ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางเบญกาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
 
'''นางเบญกาย''' เป็นธิดาของ[[พิเภก]]และ[[นางตรีชฎา]] ในคราวที่[[ทศกัณฐ์]]ทราบว่า[[พระราม]]ยกทัพข้ามมาถึง[[กรุงลงกา]]แล้ว ก็สั่งให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดาแกล้งทำเป็นตายลอยน้ำไปที่ค่ายของพระราม เพื่อให้พระรามหมดกำลังใจรบ จะได้ยกทัพกลับไป
นางเบญกายทำตามบัญชาของทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงของตน เมื่อพระรามเห็นศพนางสีดาลอยน้ำมาก็เสียใจมากที่ต้องมาสูญเสียนางอันเป็นที่รักไป พาลต่อว่า[[หนุมาน]]ที่หนุมานเข้าไปเผากรุงลงกาในคราวนั้น ทศกัณฐ์คงเจ็บใจและสังหารนางสีดาทิ้งเสีย แต่หนุมานก็รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะตามปกติ ศพที่ลอยน้ำจะต้องเป็นศพที่เน่าเปื่อย และอีกประการ ศพนางสีดานี้ลอยทวนน้ำขึ้นมา ผิดวิสัยของศพที่จะต้องลอยตามกระแสน้ำ จึงทูลขอศพนางสีดานั้นไปเผาไฟ ทำให้นางเบญกายทนร้อนไม่ได้ไหว จึงกลับคืนร่างเดิมและเหาะขึ้นฟ้าไป แต่หนุมานก็เหาะตามไปจับตัวนางมาได้
โทษของนางเบญกายนั้นถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากพระรามเห็นได้ทราบว่านางเบญกายเป็นบุตรสาวของพิเภกผู้มีความยุติธรรม จึงได้ปล่อยนางเบญกายไป โดยให้หนุมานไปส่งนางเบญกายที่กรุงลงกา แต่ระหว่างทางที่หนุมานพานางเบญกายไปส่งยังกรุงลงกานั้น หนุมานซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์นางเบญกายแต่แรกที่พบกัน จึงได้เกี้ยวพาราสีนางจนได้นางเบญกายเป็นภรรยาคนที่ ๒
ในคราวที่หนุมานมาปราบท้าวมหาบาลซึ่งบุกมาที่กรุงลงกา หนุมานได้เข้าไปพำนักกับนางเบญกายด้วย ทำให้ในเวลาต่อมา นางเบญกายได้ให้กำเนิดบุตรชายนามว่า อสุรผัด มีหน้าเป็นวานร และมีกายเป็นยักษ์