ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 83:
 
== การเกิดลัทธิชาตินิยมกัมพูชา ==
แนวคิดชาตินิยมของกัมพูชาต่างจากใน[[เวียดนาม]]ที่นิ่งเงียบจนถึง พ.ศ. 2473 ซึ่งอาจเป็นเพราะยังมีกษัตริย์กัมพูชาครองราชย์อยู่ และการรู้หนังสือขอชาวกัมพูชาในเวลานั้นน้อยกว่าในเวียดนาม แนงคิดชาตินิยมกัมพูชาเกิดขึ้นในกลุ่มของชาวเมืองที่มีการศึกษา หลังจากที่มีการก่อตั้งโรงเรียนบาลีระดับมัธยมเมื่อ พ.ศ. 2457 ทำให้เกิดพระสงฆ์กลุ่มใหม่ซึ่งเป็นหัวก้าวหน้า นิยมการวิพากษ์วิจารณ์<ref name="ธิบดี"/> การค้นพบ[[นครวัด]]ของฝรั่งเศสและมีการเผยแพร่ให้ชาวกัมพูชารับรู้ผ่านทางวารสารของพุทธศาสนบัณฑิตย์ซึ่งเป็นสมาคมที่ฝรั่งเศสสนับสนุนให้ตั้งขึ้นได้ทำให้ชาวกัมพูชาตื่นตัวถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของตนเอง สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนส่งผลให้ลัทธิชาตินิยมของกัมพูชาเป็นรูปเป็นร่างขึ้น นักชาตินิยมในยุคแรกๆเป็น[[ชาวขแมร์กรอม]] (เขมรต่ำ) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม [[เซิง งอกทัญ]] และแปช เชือน ออกหนังสือพิมพ์[[ภาษาเขมร]]ฉบับแรกชื่อ “''นครวัด''” ซึ่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของฝรั่งเศส การฉ้อราษฎร์บังหลวง ความยากลำบากในชนบท อิทธิพลของชาวต่างชาติด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งแนวคิดของเวียดนามที่จะสร้างจักรวรรดินิยมในอินโดจีน
 
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลวิชีของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2483 กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนเข้าสู่เวียดนามและเข้าแทนที่การปกครองของฝรั่งเศส ช่วงกลางปี พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนเข้าสู่กัมพูชาแต่ยอมให้รัฐบาลวิชีปกครองดังเดิม รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เรียกร้องดินแดนบางส่วนในลาวและกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศสจนนำไปสู่[[กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส]]ที่เริ่มขึ้นเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในที่สุด ญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยโดยที่ไทยได้[[จังหวัดพระตะบอง]] [[เสียมราฐ]]และบางส่วนของ[[จังหวัดสตึงแตรง]] ยกเว้นปราสาท[[นครวัด]]ยังอยู่ในเขตแดนของฝรั่งเศส แต่กรณีพิพาทนี้ ไม่ได้มีผลต่อชาวกัมพูชาที่อยู่ห่างไกลจากกรณีพิพาท
บรรทัด 90:
 
ต่อมา ญี่ปุ่นได้สลายการปกครองของฝรั่งเศสในกัมพูชาและสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2488 กัมพูชาได้ประกาศเอกราชภายใต้วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น โดยมีพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ เซิง งอกทัญเดินทางกลับมากัมพูชาในเดือนพฤษภาคมและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาในพนมเปญ เซิง งอกทัญถูกจับกุมตัวพร้อมทหารญี่ปุ่นจากนั้น จึงส่งไปกักตัวที่ฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสจัดตั้งขบวนการเขมรอิสระและตั้งมั่นในบริเวณที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย
 
== การต่อสู้เพื่อความเป็นเอกภาพของเขมร ==
รัฐบาล[[ฝรั่งเศสอิสระ]]ได้ตัดสินใจที่จะรวมอินโดจีนเข้ากับ[[สหภาพฝรั่งเศส]] ในพนมเปญ พระนโรดม สีหนุพยายามเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องเอกราชที่สมบูรณ์ ในขณะที่[[เขมรอิสระ]]และ[[เวียดมิญ]]มองว่าพระองค์อยู่ฝ่ายเดียวกับฝรั่งเศส เขมรอิสระได้ใช้การสู้รบแบบกองโจรตามแนวชายแดน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มฝ่ายซ้ายทั้งที่นิยมและไม่นิยมเวียดนาม รวมทั้งกลุ่ม[[เขมรเสรี]]ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญด้วย แต่บทบาทของเซิง งอกทัญลดลงหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ส่วน[[สมาคมเขมรอิสระ]]ที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดมิญสามารถยึดครองพื้นที่ในกัมพูชาได้ถึงร้อยละ 50 ใน พ.ศ. 2497