ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพร้าว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CarsracBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: cbk-zam:Amphoe Phrao
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| phone = 0 5347 5301, 0 5347 5260
| fax = 0 5347 5301
| คำขวัญ = เมืองเก่าวังหิน ถิ่นประเพณีล้ำค่า บูชาพระเจ้าล้านทอง <br>เรืองรองเกษตรกรรม แดนธรรมหลวงปู่แหวน
| image_map = Amphoe 5011.svg
}}
'''อำเภอพร้าว''' เป็นอำเภอใน[[จังหวัดเชียงใหม่]]
เส้น 25 ⟶ 26:
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับ[[อำเภอแม่แตง]]และ[[อำเภอเชียงดาว]]
 
== การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ==
=== การปกครองส่วนท้องถิ่นภูมิภาค ===
อำเภอพร้าวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 [[ตำบล]] 108 [[หมู่บ้าน]] ได้แก่
 
เส้น 43 ⟶ 45:
|}
 
=== การปกครองส่วนท้องถิ่น ===
ประวัติเมืองพร้าว
พุทธศักราช 1823 พญามังราย ผู้ครงนครหิรัญนครเงินยาง (จังหวัดเชียงราย) ได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองหริภุญไชยหรือลำพูน เดินทัพมา ถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงได้หยุดทัพและตั้งค่ายคู ประตูหอรบอย่างมั่นคง แข็งแรงบนสันดอยแห่งหนึ่งชื่อเวียงหวาย และขนานนามว่า "นครป่าว" หรือ "นครแจ้สัก" หรือ "เมืองป้าววังหิน" ป้าวมาจากคำว่าป่าวร้องกะเกณฑ์ ไพร่พลภาษาถิ่นหมายถึงมะพร้าว เพราะมีลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบกลมเหมือนลูกมะพร้าว ขณะนั้นเมืองยังสร้างไม่เสร็จ พญามังรายทรงยก ทัพสู่เมืองหริภุญไชย เลียบฝั่งแม่ปิงพบชัยภูมิที่เหมาะสมอีกแห่งหนึ่ง แต่ก็ได้เคลื่อนทัพเข้าโจมตีหริภุญไชยนครจะได้รับชัยชนะแล้วจึงหวนกลับมายังที่ ราบชัยภูมิที่พบริมฝั่งแม่ปิง เกณฑ์ไพร่พลสร้างเมืองขึ้นใหม่ และขนานนามว่า "นครพิงค์" สร้างหลังเมืองป้าว 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.1838) และพญามังราย ทรงเสด็จมาครงเมืองนครพิงค์ที่สร้างขึ้นใหม่และขนานนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์" และทรงให้ขุนเครือราชโอรสองค์ที่ 3 ไปครองเมืองป้าว ขุนเครือได้ บูรณะและสร้างต่อเติมเมืองป้าววังหิน (เวียงที่กล่าวนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ถือว่าเป็นศูนย์กลางเวียง) และขนานนามว่า "นครป้าว"
 
ต่อมาได้ถูกพญา มังรายลงทัณฑ์เกี่ยวกับการกระทำกาเมสุมิจฉาจารกับพี่สะใภ้ จึงถูกเนรเทศไปอยู่เมืองปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปัจจุบัน) หลังจากนั้นนครป้าวจึงลด ลงมาเป็นเมืองลูกหลวง เวลาต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครล้านนาไทยไม่มีราชบุตร ก็ส่งขุนนางคนสนิทไปครองเมืองแทน จนกระทั่งสมัยพระเจ้าฝั่งแกน (พ.ศ.1954-1958) พระองค์ส่งเจ้าลูกราชบุตรองค์ที่ 6 หรือพญาติโลกราชหรือพญาติโลกราชมหาราช ไปครองเมืองพร้าว นับว่าเป็นองค์สุดท้ายที่ครอง เมืองพร้าว นับแต่สร้างเมืองพร้าวมา พ.ศ.1823 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2542 มีอายุ 718 ปี
 
การปกครองสมัยนั้นเรียกหัวเมืองเป็นแขวง คือ แขวงเมืองพร้าว ผู้ดำรงตำแหน่งนายแขวงคนแรกชื่อ นายจันทร์ (ไม่ทราบนามสกุล) มีนาย แขวงปกครองติดต่อมาจนถึงสมัย ขุนชำนินรการซึ่งเป็นนายแขวงคนสุดท้ายในปี พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเปลี่ยนจากแขวงมา เป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบริหารราชการจนถึงทุกวันนี้
 
อำเภอพร้าวอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ประมาณ 115 กิโลเมตร เนื่องจากอำเภอพร้าวเคยเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองเชียงใหม่ดังนั้นจึงพบ ประตูเมือง แจ่งเมือง ที่มีชื่อตรงกันกับแจ่งเมือง ประตูเมืองของเมืองเชียงใหม่ และยังพบร่องรอยของคูคันดินล้อมรอบเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีวัดร้างใน เขตอำเภอพร้าวร่วม70 วัด ทั้งที่ยังปรากฏหลักฐานที่เป็นเจดีย์และหลักฐานในเอกสารโบราณซึ่งปรากฏแหล่งที่ตั้งชัดเจน
 
อำเภอพร้าวมีโบราณสถานที่สำคัญ คือวัดถ้ำดอกคำ วัดธรรมเจดีย์นิมิตร วัดดอยแม่ปั๋ง โดยเฉพาะวัดดอยแม่ปั๋งซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของหลวง ปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยสงฆ์ที่ชาวเชียงใหม่นับถือ
 
'''สถานที่สำคัญของอำเภอพร้าว'''
 
 
พระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
พระมหาธาตุเจดีย์โบราณ ที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอพร้าว มีอายุการสร้างถึง ๗๓๐ ปี สัญลักษณ์หลักแดนเขตเมืองพร้าว ที่พักทัพตั้งทัพของกษัตริย์ล้านนาในอดีต สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ และสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว ควรค่าแก่การศึกษา และอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาสืบต่อไป ประวัติกล่าวโดยย่อสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้
ยุคที่ ๑ อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังม่อนดอยเวียง (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล)พร้อมพระอานนท์เถระ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงได้พากันมาทำบุญใส่บาตรฟังธรรมอุปัฏฐากดูแลพระ พุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ทุกวัน ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จเดินทางออกจากเขตแดนเมืองพร้าว พระพุทธเจ้าทรงมอบเส้นพระเกศาให้กับชาวบ้านไว้กราบไหว้สักการระบูชา พร้อมกับได้พุทธทำนายไว้ว่าต่อไปสถานที่แห่งนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ตั้ง มั่นแห่งพุทธศาสนาในอนาคตกาลข้างหน้า จากนั้นชาวบ้านจึงสร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุเพื่อรักษาพระเกศาของพระพุทธเจ้า ไว้ ณ ที่แห่งนี้สืบมา เรียกว่าพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล หรือพระมหาธาตุเจ้า ปารมี สิบเก้ายอด
 
ยุคที่ ๒ สมัยราชวงศ์มังรายมหาราช พญามังรายมหาราชได้เดินจากเมืองพร้าวเมืองที่พระองค์สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๒๔ มุ่งสู่หิริภุญชัยนคร ระหว่างทางได้พักทัพบริเวณม่อนพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ทรงสร้างพระธาตุ ขนาดใหญ่ครอบพระธาตุที่บรรจุเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ให้มีขนาดใหญ่ กว่าเดิม และสร้างแนวคูค่ายและขุดแนวกำแพงรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลไว้ถึงห้าชั้น เพื่อเป็นที่ตั้งทัพและเป็นประตูเมืองพร้าวทางด้านทิศใต้ของอำเภอพร้าวใน ปัจจุบันนอกจากจะมีการบรรจุพระเกสาะตุของพระพุทธเจ้าไว้ในองค์พระธาตุแล้ว ยังค้นพบอีกว่าสถานที่แห่งนี้ ยังมีมีดดาบ ที่ทำจากเหล็กกล้าเนื้อดี ที่ใช้ในการออกรบอีกเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบของนักโบราณคดี คาดว่ามีอายุราวๆ 700กว่าปี ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าตรงกับยุคของพญามังราย ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ จากหลักฐานที่ค้นพบนี้ ก็ยิ่งตอกย้ำ หลักฐานเดิมที่มีอยู่แล้วว่า บนพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลแห่งนี้เคยเป็นที่พักรบของ พญามังรายในอดีตตอนที่ยกทัพไปตีเอาเมืองลำพูน
 
ยุคที่ ๓ เมื่อครั้งพระยาปราบสงคราม (พญาผาบ) แม่ทัพผู้ปกครองแขวงหนองจ๊อม ที่ทนต่อการเก็บภาษีส่วนกลางที่กดดันชาวบ้านอย่างหนักไม่ได้ รวมกลุ่มสร้างวีรกรรมมุ่งสังหารเจ้านายภาษีและผู้บริหารจากส่วนกลางหวัง เพื่อปลดแอกให้แก่ประชาราษฎร์ผู้ยากไร้ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ แต่ไม่สำเร็จจึงหนีมาตั้งทัพบนพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองเชียงตุง มีการค้นพบเงินตราสมัยรัชกาลที่ 5 บนพระธาตุดอยเวียงจำนวนหนึ่ง และคำบอกเล่าของคนในชุมชน
 
ยุคที่ ๔ เมื่อครั้งครูบาเจ้าศรีวิชัยเดินทางมาที่ตำบลโหล่งขอด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓–๒๔๗๔ พร้อมด้วยผู้ติดตามหลายร้อยคน ใกล้พลบค่ำครูบาได้เดินทางขึ้นไปบนพระธาตุม่วงเนิ้ง ซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุดอยเวียงชัยมงคลทางทิศเหนือแล้วพูดคำปริศนาไว้ว่าในตำบล โหล่งขอดไม่ใช่มีแต่พระธาตุม่วงเนิ้ง แต่ยังมีพระธาตุสำคัญ และศักดิ์สิทธิ์อีกคือ พระธาตุดอยเวียงเวียงเก่าที่มีคูเวียงล้อมรอบ เมื่อใดก็ตามที่พระธาตุนั้นได้รับการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ ชาว เมืองพร้าวจะทำนาเป็นข้าวสาร ผู้ร่วมสร้างจะร่ำรวยด้วยโภคะทรัพย์ อยู่เย็นเป็นสุข หลังจากนั้นครูบาได้เดินทางลงมาพักที่วัดบ้านหลวงอีกสามวัน แล้วเดินทางออกจากตำบลโหล่งขอดและเมืองพร้าว มุ่งหน้าเข้าสู่วัดพระสิงห์-วรมหาวิหาร
 
ยุค ที่ ๕ เมื่อครั้งพระอาจารย์ปลัดนพบุรี มหาวณฺโณ ค้นพบเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ และเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์สร้างวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ตลอดจนปัจจุบันนี้ได้สร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไว้ ณ วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล เพื่อให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ถูกต้อง เป็นสถานที่กราบไหว้สักการบูชา ตลอดจนเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาประจำตำบลโหล่งขอดและของชาวอำเภอพร้าว ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบต่อไป
2.วัดพระเจ้าล้านทอง
วัดพระเจ้าล้านทอง ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 3 กม.ตั้งอยู่บ้านหนองปลามัน ม.1 ต.น้ำแพร่พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระเจ้าหลวง " เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้าง มานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็น พระพุทธรูป ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆอ้างอิงดังต่อไปนี้จาก หนังสือตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10กล่าวไว้ว่า "พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น และตาม หนังสือ คนดีเมือง เหนือของคุณสงวนโชติสุขรัตน์ หน้า 98กล่าวไว้ว่า "พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระเมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้"ตาม หนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า "พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด” หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมืองหมดคงปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปีจนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแลเพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามันได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้งนำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเองสร้างเป็นกุฏิถวายแด่ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัยซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามากแต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นานท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนชาวบ้านซึ่งมีความรักใคร่ตัวครูบาเป็นอย่างมากต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน) ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่ง วัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีพล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ในการซ่อมแซมวิหารหลังนี้ด้วยเงินประมาณ1ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว - วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
 
3.วัดถ้ำดอกคำ
ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 6 กม. ตั้งอยู่บ้านสหกรณ์ดำริ ม.7 ต.น้ำแพร่
เรื่องราวของถ้ำดอกคำนี้ปรากฎอยู่ในตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลกหรือตำนานพระบาทพระธาตุฉบับพิสดารจารึกด้วยตัวอักษรไทยยวน ภาษาบาลีมีข้อความพอจะนำมาเป็นข้อพิจารณาหาข้อมูลอยู่บ้างซึ่งมีข้อความว่า "พระพุทธเจ้าของเราพร้อมด้วยพระยาอินทร์พระยาอโศก พระอานนท์ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้เดินเทสสันถี คือการเสด็จไปเทศนาโปรดสัตว์ในนิยมราชธานีน้อยใหญ่ในที่ต่างๆ เข้ามาในเขตเมืองหริภุญชัย เมืองลี้ เมืองท่าหัวเตียน เมืองอู่คำ "ยังมีวันหนึ่งพระพุทธเจ้าของเราก็เสด็จไปด้วยพระองค์เพียงองค์เดียวก็มานั่งในถ้ำนี้ ขณะนั้นยังมียักษ์ 2 ตน ผัวเมียอาศัยอยู่ในถ้ำหลวงเชียงดาวมาเป็นเวลานาน วันหนึ่งมันก็ออกหาอาหารในบริเวณแถวถ้ำดอกคำนี้ (ความจริงพระองค์ทรงรู้ไว้ก่อนแล้วว่ายักษ์จะมาทาง นี้และทรงคิดว่าจะทรมานยักษ์ผู้หยาบช้าตนนี้ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลในธรรมพระองค์จึงเสด็จมาทรมาน) ยักษ์ผู้สามีก็เล็งเห็นชายผู้หนึ่งมีรูปร่างงามมักนั่งอยู่ในถ้ำ มันก็เข้าไปหาเพื่อจะจับกินเป็นอาหาร พอเข้า ไปใกล้พระพุทธเจ้าเหาะหนี มันจึงหยิบเอาก้อนผา (ก้อนหิน)ขว้างตามหลังไปหลายก้อน โดยไปตกที่ริมปากถ้ำ 2 ก้อนแต่ไม่ถูกพระพุทธเจ้า ยักษ์ตนนั้นจึงมีความเจ็บใจมาก จึงคิดหาอุบายโดยการแปลงร่างเป็นอีกาบิน ไล่กวดพระพุทธองค์ไป พระพุทธองค์ก็แปลงร่างเป็นตัวหมัดจับอยู่ที่หัวของอีกา อีกาไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหน บินวนเวียนหาอยู่ตั้งนานจนหลงเข้าไปในป่าทึบแห่งหนึ่ง ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า "บ้านดงกาหลง" จนทุกวันนี้ ในที่สุดมันก็ลดทิฐิมานะยอมแพ้ยกมือไหว้พระพุทธเจ้าแล้วเหาะกลับไปที่ถ้ำเชียงดาวบอกเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ภรรยาตนยักษ์ผู้เป็นภรรยาจึงได้ชวนผู้เป็นสามีแต่งดาขันข้าวตอกดอกไม้ซึ่งเป็นดอกบัวคำมาสักการะพระพุทธองค์ ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่าถ้าดอกคำตั้งแต่นั้นมาส่วนยักษ์สองผัวเมียตั้งแต่นั้นก็ตั้งอยู่ในศีลในธรรมเรื่อยมา หากินแต่ผลไม้ไม่กินเนื้อกินปลาอีก อยู่มาวันหนึ่งได้เดินพลาดที่หน้าผาแห่งหนึ่งด้วยความชรา ต่อมาที่นั่นจึงได้ชื่อว่า "ห้วยผาลาด"มาจนถึงทุกวันนี้ ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปด้วยอาการเจ็บป่วยได้ไปพักนอนตะแคงงอหล้องหง้อง (ภาษาเมือง) อยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมาได้ชื่อว่า บ้านแม่ละงองมาจนถึงทุกวันนี้ประเพณีทำบุญ ถ้ำดอกคำมีทุกๆ เดือน 8 เหนือขึ้น 15 ค่ำ ด้วยการทำบุญตักบาตรจุดบ้องไฟและอื่นๆการสร้างตำนานขึ้นมานี้เป็นกุสโลบายอันแยบยลของคนในอดีตเพื่อเสริมสร้างศรัทธาของสาธุชนเพื่อโน้มน้าวจิตใจในการกระทำคุณงามความดี
 
4.ดอยแม่ปั๋ง (วัดหลวงปู่แหวน)
ระยะทางห่างจากอำเภอ 17 กม. ตั้งอยู่บ้านแม่ปั๋ง ม.5 ต.แม่ปั๋งอำเภอพร้าว ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางสายเชียงใหม่ – แม่โจ้ - พร้าว (ทางหลวงหมายเลข 1001) เป็นระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ. 2528 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า โรงย่างกิเลส หรือ โรงไฟ และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง และวัดนี้แหละที่เป็นที่โด่งดังในอดีต วัดที่ทำให้เมืองพร้าวกลายเป็นเมืองที่ผู้คนรู้จัก เพราะเป็นวัดที่หลวงปู่แหวน เคยจำพรรษาอยู่จนกระทั่ง หลวงปู่แหวนมรณภาพ
 
== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==
ท้องที่อำเภอพร้าวประกอบด้วย[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] 10 แห่ง ได้แก่
* '''[[เทศบาลตำบลเวียงพร้าว]]''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงและตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล