ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักบวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''นักบวช''' หรือ '''บรรพชิต''' เป็นผู้ยอมสละการครองชีวิตอย่าง[[คฤหัสถ์]]อุทิศตนเพื่อ[[ศาสนา]]ที่นับถือ ในศาสนา[[เทวนิยม]]นักบวชนอกจากจะเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์แล้วยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งปวงตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนกิจต่าง ๆ
 
ส่วนในศาสนา[[อเทวนิยม]] เช่น [[พุทธศาสนาพุทธ]] นักบวชคือผู้เข้าสู่ธรรมวินัย ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่ออบรมขัดเกลาชีวิต มุ่งตรงต่อนิพพาน เรียก[[ภิกษุ]]บ้าง [[สมณะ]]บ้าง ทำหน้าที่อบรมตนและช่วยเหลือสังคม
 
== ประเภทของนักบวช ==
นักบวชแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
# '''นักบวชประเภทตัวแทน''' (Intermediary) เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าในระดับไสยศาสตร์เรียกหมอไสยศาสตร์ (magician) ในระดับวิญญาณเรียกหมอผี (Witchdoctor) ในระดับเทวนิยมเรียกนักบวชปุโรหิต (Priest) เกิดจากการสืบทอดสายโลหิต เช่น วรรณะพราหณ์พราหมณ์ในสาสนา[[ศาสนาพราหมณ์]]-ฮินดู [[โคเฮน]]ใน[[ศาสนายูดาห์]] หรือจากการอภิเษกบวชจากบุคคลธรรมดาไม่ได้มาจากบุคคลวรรณะนักบวช เช่นศาสนายิว [[บาทหลวง]]และ[[ศาสนาจารย์]]ใน[[ศาสนาคริสต์]] เป็นต้น
# '''นักบวชประเภทฤๅษี''' (Ascetic) หมายถึงบุคคล นักพรตที่ออกบำเพ็ญเพียรในป่าตามถ้ำ ตามเขา ดำรงชีพอยู่ด้วยผลไม้ นุ่งห่มเปลือกไม้หรือหนังสัตว์ ใช้ชีวิตอยู่กับการสวดมนต์ ภาวนา ไม่สังกัดศาสนาใด สละชีวิตทางโลก รักษาพรหมจรรย์ มักน้อย สันโดษ มุ่งแสวงหาความสุขความสงบทางจิตใจ
# '''นักบวชประเภทภิกษุ''' (MonkBhikkhu) หมายถึงบุคคล นักพรตผู้เสียสละชีวิตฆราวาสออกบวช ถือเพศบรรพชิต เพราะเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าปฏิญาณเป็นสาวก ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการบิณฑบาต อุทิศการบวชเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน ผ่านพิธีกรรมที่เรียนกว่าอุปสมบทวิธี สมัยพุทธกาลภิกษุอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้ ราวป่า รองฟาง ถ้ำหรือภูเขา เมื่อสังคมวิวัฒนาการจึงอนุญาตให้อยู่จำพรรษาในอารามหรือวัดที่ตั้งอยู่ในหมูบ้านเป็นศูนย์กลางของชุมชนศาสนกิจไม่เกี่ยวกับเทพเจ้าแต่มีจุดมุ่งหมายขัดเกลาจิตใจให้สะอาด อยู่ในความสงบ
 
== ปุโรหิต ==
'''ปุโรหิต''' หมายถึง พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-25-search.asp พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒]</ref> ในปัจจุบันชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยและราชบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศาสตร์ ใช้คำนี้เป็นคำแปลของคำว่า Priest<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 1</ref> หรือนักบวชในกลุ่ม[[ศาสนาอับราฮัม]] ซึ่งมีที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ในฐานะเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับ[[พระยาห์เวห์]]
 
ปุโรหิตในศาสนายูดาห์เรียกโดยทับศัพท์ว่า[[โคเฮน]] มีต้นกำเนิดมาจาก[[อาโรน]]พี่ชายของ[[โมเสส]]ซึ่งได้รับเจิมให้ทำหน้าที่ปุโรหิตเป็นคนแรกแก่[[วงศ์วานอิสราเอล]]ในการถวายเครื่องบูชาแก่พระยาห์เวห์
 
ปุโรหิตในศาสนาคริสต์มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคริสตจักร เช่น [[โรมันคาทอลิก]] [[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]] [[ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์]] เรียกปุโหิตว่า[[บาทหลวง]] ปุโรหิตในนิกาย[[โปรเตสแตนต์]] เช่น [[ลูเทอแรน]] [[แองกลิคัน]] [[เมทอดิสต์]] มักเรียกว่า[[ศาสนาจารย์]]หรือ[[ศิษยาภิบาล]] แต่บางคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ เช่น [[เพรสไบทีเรียน]] [[แบปติสต์]] ไม่มีปุโรหิตเพราะถือว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้าอยู่แล้ว สามารถนมัสการพระเจ้าได้เองโดยไม่ต้องผ่านทางนักบวชใด ๆ มีแต่ศิษยาภิบาลซึ่งเป็นหัวหน้าคริสตจักรท้องถิ่น เป็นผู้นำศาสนพิธีคล้ายกับปุโรหิตนั่นเอง
 
ศาสนาอิสลามไม่มีปุโรหิต แต่ในการประกอบศาสนกิจ เช่น ละหมาด จะต้องมีผู้นำเรียกว่า [[อิมาม]] ซึ่งมีหน้าที่คล้ายปุโรหิตในศาสนาอื่น ๆ
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นักบวช"