ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 24:
ต่อจาก[[วัดพระนอน]]ไปทางทิศเหนือในแนวกำแพงวัด ติดต่อกันถึงวัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน วัดนี้มี[[บ่อน้ำ]]และที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน มีทางเข้าปูด้วย[[ศิลาแลง]] มี[[ศาลาโถง]]ปลูกคร่อมทางเดินเป็นศาลากว้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง ต่อจากศาลาหน้าวัดมีประตูเข้าไปในบริเวณวัดแล้วถึงฐาน[[ศิลาแลง]]ใหญ่ ยกฐานสูงประมาณ 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังลูกกรงเตี้ย ๆ สูงประมาณ 60 เซนติเมตร อยู่โดยรอบ ฐานนี้มี[[บันได]]ขึ้นด้านหน้า 2 บันได ด้านข้าง 2 บันไดและด้านหลังอีก 2 บันได บนฐานวิหารกว้าง 17 เมตร ยาว 29 เมตร ย่อมุขเด็จทั้งหน้าและหลัง เสาวิหารที่อยู่บนฐานเป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง 2 แถว หน้าและหลัง 2 ห้อง รวม 7 ห้อง ที่ฐานชุกชี มีรอยตั้ง[[พระพุทธรูป]]นั่งด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระอิริยาบถ โดยรอบมณฑป[[กำแพง]]แก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูป[[ปางลีลา]] ด้านข้างเหนือมีพระพุทธรูปนั่ง พระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วชำรุดเหลือซากพอเป็นรอยให้ดูรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่า เป็นพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยาก
 
== วัดช้างรอบล้อม ==
เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31 เมตร [[รูปสี่เหลี่ยม]]ที่ฐานเป็นรูป[[ช้าง]]ครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูป[[โพ|ใบโพธิ์]] กับมีรอยตั้งรูป[[ยักษ์]]และ[[นางรำ]]ติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูป[[สิงห์]]หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์แบบ[[ลังกา]]ยอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็น[[สระน้ำ]]ซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดูจากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็น[[ดินเผา]]รูปนางรำ รูปยักษ์ รูป[[หงส์]] รูปหน้า[[เทวดา]] และหน้า[[มนุษย์]] ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลป[[อาณาจักรอยุธยา]]ตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลายทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร