ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเกิดเอ็มบริโอพืช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 4:
เซลล์ที่เป็นทริปพลอยด์ (triploid; 3n) เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหารที่เรียกว่าเอ็นโดเสปิร์ม ซึ่งเป็นส่วนที่ให้อาหารแก่เอ็มบริโอเมื่อเริ่มงอก ส่วนการเจริญของเอ็มบริโอเริ่มจากไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ เซลล์ด้านล่างมีขนาดใหญ่ แบ่งตัวช้ากว่าจะพัฒนาไปเป็นส่วนที่ฝังตัวในเอนโดสเปิร์ม (suspensor) ส่วนเซลล์ข้างบนที่มีขนาดเล็กกว่าจะแบ่งตัวต่อไปจนเป็นกลุ่มเซลล์ก้อนกลม (Globular stage) ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้เรียกว่าเอ็มบริโอ จากเอ็มบริโอก้อนกลมนี้จะพัฒนาไปเป็นกลุ่มเซลล์รูปหัวใจ (Heart-shaped stage) ส่วนที่เป็นโหนกสูงจะพัฒนาต่อไปเป็นใบเลี้ยง (ถ้าใน[[พืชใบเลี้ยงเดี่ยว]]มีอันเดียว) ส่วนที่อยู่ระหว่างใบเลี้ยงทั้งสองจะพัฒนาไปเป็นยอด (shoot) ด้านตรงข้ามใบเลี้ยงจะยืดยาวออกไปซึ่งจะเป็นส่วนที่จะไปเป็น[[ราก]] (radicle)ในขณะเดียวกันเยื่อหุ้มโอวุลจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสูญเสียน้ำและแข็งขึ้น ส่วนนี้เรียกว่า เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ เอ็มบริโอจะหยุดการแบ่งตัวและเข้าสู่ระยะพัก (seed dormancy) การเจริญของเอ็มบริโอจะเริ่มอีกครั้งเมื่อเมล็ดงอก
 
== การเจริญของรังไข่ไปเป็นผล ==
เมื่อ[[โอวุล]]เปลี่ยนเป็นเมล็ด รังไข่ (ซึ่งอาจจะมี 1 หรือหลายโอวุล) จะพัฒนาไปเป็นผล โดยหลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้ว กลีบดอกจะร่วงไป เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในโดยรังไข่จะจะเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการขยายขนาดและผนังหนาขึ้นจนกลายเป็นผลหรือฝักที่สมบูรณ์ ผลของพืชมีดอกมีหลายชนิดได้แก่
* ผลเดี่ยว (simple fruit) มีรังไข่ 1 อันต่อ 1 ห้อง เช่น ฝักถั่ว [[แอปเปิล]]
* ผลกลุ่ม (aggregate fruit) รังไข่มีหลายห้อง เช่น [[น้อยหน่า]]
* ผลรวม (multiple fruit) พัฒนามาจากกลุ่มของดอกที่แยกกัน แต่มารวมกลุ่มกัน โดยผนังของรังไข่เชื่อมต่อกันระหว่างพัฒนาการของผล เช่น [[สับปะรด]]