ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์ปาห์ลาวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 57:
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การปกครองแบบเผด็จการของพระเจ้าชาห์ได้ทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจ (โดยเฉพาะพวก[[อิมาม]]) ในปีค.ศ. 1935 ได้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้ชาวต่างชาติเรียกประเทศของพระองค์ว่า "อิหร่าน" (ในขณะนั้น ชาวต่างชาตินิยมใช้คำว่า "เปอร์เซีย" มากกว่า) แต่ก็มีนักวิชาการออกมาต่อต้าน [[พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี|มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา]] (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จึงได้ออกมาประกาศว่า ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้
 
พระเจ้าชาห์ เรซ่าทรงพยายามที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้ง[[อังกฤษ]]และ[[โซเวียต]] แม้ว่าโครงการพัฒนาประเทศหลายโครงการจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติก็ตาม ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำสัญญากับบริษัทจากทั้งสองประเทศ แม้ว่า[[บริษัทน้ำมันอังกฤษ แองโกล- อิหร่านออยล์]] ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมแหล่งน้ำมันของประเทศทั้งหมด จะเป็นบริษัทของอังกฤษก็ตาม แต่ก็ทรงเลือกที่จะขอความช่วยเหลือทางเทคนิคจาก[[เยอรมนี]] [[ฝรั่งเศส]] [[อิตาลี]] และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปแทน การตัดสินใจของพระองค์เช่นนี้สร้างปัญหาในเวลาต่อมา เมื่อเยอรมนีและอังกฤษประกาศสงครามกันใน[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] แม้ว่าจะทรงประกาศว่าอิหร่านเป็นประเทศที่เป็นกลาง แต่อังกฤษก็อ้างว่าวิศวกรและช่างเทคนิคชาวเยอรมันเป็นสายลับ และพยายามจะบ่อนทำลายเครื่องไม้เครื่องมือของอังกฤษในบ่อน้ำมันทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน อังกฤษได้เรียกร้องให้อิหร่านเนรเทศพลเมืองชาวเยอรมันทั้งหมดออกนอกประเทศ แต่พระเจ้าชาห์ เรซาทรงปฏิเสธ โดยทรงอ้างว่าการเนรเทศชาวเยอรมันเหล่านั้นออกนอกประเทศจะทำให้โครงการน้ำมันของอิหร่านต้องหยุดชะงัก
 
[[ไฟล์:Pahlavi_and_King_of_Thailand.jpg|thumb|left|[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] พร้อมด้วย[[เจ้าชายกอลัม เรซา ปาห์ลาวี]] และ[[เจ้าหญิงมันจิเนห์ ปาห์ลาวี]]]]
 
== สงครามโลกครั้งสอง ==
หลังจากที่เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แล้ว อังกฤษและสหภาพโซเวียตก็เป็นพันธมิตรกัน และทั้งสองประเทศก็เริ่มให้ความสนใจกับอิหร่าน โดยทั้งสองประเทศต่างก็เห็นว่าจะสามารถใช้ทางรถไฟของอิหร่านในการขนส่งจากอ่าวเปอร์เซียมายังสหภาพโซเวียตได้ แต่เนื่องจากพระเจ้าชาห์ เรซาปฏิเสธที่จะเนรเทศชาวเยอรมัน อังกฤษและสหภาพโซเวียตจึงรุกรานอิหร่าน และปลดพระเจ้าชาห์ออกจากตำแหน่งและเข้าควบคุมการรถไฟของอิหร่านในเดินสิงหาคม ค.ศ. 1941ต่อมาในปีค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าช่วยดูแลระบบรถไฟของอิหร่าน และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ทั้งสามประเทศก็เข้าควบคุมแหล่งน้ำมันของอิหร่านเพื่อผลประโยชน์ของประเทศของตน อำนาจของพระเจ้าชาห์ เรซาจึงสิ้นสุดลง แต่ทั้งสามประเทศก็อนุญาตให้พระโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ได้