ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่สำคัญพอในหมวดหมู่:การเมืองไทย
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491''' เกิดขึ้นในเช้าวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2491]] เป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์|พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] เมื่อวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] กล่าวคือเป็นกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน [[ป. พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] อดีตนายกรัฐมนตรี ที่พ้นตำแหน่งไปภายหลังการสิ้นสุด [[สงครามโลกครั้งที่ 2]]
 
โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย [[ผิน ชุณหะวัณ|พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ]] (ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์|พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] เมื่อวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] แล้วได้แต่งตั้งให้ [[ควง อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ [[6 มกราคม]] [[พ.ศ. 2491]]
 
ต่อมาในการเลือกตั้งวันที่ 629 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ [[29 มกราคม]] พ.ศ. 2491 ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม [[รายนามผู้บัญชาการทหารบก|ผู้บัญชาการทหารบก]]นั่นเอง หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เรียกตัวเองว่า ''"คณะประชาธิปไตย"'' ประกอบด้วยนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง นำโดย พล.ท.[[พระยาเทพหัสดิน]] รวมทั้ง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยส่วนหนึ่ง เช่น นาย[[เลื่อน พงษ์โสภณ]], นายฟอง สิทธิธรรม, นาย[[เลียง ไชยกาล]] ได้รวมตัวกันสนับสนุน จอมพล ป. ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยกล่าวว่าจะขอ ''"สนับสนุนจอมพล ป.ตลอดกาล"'' ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนไหวรวมตัวกันที่[[สนามหลวง]]และ[[สวนลุมพินี]]และได้ล่ารายชื่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้สนับสนุน จอมพล ป.
 
จากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลา 8.00 น. ซึ่งตรงกับ[[วันจักรี]] ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, พล.ต.สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ นายควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้าม[[สนามกีฬาแห่งชาติ]] อ้างเหตุเรียกร้องให้นายควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับ จาก[[เชียงตุง]] หลังการสิ้นสุด [[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจาก [[กระทรวงการคลัง]] จำนวน 9 ล้านบาท แต่นายควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้ง ระหว่าง นายควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่า จะเกิดการรัฐประหารซ้อน และที่สุดขอให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 [[ชั่วโมง]] โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลนายควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะบ้านเมืองที่ตกต่ำลงได้