ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หวอ เงวียน ซ้าป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก ca:Vo Nguyen Giap ไปเป็น ca:Võ Nguyên Giáp
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
}}
 
'''หวอ เงวียน ซ้าป''' หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ '''โวเหงียนเกี๊ยบ''' ({{lang-vi|Võ Nguyên Giáp}}) (เกิด [[25 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2454]]<ref>[http://www.time.com/time/asia/2006/heroes/nb_nguyen.html Asian Heroes], [[Time Magazine]]</ref>) เป็นนายทหารนอกราชการสังกัด[[กองทัพประชาชนเวียดนาม]]และนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ [[สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง]] (พ.ศ. 2489-2497) และ[[สงครามเวียดนาม]] (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ. 2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่[[ยุทธการลางเซิน]] (พ.ศ. 2493) [[ยุทธการหัวบิ่ง]] (พ.ศ. 2494-2495) [[ยุทธการที่เดียนเบียนฟู]] (1954) [[การรุกวันตรุษญวน]] (พ.ศ. 2511) [[การรุกวันอีสเตอร์]] (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า "การรุกเหงียนเว้", พ.ศ.2515) และ[[การทัพโฮจิมินห์]] (พ.ศ.2518) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาล[[เวียดมินห์]]ของ[[โฮจิมินห์]] ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของ[[พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม|พรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง)]] อีกด้วย
 
ซ้าบเป็นผู้บัญชาการทหารที่โดดเด่นที่สุดที่อยู่เคียงข้างประธานาธิบดี[[โฮจิมินห์]]ในช่วงสงคราม และรับผิดชอบในการนำปฏิบัติการต่างๆ ที่สำคัญมาโดยตลอดจนกระทั่งสงครามยุติ นอกจากนี้เขายังเป็นที่จดจำว่ามีชีวิตอยู่ยืนยาวยิ่งกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่สงครามทุกคน และเป็นนายทหารระดับสูงที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย
 
== ประวัติ ==
ซ้าบเกิดที่จังหวัดกว๋างปิญกว๋างบิ่ญทางเหนือของ[[เว้]] เขาเคยถูกฝรั่งเศสจับกุมใน พ.ศ. 2473 เพราะเป็นแกนนำในการประท้วงของนักศึกษา ซ้าปจบการศึกษาทางด้านกฎหมายจาก[[มหาวิทยาลัยฮานอย]]เมื่อ พ.ศ. 2480 และได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ หลังจากที่เขาหนีการจับกุมของตำรวจไปยังภาคใต้ของจีนเมื่อ พ.ศ. 2482 ส่วนบุตรและภรรยาของเขาถูกจับขังจนเสียชีวิตในคุก
 
ใน พ.ศ. 2484 ซ้าบกลับมายังเวียดนามในฐานะที่ปรึกษาของโฮจิมินห์และเป็นผู้ร้่วมก่อตั้ง[[เวียดมินห์]] เพื่อต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส เมื่อประกาศจัดตั้ง[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม]]เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 ซ้าบได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อ พ.ศ. 2491 และเป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหารใน[[ยุทธการที่เดียนเบียนฟู]]เมื่อ พ.ศ. 2497 จนได้รับชัยชนะ
 
หลังจากการแบ่งแยกเวียดนามและจัดตั้งรัฐบาล[[เวียดนามเหนือ]] ซ้าบยังเป็นผู้นำกองทัพอย่างต่ดเนื่องในการสู้รบกับ[[เวียดนามใต้]]จนรวมชาติสำเร็จใน พ.ศ. 2518 ซ้าบลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดใน พ.ศ. 2519 และถูกปลดจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ. 2523 และลาออกจากคณะกรรมการเมืองใน พ.ศ. 2525 ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากการที่เขามีจุดยืนคัดค้านการรุกราน[[กัมพูชา]] หลังจากนั้น เขาได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานทางการทูตกับจีนและสหรัฐอเมริกา