ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 79:
 
=== อาคารประจำมหาวิทยาลัย ===
'''หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์''' หรืออาคาร'''จั่วสามมุข''' ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ [[18 เมษายน]] [[พ.ศ. 2497]] (ค.ศ. 1954) ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี [[พ.ศ. 2500]] (ค.ศ. 1957) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย โดยนับได้ว่าเป็นสถานที่ที่[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ได้พระราชทานแนวคิด[[เศรษฐกิจพอเพียง]]เป็นครั้งแรกให้กับปวงชนชาวไทย จากพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อ [[พ.ศ.2517]] ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตและมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เป็นอาคารออกแบบด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ มีเอกลักษณ์เป็นหน้าจั่วแบ่งมุขออกเป็น 3 ยอด โดยถอดแบบมาจาก “[[วังวินด์เซอร์]]” อาคารของโรงเรียนเกษตราธิการ ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ <ref>[http://eng2502.chula-alumni.com/scripts/cuaaaboutus.asp?icontent=2_1 พระราชวังวินเซอร์หรือวังกลางทุ่ง โรงเรียนเกษตราธิการ]</ref> ภายหลังจึงกลายเป็นต้นแบบของ'''อัตลักษณ์ทางปรัชญาเกษตรศาสตร์''' มี 3 ลักษณะทางจิตวิญญาณเกษตรศาสตร์ประกอบกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ <ref> เอกสารประกอบพิธีเปิดอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ </ref>
 
'''จั่วสามมุข''' เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งหน้าจั่วนี้มีลักษณะของความโดดเด่นตรงที่มีความกว้างของส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดที่เท่าเทียมกัน หมายความถึงการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนแห่งสยามประเทศ ภายในจำลักลาย '''บัว 3 ดอก'''เป็นดอกบัวที่ขึ้นพ้นเหนือน้ำ อันมีเต่าและปลาเป็นตัวแทนของสัตว์ร้ายต่างๆแหวกว่ายอยู่ หมายถึงบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับคือบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ที่ผ่านอุปสรรคต่างๆนานัปการตามหลักที่ปรากฏในพุทธโอวาท และมีการประกอบสัญลักษณ์ '''พระอุณาโลม''' อันมีลักษณะพ้องกับเลข ๙ ของไทย เป็นเครื่องหมายอันเป็นนิมิตหมายที่ดี หมายถึง ความรู้และความสว่างแก่โลก