ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลามาร์แซแยซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 278:
== อิทธิพลของลามาร์แซแยซ ==
 
ในประเทศ[[ประเทศรัสเซีย]] เพลงลามาร์แซแยซได้ถูกใช้เป็นเพลงปฏิวัติฝ่ายสาธารณรัฐโดยชาวรัสเซียซึ่งรู้[[ภาษาฝรั่งเศส]]ในช่วงปลาย[[คริสต์ศตวรรษที่ 18]] ซึ่งไล่เลี่ยกับช่วงเวลาการปฏิวัติในฝรั่งเศส ถึงปี [[ค.ศ. 1875]] ปีเตอร์ ลัฟรอฟ '' ([[:en:Peter Lavrov|Peter Lavrov]]) '' นักปฏิวัติและนักทฤษฎีกลุ่ม [[:en:Narodism|Narodism]] ได้เขียนเพลงโดยใส่เนื้อร้องภาษารัสเซียขึ้นใหม่ตามทำนองเพลงลามาร์แซแยซ และให้ชื่อเพลงว่า "[[ราโบชายา มาร์เซลเยซา|มาร์แซแยซของกรรมกร]]" '' ([[:en:Worker's Marseillaise|"Rabochaya Marselyeza", "Worker's Marseillaise"]]) '' ซึ่งเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงปฏิวัติยอดนิยมเพลงหนึ่งในรัสเซียและได้มีการใช้ใน[[การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905]] ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ [[ค.ศ. 1917]] เพลงนี้ก็ได้มีลักษณะเป็นกึ่งเพลงชาติของสาธารณรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังเหตุการณ์[[การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917|การปฏิวัติเดือนตุลาคม]]ซึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน เพลงนี้ก็ยังคงใช้เป็นเพลงปฏิวัติควบคู่กับเพลง[[แองเตอร์นาซิอองนาล]]<ref>[http://www.hymn.ru/paper-soboleva-200501.pdf Соболева, Н.А. 2005. Из истории отечественных государственных гимнов. Журнал "Отечественная история", 1. P.10-12]</ref>
 
สำหรับ[[ประเทศไทย]] เพลงลามาร์แซแยซได้เป็นแรงดลใจให้[[คณะราษฏร]]คิด[[เพลงชาติไทย|เพลงชาติ]]ขึ้นใหม่ในช่วง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]<ref name="บันทึกความทรงจำพระเจนดุริยางค์">เจนดุริยางค์, พระ. '''บันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) ชิวประวัติของข้าพเจ้า.''' พระนคร: สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน, 251-. หน้า 20 - 21.</ref> และยังมีการนำทำนองไปใช้ในเพลงมาร์ชต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง อันได้แก่ เพลง "[[:s:มาร์ช ม.ธ.ก.|มาร์ช ม.ธ.ก.]]" ของ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (ม.ธ.ก. เป็นอักษรย่อนาม[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อครั้งยังใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง") ซึ่งประพันธ์โดย[[ทวีป วรดิลก]] ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2490 และเพลง "[[มาร์ชลาดยาว]]" ซึ่งประพันธ์โดย [[จิตร ภูมิศักดิ์]] ขณะที่เขาถูกคุมขังใน[[เรือนจำลาดยาว]] (เรือนจำคลองเปรม) ด้วยคดีการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2503 - 2505 เพื่อใช้ร้องในงานรื่นเริงภายในคุก{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
== เชิงอรรถ ==