ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูวินัยธรรมแก้ว พฺรหฺมสโร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 19:
| ลิขิต =
}}
'''หลวงพ่อแก้ว''' ([[พ.ศ. 2393]] - [[พ.ศ. 2462]]) ในบรรดาพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่ขึ้นชื่อว่าเข้มขลังและยอดเยี่ยมของลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เห็นจะไม่มีผู้ใดเกินยิ่งกว่า หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม เป็นแน่แท้ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก่อนยุค[[หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต]] [[วัดบางกะพ้อม]] และ หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม ฯลฯ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิดทั้งประเภทเครื่องลางเครื่องรางและของขลังประเภทเหรียญปั๊ม เหรียญรูปหล่อ แต่ที่นิยมเล่นหากันคือเหรียญรูปเหมือนเหรียญปั๊มรุ่นแรก บล็อกวัด สร้างในปี [[พ.ศ. 2459]] รองลงมาจากเหรียญปั๊มพิมพ์พระพุทธปี [[พ.ศ. 2459]] เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นและพิมพ์เศียรแหลม เป็นต้น พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพัน
== ประวัติ ==
หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2393]] ตรงกับปลายสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ณ ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายเทียน และนางเนียม ทองพันธุ์ เป็นบุตรคนที่ 2ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี [[พ.ศ. 2403]] ขณะมีอายุได้ 10 ปี ณ วัดบางแคใหญ่ อำเภออัมพวา อุปสมบทเมื่อปี [[พ.ศ. 2413]] ณ วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า '''พรหมสโร''' ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์และเรียนหนังสือที่วัดนี้ ได้ศึกษาพุทธาคมครั้งแรกจากบิดาตอนเป็นสามเณรอายุ 15 ปี เนื่องจากบิดาของท่านเป็นทหารวังหน้าในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] คือ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านนี้ ศึกษากับหลวงพ่อเพ็ง วัดบางแคใหญ่ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี (พี่ชายของท่าน) ในปี [[พ.ศ. 2424]] ประชาชนนิมนต์ท่านให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดช่องลมเนื่องจากชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังในทางคุณวิเศษต่าง ๆ แล้วโดยมาพร้อมกับหลวงพ่อบ่าย ธมฺมโชโต ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ 6 ปีก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพวงมาลัย หลวงพ่อบ่ายจึงเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน ผู้คนเชื่อว่าท่านมีคุณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวและไกลตัวของท่านทั้งในอดีตและในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี [[พ.ศ. 2462]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 6]] รวมอายุได้ 69 ปี 49 พรรษา