ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันนิบาตชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43:
ต่อมาเมื่อเกิด[[สงครามนโปเลียน]]ในศตวรรษที่ 19 ก็มีความพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ยุโรปมีความมั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เกิด[[อนุสัญญาเจนีวา]]ขึ้นเพื่อมนุษยธรรมระหว่างสงคราม และ[[อนุสัญญาเฮก (1899 และ 1907)|อนุสัญญาเฮก]]ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ของสงครามและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ และในปี ค.ศ. 1889 นักรณรงค์สันติภาพได้ก่อตั้ง[[สมัชชาสหภาพรัฐสภา]] (Inter-Parliamentary Union: IPU) ขึ้นเพื่อสนับสนุนการเจรจาและการทูตในการแก้ไขข้อพิพาท<ref>{{cite web | title = ก่อนจะเป็น "สันนิบาตชาติ" | publisher = สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา | url =http://www.unog.ch/80256EE60057D930/(httpPages)/B5B92952225993B0C1256F2D00393560?OpenDocument | accessdate = 26 พฤศจิกายน 2011}} {{en icon}}</ref>
 
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกลุ่มอำนาจใหญ่สองกลุ่มในยุโรปที่ขัดแย้งกัน และเป็น[[สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งมีทหารเสียชีวิต 8.5 ล้านนาย ผู้บาดเจ็บ 21 ล้านคน และพลเรือนเสียชีวิต 10 ล้านคน สงครามนี้ได้ส่งผลกระทบในทุกด้านของชีวิต และทำให้เกิดกระแสต่อต้านสงครามทั่วโลก จนเกิดวลีเรียกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่า "สงครามเพื่อที่จะหยุดสงครามทั้งหมด" และมีการสืบสวนถึงสาเหตุอย่างถี่ถ้วน ซึ่งพบว่าเกิดจาก การแข่งขันทางอาวุธ พันธมิตร การทูตลับ และเสรีภาพในการเข้าร่วมสงครามของรัฐต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงมีการเสนอให้มีิองค์การระหว่างประเทศที่จะทำหน้าที่หยุดสงครามในอนาคตด้วย[[การลดอาวุธ]] การทูตอย่างเปิดเผย การตัดสินข้อพิพาท ความร่วมมือระหว่างชาติ การควบคุมสิทธิในการเข้าร่วมสงคราม และการลงโทษประเทศที่ทำผิดกฎ
 
บุคคลสำคัญที่มีส่วนทำให้สันนิบาตชาติเป็นความจริงขึ้นมาคือประธานาธิบดี[[วูดโรว์ วิลสัน]]แห่งสหรัฐอเมริกา การตั้งสันนิบาตชาติเป็นหนึ่งใน[[หลักการสิบสี่ข้อ]]ของวิลสัน ซึ่งข้อ 14 ระบุว่า ''การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และให้การรับรองแก่รัฐที่มีขนาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง โดยการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นมา''<ref>{{cite web |first=วูดโรว์|last=วิลสัน|authorlink=วูดโรว์ วิลสัน| date = 8 มกราคม 1918 |title = หลักการสิบสี่ข้อของประธานาธิบดีวิลสัน | publisher =The Avalon Project | url =http://www.yale.edu/lawweb/avalon/wilson14.htm | accessdate = 26 พฤศจิกายน 2011}} {{en icon}}</ref> โดยในระหว่าง[[การประชุมสันติภาพที่ปารีส (1919)|การประชุมสันติภาพที่ปารีส]] ซึ่งมีสามประเทศใหญ่ผู้ชนะสงครามเข้าร่วมคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แนวความคิดการก่อตั้งสันนิบาตชาติของวิลสันได้รับการยอมรับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ[[สนธิสัญญาแวร์ซายส์]]
 
[[กติกาสันนิบาตชาติ]]ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการพิเศษ โดยมี 44 ประเทศที่เซ็นยอมรับกติกานี้เมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ดี ความพยายามของประธานาธิบดีแม้วิลสันจะประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้ก่อตั้งสันนิบาตชาติเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919ปีเดียวกัน แต่รัฐสภาอเมริกากลับมีมติไม่ยอมให้ประเทศอเมริกาเข้าร่วมสันนิบาต เนื่องจากเกรงว่าจะมีข้อผูกมัดตามมา ซึ่งจะเป็นเหตุผลสาเหตุที่ทำให้สันนิบาตล่มในเวลาต่อมา
 
สันนิบาตชาติเปิดประชุมคณะมนตรีหกวันหลังจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์มีผลบังคับใช้ ต่อมาสำนักงานใหญ่ถูกย้ายไปกรุงเจนีวา และมีการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920