ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน ปุปฺผธมฺโม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์''' เป็นพระเถราจารย์เชื้อสายรามัญผู้...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:14, 8 เมษายน 2550

หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ เป็นพระเถราจารย์เชื้อสายรามัญผู้มีชื่อเสียงแห่งจังหวัดปทุมธานี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด ณ ตำบลกระแซง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นบุตรของ นายน้อย นางเล็ก ตุลยกนิษฐ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 เมื่ออายุ 11 ปีได้เริ่มศึกษาอักขรสมัยเบื้องต้นกับพระอธิการวัดชัยสิทธิ์ แล้วย้ายมาอยู่วัดโบสถ์ เรียนหนังสือไทยและภาษามอญ จนอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้ในทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี ครั้นพออายุได้ 14 ปีได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพ ฯ เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม จนสอบไล่ได้จบหลักสูตร แล้วจึงเข้าเป็นมหาดเล็กได้ 1 ปี จากนั้นลาออกไปรับราชการเป็นเสมียนอยู่กับอธิบดีศาลอุธรณ์ 1 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อพ.ศ. 2439 ขณะอายุได้ 21 ปี ที่วัดบางนา โดยมีพระรามัญมหาเถระ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์เรื่อยมา เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาภาษาบาลีและภาษามอญกับพระอุปัชฌาย์จนมีความรู้ดี พ.ศ. 2481 ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูบวรธรรมกิจ ในครั้งสงครามอินโดจีนท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังแจกจ่ายแก่ชาวบ้าน ทั้งเสื้อยันต์ ประเจียด ตะกรุด จนมีอภินิหารเลื่องลือ มีผู้นับถือมาก และได้สร้างพระเครื่องเนื้อผงไว้หลายพิมพ์ด้วยกัน ในพ.ศ.2509 ท่านยังได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายพระสมเด็จเนื้อผงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ปัจจุบันพระเครื่องของหลวงปู่เทียนเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมพระเครื่อง หลวงปู่เทียนมรณภาพเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2509 รวมสิริอายุได้ 90 ปี 70 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

  • เหรียญรุ่นแรก ปี 2490 ออกที่วัดบ่อเงิน เป็นเหรียญสี่เหลี่ยม เนื้อทองแดง
  • เหรียญรุ่นสอง ปี 2491 ออกวัดโบสถ์ ในวาระอายุครบ 6 รอบ เป็นเหรียญคล้ายรูปหยดน้ำ มี 2 เนื้อ คือ อลูมิเนียม และเงิน
  • เหรียญรุ่นสาม ปี 2506 ลักษณะคล้ายเหรียญรุ่นแรก
  • พระเนื้อผงรุ่นแรก ปี 2490 ออกวัดบ่อเงิน ส่วนรุ่นแรกของวัดโบสถ์ สร้างปี 2506 ประกอบด้วย พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น หลังงันต์ พระนางพญา พระขุนแผน พระรอด พระทุ่งเศรษฐี และพระปิดตา นอกจาก 2 รุ่นนี้แล้ว ยังมีสร้างอีกในปี 2507 และ 2508 ซึ่งพระเนื้อผงของท่านโดยเฉพาะพิมพ์สมเด็จต่าง ๆ ด้านล่างจะมีการฝังตะกรุดปรากฏให้เห็นเป็นเอกลักษณ์