ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาคำฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
{{จบกล่อง}}
พญาคำฟู (พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙) รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์มังราย เมื่อพญาแสนภูสิ้นพระชนม์ พญาคำฟูได้ขึ้นครองราชย์ พญาคำฟูทรงมอบให้ พญาผายูราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสน อาณาจักรล้านนาในสมัยนี้ มีความเข้มแข็ง เห็นได้จากนโยบายขยายอาณาเขตไปทางตะวันออก โดยเริ่มทำสงครามกับพะเยาในปี พ. ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งมีผู้ปกครองคือ ขุนคำลือ โดยพญาคำฟูทรงชักชวนพญากาวแห่งเมืองน่านยกทัพตีเมืองพะเยา แต่พญาคำฟูเข้าเมืองพะเยาจึงเอาทรัพย์สินในเมืองทั้งไปทั้งหมด พญากาวน่านจึงยกทัพมาตีพญาคำฟู พญาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพญากาวเมืองน่านติดตามไปยกทัพเลยไปตีถึงเมืองฝางได้ แต่ถูกทัพของพญาคำฟูที่ยกทัพใหญ่มาตีถอยล่นกลับเมืองน่าน เมืองพะเยาในสมัยนั้นอ่อนแอมากจึงได้ถูกยึดเมืองผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักล้านนานับแต่นั้นมา หลังจากยึดพะเยาได้แล้ว พ.ศ.๑๘๘๓ พญาคำฟูขยายอำนาจไปยังเมืองแพร่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงถอยทัพกลับมาทางเมืองลำปาง มาประทับทีเมืองเชียงใหม่ (แสดงให้เห็นว่าการรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ทางตะวันออก ของล้านนา ไม่ใช่กระทำได้ง่าย ๆ และการย้ายที่ประทับของกษัตริย์มายังแคว้นตอนบนถึง ๓ รัชกาลติดต่อกัน ก็เป็นเหตุผลด้านยุทธศาสตร์ พญาคำฟูสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงคำ) พ. ศ. ๑๘๘๗ เสด็จไปเยี่ยมพระสหายเป็นเศรษฐีใหญ่ชื่องัวหงส์อยู่เมืองเชียงคำ อันตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำคำ
 
พญาคำฟูกับเศรษฐีงัวหงส์คนนี้รักใคร่กันมากจนถือน้ำสาบานต่อกันว่าจะไม่คิดร้ายต่อกัน หากผู้ใดผู้หนึ่งคิดร้ายขอให้มีอันเป็นไปถึงชีวิต เศรษฐีงัวหงส์เป็นคนค่อนข้างขี้ริ้วขี้เหร่อยู่ แต่น้ำใจงดงามทั้งยังมีภรรยาสาวสวยชื่อ นางเรือนแก้ว เมื่อพญาคำฟูเสด็จถึงบ้านเศรษฐีนางเรือนแก้วก็ต้อนรับขับสู้ด้วยความสนิทสนม เอาน้ำมาล้างพระบาทให้เมื่อวันเวลาผ่านมาผ่านไปด้วยความสนิทชิดใกล้ประกอบกับนางเรือนแก้วก็เป็นคนสวย ทั้งสองก็มีความพึงพอใจต่อกันพญาคำฟูและนางเรือนแก้วจึงลักลอบสมัครสังวาสกัน ด้วยเหตุที่พระองค์เสียสัตย์สาบานต่อมหามิตร ครั้นอยู่มาได้ ๗ วัน พญาคำฟูลงไปสรงน้ำดำเศียรเกล้าที่แม่น้ำคำก็มีเงือกผีพรายน้ำใหญ่ตัวหนึ่ง(จระเข้) ออกมาจากเงื้อมผาตรงเข้าขบกัดเอาร่างพญาคำฟูหายลงไปในน้ำผ่านไปถึง ๗ วันร่างนั้นจึงลอยขึ้นมา สวรรคตเมื่อพระชนม์ ๔๗ พรรษา เสนาอำมาตย์จึงเชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน แล้วจึงทูลเชิญเสด็จท้าวผายูมาจัดการพระบรมศพถวายพระเพลิงพญาคำฟู แล้วอัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระองค์บรรจุลงในผอบทองคำชั้นหนึ่ง ผอบเงินชั้นหนึ่ง ผอบทองแดงอีกชั้นหนึ่งไปยังนครเชียงใหม่ แล้วก่อพระสถูปเจดีย์องค์เล็กบรรจุไว้ ณ ริมตลาดลีเชียง แล้วโปรดให้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่ง ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ ตั้งชื่อว่าวัดลีเชียง(ปัจจุบันคือวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) ต่อมาได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ มีทองคำจารึกลายพระนามพระมหา เถรในยุคนั้นหนังถึง ๓๖๐ บาท ส่วนนางเรือนแก้วมีความเสียใจมากจึงผูกคอตาย เศรษฐีงัวหงส์ก้เสียใจต่อเหตุการณ์จึงถือศีลภาวนาตลอดชีวิต
เมื่อพญาคำฟูสิ้นพระชนม์ ท้าวผายูได้สืบราชสมบัติแทน แต่ไม่ได้เสด็จไปประทับอยู่เมืองเชียงแสน คงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ดังนั้น เมืองเชียงใหม่จึงได้มีความสำคัญกลายเป็นศูนย์กลาง ของราชอาณาจักรอีกครั้งและนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาอย่างแท้จริง และกษัตริย์ล้านนาในลำดับต่อๆมา จะประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่แทบทุกพระองค์
 
{{กษัตริย์ล้านนา}}