ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนอรุณอมรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Arun Amarin Road.jpg|thumb|ถนนอรุณอมรินทร์]]
'''ถนนอรุณอมรินทร์''' ({{lang|en|Thanon Arun Ammarin}}) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งใน[[ฝั่งธนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีเส้นทางเริ่มต้นจากแยก[[วงเวียนเล็ก]][[ถนนประชาธิปก]]ใกล้กับโรงเรียนศึกษานารีและ[[วงเวียนเล็ก]]เดิม ในพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ [[เขตธนบุรี]] ไปทางทิศตะวันตกและวกไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้าม[[คลองบางกอกใหญ่]] (สะพานอนุทินสวัสดิ์) เข้าพื้นที่แขวงวัดอรุณ [[เขตบางกอกใหญ่]] ตัดกับ[[ถนนวังเดิม]]ที่สี่แยกวังเดิม ข้าม[[คลองมอญ]]เข้าพื้นที่แขวงศิริราช [[เขตบางกอกน้อย]] จากนั้นเลียบคลองบ้านขมิ้นไปและตัดกับซอยอิสรภาพ 44 ที่แยกบ้านขมิ้น และเริ่มตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับ[[ถนนวังหลัง]]ที่แยกศิริราช ข้าม[[คลองบางกอกน้อย]] (สะพานอรุณอมรินทร์) เข้าพื้นที่แขวงอรุณอมรินทร์ โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับ[[ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]ที่แยกอรุณอมรินทร์ เข้าพื้นที่แขวงบางยี่ขัน [[เขตบางพลัด]] แล้วเลียบใต้[[ถนนคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี]] ข้ามคลองบางยี่ขัน (สะพานบางยี่ขัน) แล้วโค้งไปทางทิศตะวันออกเมื่อผ่านวัดอมรคีรี ไปสิ้นสุดที่[[สะพานพระราม 8]]
 
ถนนอรุณอมรินทร์เป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายใน[[จังหวัดธนบุรี]]และ[[จังหวัดพระนคร]] ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้าง[[สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์]] (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่[[วัดอมรินทราราม]] มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือ[[ถนนประชาธิปก]]) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือ[[ถนนลาดหญ้า]]) ที่ปาก[[คลองสาน]] ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=47|issue=0 ก|pages=230-240|title=พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/230.PDF|date=2 พฤศจิกายน 2473|language=}}</ref>
บรรทัด 10:
ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายอรุณอมรินทร์ ตอนแยกถนนวังเดิม-บรรจบถนนประชาธิปก [[พ.ศ. 2536]] โดยแนวถนนบางช่วงเปลี่ยนแปลงไปจากแนวเวนคืนที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาเมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] เนื่องจากผ่านมัสยิดต้นสนและโรงเรียนศึกษานารี ปัจจุบันถนนตัดใหม่สายนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร์ บางครั้งเรียกว่า "ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่" ส่วนถนนอรุณอมรินทร์สายเดิมจากวัดเครือวัลย์วรวิหาร (ผ่านวัดอรุณราชวราราม) ถึง[[กองทัพเรือ]]นั้น กลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนวังเดิม
 
ในปี [[พ.ศ. 2541]] ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่าง[[ถนนวิสุทธิกษัตริย์]]กับถนนอรุณอมรินทร์ เพื่อสร้างความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจรขนส่ง เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ถนนอรุณอมรินทร์ตอนเหนือจึงมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก โดยต่อจากถนนเดิมที่บรรจบกับซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 (ปัจจุบันคือซอยอรุณอมรินทร์ 30 และซอยอรุณอมรินทร์ 49) แล้วโค้งไปทางทิศตะวันออก ซ้อนกับแนวซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ก่อนจะตรงไปรับกับตัว[[สะพานพระราม 8]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=115|issue=40 ก|pages=1-3|title=พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล สายเชื่อมระหว่างถนนวิสุทธิกษัตริย์กับถนนอรุณอมรินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๑|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/040/1.PDF|date=30 มิถุนายน 25512541|language=}}</ref>
 
==สถานที่สำคัญ ==