ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อวตาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Runrock (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "ชื่อหนังที่ได้รับการกำกับโดย เจมส์ คาเมร่..."
ย้อนการแก้ไขของ Runrock (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย MerlIwBot
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|||อวตาร (แก้ความกำกวม)}}
ชื่อหนังที่ได้รับการกำกับโดย เจมส์ คาเมร่อน ปี2010
 
[[ไฟล์:Avatars.jpg|thumb|300px|"ทศาวตาร" หรือ "นารายณ์สิบปาง" หรือ อวตารทั้งสิบของ[[พระวิษณุ]] ตามความเชื่อของ[[ศาสนาฮินดู]] [[ลัทธิไวษณพ]] (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) [[มัตศยาวตาร]] (ปลา), [[การกวนเกษียรสมุทร|กูรมาวตาร]] (เต่า), [[วราหาวตาร]] (หมูป่า), [[วามนาตาร]] (พราหมณ์ค่อม), กฤษณาวตาร ([[พระกฤษณะ]]), [[กัลกยาวตาร]] (อัศวินม้าขาว), [[พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาฮินดู|พุทธาวตาร]] ([[พระโคตมพุทธเจ้า]]), [[ปรศุรามาวตาร]] (รามผู้ถือขวาน), [[รามายณะ|รามจันทรวาตาร]] ([[พระราม]]), [[นรสิงหาวตาร]] (นรสิงห์, คนครึ่งสิงห์) ส่วนรูปตรงกลางเป็นรูปพระกฤษณะและเหล่าสาวก]]
 
'''อวตาร''' ({{lang-sa|अवतार, avatāra}}) คือการแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ของ[[เทพ]]เจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของ[[ศาสนาฮินดู]] โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ใน[[ลัทธิไวษณพ]]ถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว [[พระนารายณ์]]จะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ<ref name="Matchett">{{cite book|last=Matchett|first=Freda|title=Krishna, Lord or Avatara?: the relationship between Krishna and Vishnu|publisher=9780700712816|year=2001|page=4|url=http://books.google.com/?id=1oqTYiPeAxMC&pg=PA4 | isbn=9780700712816}}</ref><ref>Introduction to World Religions, by [[Christopher Hugh Partridge]], pg. 148, at [http://books.google.com/books?id=7lEFyGiP5r8C&pg=PA148&dq=avatar+supreme+Being+Vaishnavism&hl=en&ei=sE2ATPPYCMGBlAfE0oWUDg&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=3&ved=0CC4Q6AEwAjgK#v=onepage&q=avatar%20supreme%20Being%20Vaishnavism&f=false Books.Google.com]</ref>
 
การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ <ref name="Gale's">{{cite book|last=Kinsley|first=David|title=Gale's Encyclopedia of Religion|editor=Lindsay Jones|publisher=Thomson Gale|year=2005|edition=Second|volume=2|pages=707–708|isbn=0-02-865735-7}}</ref> รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน<ref name="Bryant">{{cite book| last=Bryant| first=Edwin Francis|title=Krishna: A Sourcebook| publisher=[[Oxford University Press]] US| year=2007| page=18 | isbn=9780195148916| url=http://books.google.com/?id=0z02cZe8PU8C&pg=PT32}}</ref> พระนารายณ์อวตารเป็นส่วนประกอบหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ใน[[ภควัทคีตา]]<ref name="Sheth">{{cite journal|doi=10.1353/pew.2002.0005|last=Sheth|first=Noel|date=Jan. 2002|title=Hindu Avatāra and Christian Incarnation: A Comparison|journal=Philosophy East and West|publisher=[[University of Hawai'i Press]]|volume=52|issue=1 (Jan. 2002)|pages=98–125|url=http://www.jstor.org/stable/1400135}}</ref>
 
มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของ[[พระศิวะ]]และ[[พระพิฆเนศวร]] และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือ[[ลัทธิศักติ]]<ref name="Sheth"/><ref name=""Hawley"">{{cite book|last=Hawley|first=John Stratton|coauthors=Vasudha Narayanan|title=The life of Hinduism|publisher=[[University of California Press]]|year=2006|pages=174|isbn=9780520249141|url=http://books.google.com/?id=7DLj1tYmoTQC&pg=PA174}}</ref> อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที่สุด
 
== อวตารในศาสนาฮินดู ==
=== นารายณ์สิบปาง ===
[[ไฟล์:Matsya painting.jpg|thumb|มัตสยาวตาร - พระนารายณ์อวตารเป็นปลา]]
[[ไฟล์:Varaha avtar, killing a demon to protect Bhu, c1740.jpg|right|thumb|วราหาวตาร - พระนารายณ์อวตารเป็น[[หมูป่า]]เพื่อปราบยักษ์]]
 
อวตารของ[[พระวิษณุ]]มีมากมายหลายปาง แต่อวตารซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคืออวตารชุด "[[ทศาวตาร]]" (เป็นการสมาสคำว่า "ทศ" (สิบ) เข้ากับคำว่า "อวตาร" จึงหมายถึง "อวตารทั้งสิบ") ซึ่งในประเทศไทยมักเรียกชื่อว่า "นารายณ์สิบปาง" รายชื่ออวตารทั้งสิบปางนั้นปรากฏอยู่ใน[[ครุฑปุราณะ]] (1.86.10"11)<ref>Garuda Purana (1.86.10-11)</ref>
 
ทั้งนี้ ตามการแบ่งเวลาเป็นยุคของศาสนาฮินดูนั้น อวตารสี่ปางแรกของพระองค์เกิดขึ้นใน[[สัตยยุค]] สามปางต่อมาเกิดขึ้นใน[[ไตรดายุค]] อวตารปางที่แปดเกิดขึ้นใน[[ทวาปรยุค]] ปางที่เก้าเกิดใน[[กลียุค]] และปางที่สิบซึ่งเป็นปางสุดท้ายจะเกิดขึ้นเมื่อถึงปลายกลียุค<ref>Matchett, p. 86.</ref>
 
อวตารทั้งสิบปางของพระวิษณุประกอบด้วย
 
# [[มัตสยาวตาร]] - พระวิษณุอวตารเป็น[[ปลา]]ชื่อ "ศผริ" เพื่อช่วยเหลือ[[พระมนู]]ให้รอดจากโลกาวินาศในช่วงพรหมราตรีจนกระทั่งไว้ตั้งวงศ์มนุษย์ขึ้นมาใหม่ และสังหารอสูรหัยครีวะซึ่งลักเอาพระเวทไปจากพระพรหม เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์[[มัตสยะปุราณะ]]
# [[กูรมาวตาร]] - พระวิษณุอวตารเป็น[[เต่า]]เพื่อรองรับ[[เขาสมุทรมันทร]]ในพิธีกวน[[เกษียรสมุทร]] เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์[[กูรมะปุราณะ]]
# [[วราหาวตาร]] - พระวิษณุอวตารเป็น[[หมูป่า]] เพื่อประหารยักษ์[[หิรัณยากษะ]] ซึ่งได้ลักเอาแผ่นดินโลกไปจากพื้นสมุทร เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์[[วราหะปุราณะ]]
# [[นรสิงหาวตาร]] - พระวิษณุอวตารเป็น[[นรสิงห์]] (ครึ่งคนครึ่งสิงห์) เพื่อประหารพญายักษ์[[หิรัณยกศิปุ]] ผู้ซึ่งกระทำทารุณกรรมต่อประหลาทกุมารซึ่งภักดีต่อพระวิษณุ
# [[วามนาวตาร]] - พระวิษณุอวตารเป็น[[พราหมณ์]]หลังค่อมชื่อวามนพราหมณ์ เพื่อปราบพยศของพญายักษ์[[มหาพลี]] เรื่องราวโดยละเอียดปรากฏอยู่ในคัมภีร์[[วามนปุราณะ]]
# ปรศุรามาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็นพราหมณ์ชื่อ[[ปรศุราม]] ("รามผู้ถือขวาน") เพื่อปราบกษัตริย์ผู้มีพันกรชื่อ[[กรรตวิรยะอรชุน]] ซึ่งกระทำการเบียดเบียนข่มเหงแก่คนวรรณะพราหมณ์อย่างหนัก และกวาดล้างเชื้อวงศ์วรรณะกษัตริย์ที่เป็นบุรุษจนหมดสิ้นทั้งโลก
# รามาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็น[[พระราม]] กษัตริย์แห่งกรุง[[อโยธยา]] วีรบุรุษในมหากาพย์เรื่อง[[รามายณะ]]
# กฤษณาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็น[[พระกฤษณะ]] กษัตริย์แห่งกรุง[[ทวารกา]] ผู้เป็นตัวละครหลักในคัมภีร์[[ภควตปุราณะ]] มหากาพย์[[มหาภารตะ]] และอนุศาสน์[[ภควัทคีตา]] อย่างไรก็ตาม ในทศวาตารฉบับดั้งเดิมนั้นกล่าวว่า[[พระพลราม]]ซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะเป็นอวตารปางที่แปดของพระวิษณุ ส่วนพระกฤษณะนั้นคือต้นธารแห่งอวตารทุกปางที่ปรากฏในโลก<ref>O Keshava! O Lord of the universe! O Lord Hari, who have assumed the form of Balarama, the yielder of the prowl All glories to You! On Your brilliant white body You wear garments the color of a fresh blue rain cloud. These garments are colored like the beautiful dark hue of the River Yamuna, who feels great fear due to the striking of Your plowshare] [http://www.salagram.net/Dasavatara-page.htm#Sri Dasavatara stotra]</ref>
# พุทธาวตาร - พระวิษณุอวตารเป็น[[พระโคตมพุทธเจ้า]]<ref>List of Hindu scripture that declares Gautama Buddha as 9th Avatar of Vishnu as follows
[Harivamsha (1.41) Vishnu Purana (3.18) Bhagavata Purana (1.3.24, 2.7.37, 11.4.23 name="Bhagavata Purana 1.3.24">[http://srimadbhagavatam.com/1/3/24/en1 Bhagavata Purana 1.3.24]</ref> ศาสดาใน[[ศาสนาพุทธ]] ความเชื่อนี้มาจากคัมภีร์[[ภาควตปุราณะ]]ซึ่งเรียบเรียงขึ้นหลัง[[คริสต์ศตวรรษที่ 9]]<ref>Estimated dates given by some notable scholars include: R. C. Hazra – 6th c., Radhakamal Mukherjee – 9th–10th c., Farquhar – 10th c., Nilakanta Sastri – 10th c., S. N. Dasgupta – 10th c.{{harvnb|Kumar Das|2006| pages=172–173}}</ref>
# กัลกยาวตาร - ในอนาคตกาลเมื่อถึงปลายกลียุค พระวิษณุจะอวตารมาเป็นบุรุษขี่ม้าขาวชื่อกัลกิ ("นิรันดร", "กาลเวลา", หรือ "ผู้บำราบความเขลา") เพื่อปราบยุคเข็ญ มีเรื่องราวปรากฏอยู่ใน[[กัลกิปุราณะ]]
 
=== คเณศาวตาร ===
ในลิงคะปุราณะกล่าวถึงอวตารของพระคเณศเพื่อปราบปีศาจและช่วยเหลือผู้ใจบุญ<ref name="Grimes">{{cite book|last=Grimes|first=John A.|title=Gaṇapati: song of the self|publisher=[[SUNY Press]]|year=1995|pages=105|isbn=9780791424391|url=http://books.google.com/?id=aoqB4n95pSoC&pg=PT105}}</ref> อุปปุราณะ 2 ฉบับ คือ คเณศปุราณะและมุทคละปุราณะ ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักของผู้นับถือลัทธิบูชาพระคเณศได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอวตารของพระคเณศไว้ โดยในคเณศปุราณะมี 4 ปาง ส่วนในมุทคละปุราณะมี 8 ปาง <ref name=Granoff>Phyllis Granoff, "{{IAST|Gaṇeśa as Metaphor}}," in Robert L. Brown (ed.) Ganesh: Studies of an Asian God, pp. 94-5, note 2. ISBN 0-7914-0657-1</ref>
ทุกปางมักมีจุดมุ่งหมายเพื่อไปฆ่าปีศาจ<ref>Grimes, pp. 100-105.</ref> ทั้ง 8 ปางของพระคเณศได้แก่
# วักรตุณฑะ - มีราชสีห์เป็นพาหนะ
# เอกทันตะ ("งาเดียว") - มีหนูเป็นพาหนะ
# มโหทร ("ท้องใหญ่") - มีหนูเป็นพาหนะ
# คชวักตระ หรือ คชานนะ ("หน้าช้าง") - มีหนูเป็นพาหนะ
# ลัมโภทร ("ท้องใหญ่") - มีหนูเป็นพาหนะ
# วิกฏะ - มีนกยูงเป็นพาหนะ
# วิฆนราช ("ราชาแห่งอุปสรรค") - มี[[อนันตนาคราช|พญาเศษะนาคราช]]เป็นพาหนะ
# ธูมราวรรณ ("สีเทา") - มีม้าเป็นพาหนะ
 
=== อวตารของพระศิวะ ===
[[ไฟล์:Sarabha Narasinmha Kangra.jpg|thumb|ศารภะ (ขวา) กับนรสิงห์]]
แม้ว่าจะมีการอ้างอิงคัมภีร์ปุราณะต่างๆว่าพระศิวะมีการอวตารแต่ไม่เป็นที่เชื่อถือแพร่หลายนักในไศวนิกาย <ref name="Sheth" /><ref>{{cite book |last=Parrinder| first= Edward Geoffrey |title=Avatar and incarnation |publisher=Oxford University Press |location=Oxford |year=1982 |pages= 88 |isbn=0-19-520361-5 }}</ref> ลิงกะปุราณะกล่าวว่าอวตารของพระศิวะมี 28 ปาง<ref>{{cite book|last=Winternitz|first=Moriz|coauthors=V. Srinivasa Sarma|title=A History of Indian Literature, Volume 1 |publisher=Motilal Banarsidass| year=1981| pages=543–544| isbn=9788120802643| url=http://books.google.com/?id=JRfuJFRV_O8C&pg=PA543}}</ref> ในศิวะปุราณะ เรื่องราวของพระศิวะที่นำรูปแบบวีระภัทรที่น่ากลัวของพระองค์เพื่อกำราบนรสิงห์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ เมื่อไม่ได้ผลพระศิวะ แปลงกายเป็นมนุษย์สิงโต - นกศารภะ เรื่องราวจบลงด้วยการที่นรสิงห์กลายเป็นบ่าวของพระศิวะ<ref>Soifer, pp. 91-92.</ref> [[หนุมาน]]ในบางท้องที่ถือว่าเป็นอวตารปางที่สิบเอ็ดของพระศิวะ<ref>{{cite book|last= Lutgendorf|first=Philip|title=Hanuman's tale: the messages of a divine monkey|publisher=Oxford University Press US|year=2007|page=44|url=http://books.google.com/?id=fVFC2Nx-LP8C&pg=PT333&dq=avatara+Hanuman&cd=1#v=snippet&q=avatara%20%20Shiva | isbn=9780195309218}}</ref><ref>{{cite book|last=Catherine Ludvík|title=Hanumān in the Rāmāyaṇa of Vālmīki and the Rāmacaritamānasa of Tulasī Dāsa|pages=10–11|url=http://books.google.com/?id=KCXQN0qoAe0C&pg=PA10&dq=Hanuman+Rudra&cd=2#v=onepage&q=Hanuman%20Rudra | isbn=9788120811225 | year=1994 | publisher=Motilal Banarsidass Publ.}}</ref><ref>{{cite book |title= The History of Sacred Places in India as Reflected in Traditional Literature|last= Sontheimer|first= Gunther-Dietz|authorlink= |coauthors= |year= 1990|publisher= BRILL|location= |isbn= 9004093184|chapterurl= http://books.google.com/books?id=McwUAAAAIAAJ&pg=PA129&dq=khandoba&as_brr=3&sig=ehrDuvjgTUjPr6SBpxYdUXEGjy0#PPP1,M1|editor = Hans Bakker|chapter = God as King for All: The Sanskrit Malhari Mahatmya and it's context}} p.118</ref><ref>{{cite book |title= Criminal Gods and Demon Devotees: Essays on the Guardians of Popular Hinduism|last= Sontheimer|first= Gunther-Dietz|authorlink= |coauthors= |year= 1989|publisher= [[State University of New York|SUNY]] Press|location= |isbn= 0887069819|chapterurl= http://books.google.com/books?id=CLmuJhU3wC8C&pg=PA299&dq=Between+Ghost+and+God+Sontheimer&ei=LFVwR-f4NIyEiQHq5_B1&sig=_KDFDF3dMBnCxpRu5wSOkVP1tus|editor = Alf Hiltebeitel|chapter = Between Ghost and God: Folk Deity of the Deccan}} p.332</ref>
 
=== อวตารของเทพี/ศักติ ===
[[ไฟล์:Hanuman before Rama.jpg|300px|thumb|หนุมานกับพระรามและนางสีดา]]
ในลิทธิศักติมีอวตารเช่นกัน ในเทวีภควัต ปุราณะอธิบายถึงอวตารของเทวีที่จะมาปราบคนชั่วและปกป้องคนดี โดยมีการอวตารมากเท่าพระนารายณ์ <ref name="Triumph">{{cite book|last=Brown|first=Cheever Mackenzie|title=The triumph of the goddess: the canonical models and theological visions of the Devī-Bhāgavata Purāṇa|publisher=SUNY Press|year=1990|page=32|isbn=9780791403631|url=http://books.google.com/?id=erENsMcblGAC&pg=PA32}}</ref> พระลักษมี เทวีของพระนารายณ์ อวตารมาเป็นนางสีดามเหสีของพระรามและนางราธา มเหสีของพระกฤษณะ <ref>''Hindu Avatāra and Christian Incarnation: A Comparison'', Noel Sheth Philosophy East and West, Vol. 52, No. 1 (Jan., 2002), pp. 98, 117.</ref> พระลักษมีและพระสรัสวตีเป็นเทวีที่มีผู้บูชามากและมีการอวตาร<ref>Brown, p. 270.</ref>
 
== อวตารในศาสนาพุทธ ==
=== อวตารกับวัชรยาน ===
 
ความเชื่อของชาวพุทธที่นับถือนิกาย[[วัชรยาน]] ถือว่า[[พระพุทธเจ้า]]และ[[พระโพธิสัตว์]]อวตารหรือแบ่งภาคได้เช่นเดียวกันเช่น พระ[[อาทิพุทธะ]]อวตารมาเป็น[[พระธยานิพุทธะ]] พระโพธิสัตว์อวตารเป็น[[ยิดัม]] นอกจากนี้ชาวพุทธใน[[ธิเบต|ทิเบต]]เชื่อว่า [[ทะไลลามะ]]เป็นอวตารของ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] และ[[ปันเชนลามะ]]เป็นอวตารของ[[พระอมิตาภพุทธะ]] เป็นต้น<ref>''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน''. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน. 2548. หน้า 78-79.</ref>
 
=== อวตารกับเถรวาท ===
 
ในความเชื่อของชาวพุทธนิกายเถรวาท จะไม่เชื่อว่าการอวตารมีจริง เพราะจิตนั้นมีดวงเดียว (ตามบทที่ว่า เอกะ จะรัง จิตตัง...) เพียงแต่เกิดดับตลอดเวลา เมื่อจิตนั้นเกิดเป็นเทพเจ้าไม่ว่าชั้นใดๆ หากแปลงกายเป็นมนุษย์ (เนรมิตขึ้นมาชั่วประเดี๋ยวประด๋าว เช่น พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์แก่) โดยจิตเดิมยังอยู่เป็นเทพเจ้าบนสวรรค์นั้น มีจริง แต่การที่จิตนั้นลงมาเกิดอวตารเป็นมนุษย์ โดยการอยู่ในครรภ์ คลอดออกมา เจริญเติบโตเล่าเรียนรู้เลยทั้ง ๆ ที่ยังมีจิต (เหมือนกัน ดวงเดียวกัน) อีกดวง ยังเป็นเทพเจ้าบนสวรรค์นั้นเป็นไปตามความจริงไม่ได้ ตามหลักที่ปรากฏใน[[พระอภิธรรม]]<ref>''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน''. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน. 2548. หน้า 78-79.</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Avatar}}
 
[[หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต]]
{{Link GA|id}}
 
[[ar:أڤتار]]
[[bg:Аватар]]
[[bn:অবতার]]
[[ca:Avatar (mitologia)]]
[[ckb:ئەڤەتار]]
[[cs:Avatár]]
[[da:Avatar]]
[[de:Avatara]]
[[el:Αβατάρα]]
[[en:Avatar]]
[[eo:Avataro]]
[[es:Avatar]]
[[et:Avataara]]
[[eu:Avatar]]
[[fa:اوتار]]
[[fi:Avatar (hindulaisuus)]]
[[fr:Avatar (hindouisme)]]
[[gl:Avatar]]
[[he:אווטאר]]
[[hi:अवतार]]
[[hr:Avatar]]
[[hu:Avatára]]
[[hy:Ավատար]]
[[id:Awatara]]
[[it:Avatāra]]
[[ja:アヴァターラ]]
[[jv:Awatara]]
[[ka:ავატარა]]
[[kk:Аватара]]
[[km:អវតារ]]
[[kn:ಅವತಾರ]]
[[ko:아바타라]]
[[la:Avatara]]
[[lt:Avatara]]
[[lv:Avatāra]]
[[mk:Аватар]]
[[mr:अवतार]]
[[ms:Avatar]]
[[ne:अवतार]]
[[new:अवतारम् (सन् १९९५या संकिपा)]]
[[nl:Avatara]]
[[nn:Avatar]]
[[no:Avatar]]
[[pl:Awatara]]
[[pt:Avatar]]
[[ro:Avatar]]
[[ru:Аватара]]
[[sah:Avatar]]
[[simple:Avatar]]
[[sk:Avatára]]
[[sl:Avatar]]
[[sr:Аватар]]
[[sv:Avatar]]
[[ta:அவதாரம்]]
[[tl:Abatar (termino)]]
[[tr:Avatar]]
[[uk:Аватара]]
[[ur:اوتار]]
[[zh:化身]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อวตาร"