ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
วัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย ทับหน้าเปลี่ยนทาง
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (Robot: Modifying simple:Messier Catalogue to simple:Messier catalogue; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 1:
'''วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย''' ({{lang-en|Messier object}}) เป็นกลุ่มของวัตถุทาง[[ดาราศาสตร์]]ที่มีการจัดหมวดหมู่ขึ้นเป็นครั้งแรก โดย[[นักดาราศาสตร์]]ชาว[[ฝรั่งเศส]] ชื่อ [[ชาร์ล เมซีเย]] ในผลงานชุด ''"Catalogue des Nébuleuses et des Amas d'Étoiles"'' (รายการ[[เนบิวลา]]และ[[กระจุกดาว]]) ซึ่งเผยแพร่ในปี [[ค.ศ. 1771]] แนวคิดเริ่มแรกของการจัดทำรายการวัตถุทางดาราศาสตร์นี้ เนื่องจากเมซีเยเป็นนักล่า[[ดาวหาง]] และมีความสับสนกับวัตถุท้องฟ้าบางอย่างที่ดูคล้ายดาวหางแต่ไม่ใช่ดาวหาง เขาจึงจัดทำ[[รายการวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย|รายการวัตถุท้องฟ้า]]ขึ้น โดยความช่วยเหลือของเพื่อนร่วมงานชื่อ ปีแยร์ เมแช็ง (Pierre Méchain)
 
รายการวัตถุชุดแรกมี 45 รายการ ตั้งแต่หมายเลข M1 ถึง M45 ส่วนชุดสุดท้ายที่พิมพ์เผยแพร่โดยเมซีเย มี 103 รายการ ต่อมามีการเพิ่มรายการเข้าไปโดยนักดาราศาสตร์คนอื่น เนื่องจากเห็นว่ามีการบันทึกเพิ่มเติมจากเมซีเยและเมไคน์ แสดงให้เห็นว่าคนทั้งสองรู้จักวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นอยู่แล้ว ผู้แรกที่เพิ่มรายการวัตถุท้องฟ้าเข้าไปเป็นรายการที่ M104 คือ [[คามิลล์ ฟลามเมเรียน]] ในปี ค.ศ. 1921 ต่อมาหมายเลข M105 ถึง M107 เพิ่มโดย [[เฮเลน ซอว์เยอร์ ฮอกก์]] ในปี 1947 รายการที่ M108 และ M109 เพิ่มโดย [[โอเวน กินเกอริช]] ในปี 1960 สุดท้ายหมายเลข M110 เพิ่มโดย [[เคนเนธ กลิน โจนส์]]<ref>''The Guinness Book of Astronomy'', Patrick Moore and Guinness Superlatives Ltd 1979, ISBN 090-00900424-4247676-1 </ref> อนึ่ง วัตถุท้องฟ้าหมายเลข M102 ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เป็นไปได้ว่าอาจเป็น[[ดาราจักร M101]] หรือ[[ดาราจักร NGC 5866]] ก็ได้
 
รายการวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยมีแต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าซีกเหนือ เนื่องจากเขาเติบโตและทำงานอยู่แต่เฉพาะในประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นวัตถุท้องฟ้าสำคัญบางรายการทางซีกโลกใต้ เช่น [[เมฆแมเจลแลนใหญ่]]และ[[เมฆแมเจลแลนเล็ก|เล็ก]] จึงไม่ได้อยู่ในรายการนี้ด้วย นอกจากนี้ วัตถุท้องฟ้าของเมซีเยได้มาจากการสังเกตการณ์ผ่าน[[กล้องสองตา]]หรือ[[กล้องโทรทรรศน์]]ขนาดเล็ก ดังนั้น นักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั่วไปก็สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นได้ ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิจะมีการจัดการ "เมซีเยมาราธอน" โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นมาแข่งขันกันเพื่อค้นหาวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย เนื่องจากฟ้ากระจ่างจนสามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าในรายการได้ทั้งหมด<ref>[http://seds.org/messier/xtra/marathon/marathon.html การแข่งขันเมซีเยมาราธอน] จากเว็บ seds.org</ref>
บรรทัด 59:
[[scn:Catàlugu di Messier]]
[[sh:Messierov katalog]]
[[simple:Messier Cataloguecatalogue]]
[[sk:Messierov katalóg]]
[[sl:Messierov katalog]]