ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนวิสุทธิกษัตริย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
'''ถนนวิสุทธิกษัตริย์''' ({{lang-en|Thanon Wisut Kasat}})''' เริ่มต้นตั้งแต่[[ถนนราชดำเนิน|ถนนราชดำเนินนอก]] (สี่แยก จ.ป.ร.) ในท้องที่แขวงบางขุนพรหมและแขวงบ้านพานถม [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับ[[ถนนประชาธิปไตย]] (สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์) และ[[ถนนสามเสน]] (สี่แยกบางขุนพรหม) จนถึงท่าเรือสะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม) ในท้องที่แขวงวัดสามพระยา
 
ถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นถนนที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศล พระราชทาน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์]] พระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]] และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 9 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนวิสุทธิกษัตริย์
 
การตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า แต่เดิมการสร้างถนนต้องใช้พระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการดูแลรักษา การตัดถนนในกรุงเทพฯ มักผ่านไปในเขตที่มีเจ้าของถือที่ดินอยู่ ถนนผ่านไปในที่ใดเจ้าของที่ดินย่อมได้รับประโยชน์เรื่องราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงสมควรให้เจ้าของที่ดิน ซึ่งถือครองที่ดินอยู่ตามแนวถนนซึ่งจะตัดผ่านช่วยกันออกทุนในการทำถนน เว้นแต่ผู้ที่ต้องเสียที่ดินทั้งหมดจนไม่ได้รับประโยชน์ในการตัดถนน ควรได้รับประโยชน์ราคาที่ดินของตนเป็นค่าเสียหาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตรา[[พระราชบัญญัติ]]สร้างถนนหลวงภายในบริเวณกรุงเทพฯ ขึ้นใน [[พ.ศ. 2447]] (ร.ศ. 123) สำหรับการสร้างถนนวิสุทธิกษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศการสร้างถนนวิสุทธิ์กระษัตริย์” ว่า ที่ดินตำบลบางขุนพรหมและหลังวัดมกุฏกษัตริย์ สมควรจะตัดเป็นถนนใหญ่ให้เดินไปมาติดต่อกันได้ ตั้งแต่วงเวียนบางขุนพรหม ตัดตรงไปทางหลัง[[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] ออกถนนราชดำเนินนอก ต่อมาใน [[พ.ศ. 2471]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนจากวิสุทธิกษัตริย์ต่อจากที่ตัดไว้แต่เดิม ตั้งแต่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] มาบรรจบถนนสามเสน ตำบลบางขุนพรหม โดยตัดผ่านเข้าไปในตำบลบางขุนพรหม
 
[[หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร|วิสุทธิกษัตริย์]]
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตพระนคร{{เรียงลำดับ|วิสุทธิกษัตริย์]]}}
[[หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร|วิสุทธิกษัตริย์]]
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ]]
{{โครงคมนาคม}}