ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{อักษรไทย1|ก}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''ก''' (ไก่) เป็น[[พยัญชนะ]] ตัวที่ 1 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของ[[อักษรไทย]] ในลำดับก่อนหน้า [[ข]] (ไข่) จัดอยู่ในกลุ่ม[[อักษรกลาง]] ในระบบ[[ไตรยางศ์]] มีชื่อเรียกกำกับว่า "ก ไก่"
 
อักษร ก เป็นได้ทั้ง[[พยัญชนะต้น]] ให้เสียง /k/ และ[[พยัญชนะสะกด]] ให้เสียง /k̚/ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น สามารถควบกับอักษร [[ร]] [[ล]] [[ว]] ได้ เมื่อเป็นตัวสะกด นับเป็นตัวสะกด[[แม่กก]] และนับเป็นตัวแทนของตัวสะกดแม่กกด้วย ในหนังสือโบราณ มีการใช้ "ก หัน" คือ อักษร ก สองตัว แทนไม้หันอากาศและตัว ก สะกด ดังนี้ รกก (รัก), หกก (หัก)
บรรทัด 12:
ก ไก่ เป็นพยัญชนะตัวแรกของไทย ที่เชื่อกันว่าดัดแปลงมาจาก[[อักษรปัลลวะ]]ของอินเดีย แต่เดิมมีรูปอักษร แต่ไม่มีคำกำกับ เพิ่งมาก่อรูปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเริ่มมีคำกำกับ ก ไก่ ข ไข่ สำหรับให้นักเรียนท่องครบทั้ง 44 ตัว แต่ก็ยังไม่มีคำ[[กลอน]] และพ.ศ. 2442 [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้นิพนธ์แบบเรียนเร็วเพื่อให้เด็กสามารถจดจำการอ่านได้ง่ายและเร็วขึ้น กลอน ก ไก่ เพิ่งมาเริ่มมีเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2473 แต่งโดย[[ครูย้วน ทันนิเทศ]] ถือเป็นกลอนที่แพร่หลายที่สุดเมื่อ 50-60 ปีก่อน หลังจากนั้นจึงถูกแทนที่ด้วยกลอน ก ไก่ รุ่นใหม่ ซึ่งแต่งโดยใครยังสืบหาตัวไม่ได้ รู้แต่ชื่อสำนักพิมพ์ คือ บริษัทประชาช่าง จำกัด เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2490 นับเป็น[[กลอน]]ที่แพร่หลายติดปากมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน กลอน ก ไก่ รุ่นใหม่ที่ขึ้นต้นว่า ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่ ในเล้า ฃ ขวดของเรา ค ควายเข้านา ฯลฯ หลังจากนั้นได้เกิดกลอน ก ไก่ หรือ คำกำกับ ก ไก่ ขึ้นอีกหลายชุด แต่ก็ไม่มี ก ไก่ ชุดใดเข้ามาแทนที่ ก ไก่ ฉบับประชาช่างได้ <ref>[http://www.farmkai.com/aboutkai.html โลกของระกา ,ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน] </ref>
 
== เสียง ==
ลักษณะเสียงทาง[[สัทศาสตร์]] จัดเป็น[[เสียงกัก]] [[อโฆษะ]] (ไม่ก้อง) มีแหล่งกำเนิดเสียงที่[[โคนลิ้น]]และ[[เพดานอ่อน]] สัญลักษณ์แทนเสียงด้วย[[สัทอักษรสากล]] คือ /k/
 
ในตำราภาษาไทยแต่เดิม ถือว่า ก นั้นเป็นพยัญชนะวรรค กะ เรียกว่า กัณฐชะ คือ มีฐานเสียงจากคอ หรือเสียงลงคอ และอยู่ในกลุ่มอโฆษะ ธนิต (เสียงไม่ก้อง ลมน้อย)
บรรทัด 19:
ในภาษาถิ่นบางถิ่น เช่น ภาษาถิ่นย่อยของภาษาผู้ไท หรือภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่ออกเสียง /ก/ เมื่อเป็นตัวสะกดในพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น โลก, ลูก, แยก
 
== การเขียน ==
การเขียนอักษร ก ในหนังสือไทย นิยมเริ่มจากด้านล่าง ชิดเส้นบรรทัด ลากขึ้นไปข้างบน วกด้านขวาเล็กน้อย แล้ววกออกซ้าย จากนั้นโค้งขึ้นข้างบน แล้วลดลงไปด้านขวา จากนั้นลากตรงลงด้านลง ขนานกับเส้นที่ลากขึ้นตอนแรก จากนั้นลากลงไปชิดกับเส้นบรรทัด ในแนวเดียวกับจุดเริ่ม (ดูภาพประกอบ)
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
*จินดามณี ฉบับหมอบลัดเล. กรุงเทพฯ : โฆษิต,
 
[[หมวดหมู่:อักษรไทย]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ก"