ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
Bratboyz (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 65:
สายการบินประจำชาติอื่น ๆ หลายแห่งก็ได้ให้บริการเส้นทางไปยังไทเปโดยใช้ชื่อและเครื่องแบบพนักงานอื่นแทน ตัวอย่างเช่น [[บริติชแอร์เวย์]]ไม่มีเส้นทางบินระหว่าง[[ลอนดอน]]กับไทเปเลย แต่ให้บริการโดยสายการบินลูกที่ชื่อ [[บริติชเอเชียแอร์เวย์]] โดยมีตัวอักษรจีนบนหางเครื่องบินแทนรูปธงสหราชอาณาจักรที่บริติชแอร์เวย์ใช้ สายการบิน[[แควนตัส]]ของออสเตรเลียก็มีสายการบินลูกชื่อ [[ออสเตรเลียเอเชียแอร์ไลน์]] ซึ่งมีเส้นทางบินระหว่าง[[ซิดนีย์]]และไทเป และในปัจจุบันก็ใช้วิธีบินร่วมกับ[[อีวีเอแอร์]] ซึ่งเป็นสายการบินสัญชาติไต้หวัน
 
ในช่วงก่อนที่รันเวย์ที่สองของสนามบินนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่จะสร้างเสร็จ หรือชื่อในปัจจุบันคือ [[สนามท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะนาริตะ]] สายการบินจากไต้หวันจะต้องบินไปลงที่[[สนามบินท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว]] (รู้จักกันในชื่อ "สนามบินฮะเนะดะ") เพื่อหลีกให้กับสายการบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่บินไปลงที่นะริตะ และเช่นเดียวกับสายการบินอื่น ๆ [[เจแปนแอร์ไลน์]]ก็ได้จัดตั้งสายการบินลูกชื่อ [[เจแปนเอเชียแอร์ไลน์]] เพื่อบินในเส้นทางไต้หวันแทน
 
[[รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ]]ซึ่งจะกำหนดโดย[[สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ]]ให้กับประเทศสมาชิก ทางสาธารณรัฐจีนซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพ แต่ก็ได้รับการกำหนดรหัส '''886''' ให้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นรหัสที่ทางสหภาพระบุไว้ว่า 'สำรอง' ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้รับรองการใช้รหัสประเทศ 886 นี้ ถึงแม้ว่าจะรับรองการใช้รหัสประเทศที่กำหนดให้กับ[[ฮ่องกง]]และ[[มาเก๊า]]ก็ตาม โดยได้สำรองหมายเลขโทรศัพท์หมวด '''26''' ไว้ใช้สำหรับเมืองไทเป และหมวด '''06''' สำหรับส่วนอื่น ๆ ของไต้หวัน