ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังคุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "แมงโก้สตีน"
ย้อนการแก้ไขของ 118.173.42.167 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย B20180
บรรทัด 1:
{{Taxobox
แมงโก้สตีน
| color = lightgreen
| name = มังคุด Mangosteen
| image = Mangosteen.jpeg
| image_width = 250px
| image_caption = Mangosteen fruit
| regnum = [[Plant]]ae
| divisio = [[Magnoliophyta]]
| classis = [[Magnoliopsida]]
| ordo = [[Malpighiales]]
| familia = [[Clusiaceae]]
| genus = ''[[Garcinia]]''
| species = '''''G. mangostana'''''
| binomial = Garcinia mangostana
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
}}
 
'''มังคุด''' ({{lang-en|mangosteen}}) {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Garcinia mangostana}} Linn. เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ[[เขตร้อน]]ชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่[[หมู่เกาะซุนดา]]และ[[หมู่เกาะโมลุกกะ]] แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่[[หมู่เกาะอินดีสตะวันตก]]เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ [[กัวเตมาลา]] [[ฮอนดูรัส]] [[ปานามา]] [[เอกวาดอร์]] ไปจนถึง[[ฮาวาย]] ใน[[ประเทศไทย]]มีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่อง[[รามเกียรติ์]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 1]]
 
เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 7-25 เมตร ใบเดี่ยวรูปรี ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
 
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้<ref>"สมุนไพรน่ารู้" วันดี กฤษณพันธ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2541
</ref><ref>"สุขภาพดีด้วยสมุนไพรใกล้ตัว" โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น กรกฎาคม 2541</ref> ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หาก[[อุณหภูมิ]]ลดลงต่ำกว่า 4&nbsp;°C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้
 
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
มังคุดเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม สีม่วงแดง ยางสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร<ref>[http://www.rspg.or.th/plants_data/use/fruit_12.htm มังคุด] ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref>
 
== การใช้ประโยชน์ ==
{{คุณค่าทางโภชนาการ| name = มังคุด <br />บรรจุกระป๋อง| kJ=305 | protein=0.4 g | fat=0.6 g | satfat= | transfat= | monofat = | polyfat = | omega3fat= | omega6fat= | carbs = 18 g | starch= | sugars= ? g | lactose= | fibre = 1.8 g | sodium_mg= | potassium_mg = | vitA_ug = | betacarotene_ug= | vitC_mg= | thiamin_mg= | riboflavin_mg= | niacin_mg= | pantothenic_mg= | folate_ug= | vitD_ug= | vitE_mg= | vitK_ug= | iron_mg= | magnesium_mg= | manganese_mg= |phosphorus_mg= | zinc_mg= | calcium_mg= | vitB6_mg= | vitB12_ug= | water=81 g | alcohol= | caffeine= | source_usda=1 | right=1}}
มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่น มังคุดลอยแก้ว เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือ[[แทนนิน]] [[แซนโทน]] (โดยเฉพาะ[[แมงโกสติน]]) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ[[แบคทีเรีย]]ที่ทำให้เกิด[[หนอง]]ได้ดี
 
ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการ[[น้ำกัดเท้า]] แผลเปื่อย
เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{ราชพฤกษ์ 2549/แมสคอต}}
 
[[หมวดหมู่:ผลไม้]]
[[หมวดหมู่:วงศ์ไม้สารภี]]
[[หมวดหมู่:สัญลักษณ์มหกรรมพืชสวนโลกฯ ราชพฤกษ์ 2549]]
{{โครงพืช}}
 
[[ar:مانغوستين]]
[[ca:Garcinia mangostana]]
[[cs:Mangostana lahodná]]
[[de:Mangostane]]
[[en:Purple mangosteen]]
[[es:Garcinia mangostana]]
[[fa:ترگیل]]
[[fi:Mangostani]]
[[fr:Mangoustanier]]
[[gl:Mangostaneira]]
[[he:מנגוסטין]]
[[id:Manggis]]
[[it:Garcinia mangostana]]
[[ja:マンゴスチン]]
[[jv:Manggis]]
[[ka:მანგოსტანი]]
[[ko:망고스틴]]
[[koi:Мангостан]]
[[kv:Мангостан]]
[[ln:Mangusitá]]
[[lt:Mangostaninė garcinija]]
[[map-bms:Manggis]]
[[ml:മാങ്കോസ്റ്റീൻ]]
[[mrj:Мангостан]]
[[ms:Manggis]]
[[my:မင်းကွတ်သီး]]
[[nl:Mangistan]]
[[nn:Mangostan]]
[[pam:Mangosteen]]
[[pl:Mangostan właściwy]]
[[pt:Mangostão]]
[[ro:Garcinia mangostana]]
[[ru:Мангостан]]
[[simple:Purple Mangosteen]]
[[sk:Mangostána (ovocie)]]
[[su:Manggu]]
[[sv:Mangostan]]
[[tr:Mangostan]]
[[udm:Мангостан]]
[[uk:Мангостан]]
[[vi:Măng cụt]]
[[zh:山竹]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มังคุด"