ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาเฉลิมกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 171.4.114.214 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sasakubo1717
บรรทัด 7:
 
โรงภาพยนตร์สยามในสมัยนั้น มักเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี ไม่มีโรงขนาดใหญ่และหรูหรา จนกระทั่ง [[พ.ศ. 2475]] ปีแห่งมหามงคลสมัยเฉลิมฉลองพระนครมีอายุครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องด้วย พระองค์ทรงโปรดภาพยนตร์เป็นพิเศษ โรงภาพยนตร์แห่งใหม่ที่ทันสมัยและโอ่โถงหรูหรา ขนาดจุผู้ชมได้มากว่า 2,000 คน และนับเป็น โรงมหรสพ โรงแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ (Chilled Water System) ถูกสร้างขึ้นบริเวณหัวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชร มี[[หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร]] เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง นายนารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร ใช้สถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า "ศาลาเฉลิมกรุง" เปิดฉายปฐมฤกษ์ครั้งแรกเมื่อ วันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2476]] ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จัดฉาย คือ "เรื่องมหาภัยใต้ทะเล"
 
กรกวนตีนรายการ9ทันเกมส์
ปัจจุบัน ศาลาเฉลิมกรุงยังคงเปิดดำเนินการอยู่ ภายใต้การบริหารของบริษัท เฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด แต่มิได้ฉายภาพยนตร์เหมือนโรงภาพยนตร์ทั่วไปในยุคปัจจุบัน แต่ถูกยกระดับให้เป็นโรงมหรสพแห่งชาติ จัดฉายภาพยนตร์และเปิดการแสดงมหรสพสำคัญ ๆ ในโอกาสต่าง ๆ โดยเหตุการณ์สำคัญ อาทิ การฉายรอบปฐมทัศน์โลกของภาพยนตร์เรื่อง [[สุริโยไท]] โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์ เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2544]] และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานที่นี้อีกครั้ง เพื่อทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่อง [[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี]] ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นผลงานกำกับของ[[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]]