมือง ส่วนย่อยของจังหวัดลงไปเรียกว่า อำเภอ ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: county; [[ภาษาจีน|จีน]]:县; [[พินอิน]]:Xiàn; คำอ่าน: เสี้ยน) ตำบล ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: township; [[ภาษาจีน|จีน]]:镇; [[พินอิน]]:Zhèn; คำอ่าน: เจิ้น) และหมู่บ้าน ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: village; [[ภาษาจีน|จีน]]:村; [[พินอิน]]:Cūn; คำอ่าน: ชุน) ตามลำดับ
 
ทั้งนี้ การปกครองในแต่ละชั้นจะมีการจัดลำดับความสำคัญของหน่วยการปกครองตามขนาดอีกด้วย เช่นในระดับตำบล ถ้าเป็นชุมชนเมืองจะใช้ 街道 (Jiēdào, เจียเต้า) ถ้าเป็นตำบลชนบทขนาดใหญ่ ก็เรียกว่า 镇 (Zhèn, เจิ้น) ถ้าเป็นตำบลห่างไกลทุรกันดาร จะเรียก 乡 (Xiāng, เซียง) การปกครองแต่ละระดับไม่จำเป็นต้องขึ้นต่อกันและกัน อาจเป็นอิสระในตัวเองก็ได้โดยเฉพาะอำเภอในเขต[[มองโกเลียใน]]