ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จาก[[พงศาวดาร]][[พม่า]]กล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของ[[ทวีปเอเชีย]] เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่ม[[แม่น้ำสาละวิน]] และ[[แม่น้ำสะโตง]] ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]"
 
ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลางของอาณาจักรมอญคือ[[อาณาจักรสุธรรมวดี]]หรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมว่า [[อาณาจักรสะเทิม]]สร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของ[[พระเจ้าติสสะ]] แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำ พลพรรคลงเรือสำเภา มาจอดที่[[อ่าวเมาะตะมะ]] และตั้งรากฐาน ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง อาณาจักรสะเทิม รุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดีย และลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้าน[[อักษรศาสตร์]] และ[[ศาสนา]] โดยเฉพาะรับเอา[[พุทธศาสนานิกายหินยาน]]มา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย ไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดี ทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญ ในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบ[[ชลประทาน]]ขึ้น ในลุ่มน้ำอิรวดี ทางตอนกลางของประเทศพม่า
 
พวกน่านเจ้าเข้ามาทางตอนเหนือของพม่า และทำสงครามกับพวก[[ปยู]] อาณาจักรมอญ ที่สะเทิมขยายอำนาจขึ้นไปทางภาคกลางของลุ่ม[[แม่น้ำอิรวดี]]ระยะหนึ่ง แต่เมื่อ ชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรปยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ [[หงสาวดี]]
 
[[พระเจ้าอโนรธา]] กษัตริย์พม่าแห่งพุกาม ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดี และกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น "[[ภาษามอญ]]"ได้แทนที่[[ภาษาบาลี]] และ[[สันสกฤต]]ในจารึกหลวง และ[[ศาสนาพุทธเถรวาท]] ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่ว[[เอเชียอาคเนย์]]
 
พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ "กษัตริย์มอญ"แห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า [[พระเจ้าอลองสิธู|อลองคะสิทธู]] ในยุคที่พระองค์ปกครอง "อาณาจักรพุกาม"ได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของ[[พระเจ้ากยันสิทธะ]] ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 1830]] "[[มองโกล]]" ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือ[[พระเจ้าฟ้ารั่ว]] หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ "[[พ่อขุนรามคำแหง]]" ได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนาอาณาจักรมอญอิสระ มีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม และในรัชสมัย[[พระเจ้าราชาธิราช]] หงสาวดีรุ่งเรืองจนเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบ[[อ่าวเบงกอล]] มีเมืองท่าหลายเมืองในละแวกใกล้ ๆ และอาณาจักรมอญมารุ่งเรือง เจริญสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2015-2035 สมัย[[พระเจ้าธรรมเจดีย์]] ต่อมาหงสาวดีก็เสียแก่ [[พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] กษัตริย์พม่า ในปี พ.ศ. 2094 จนปี พ.ศ. 2283 [[สมิงทอพุทธิเกศ]] ก็กู้เอกราชคืน มาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตี[[เมืองอังวะ]]อีกด้วย
 
ในปี พ.ศ. 2290 [[พระยาทะละ]] ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 [[พระเจ้าอลองพญา]] ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า จนกระทั่งทุกวันนี้<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=135&main_menu_id=1 มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ]</ref>
 
ในปัจจุบัน ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้[[ภาษามอญ]] จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่าตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. 1931 พบว่ามีจำนวนแค่ 3 แสน 5 หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว 6 แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว 1 ล้านกว่า ชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันอยู่ มีในหมู่บ้านในเมือง[[ไจก์ขมี]] และเมือง[[สะเทิม]] แต่ในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก<ref name="วิรัช นิยมธรรม">วิรัช นิยมธรรม, [http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=149&main_menu_id=1 มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์] เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10 </ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"