ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Slight06 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
|}}
 
'''สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3''' พระนามเดิม พระบรมราชา เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของ[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี [[พ.ศ. 2031]] เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานหลายอย่างที่สนับสนุนว่าพระองค์อาจเป็นพระองค์เดียวกับ[[พระอินทรราชาอินทราชา]] พระโอรสอีกพระองค์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
== พระราชประวัติ ==
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 มีพระนามเดิมว่า พระบรมราชา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์มีพระเชษฐา คือ [[พระอินทรราชาอินทราชา|สมเด็จพระอินทรราชาอินทราชา]] และมีพระอนุชาต่างพระมารดา คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ต่อมา คือ [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]])
 
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น เป็นช่วงเวลาที่[[กรุงศรีอยุธยา]]ทำสงครามกับ[[อาณาจักรล้านนา]]หลายครั้ง พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จไปเสวยราชสมบัติ ณ [[พิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]]
เพื่อที่จะไปป้องกันหัวเมืองเหนือจากล้านนา ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2006]] ดังนั้น เมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นเมืองราชธานีในสมัยนี้ ส่วนทางกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงสถาปนาให้พระบรมราชาขึ้นครองราชสมบัติทรงมีพระนามว่า '''สมเด็จพระบรมราชาธิราช''' (ที่ 3) ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีพระมหากษัตริย์พร้อมกัน 2 พระองค์ นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเชษฐาธิราชที่[[พระมหาอุปราช]]ด้วย
 
เมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]เสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2031]] สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ซึ่งครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้นได้ย้ายราชธานีกลับมาที่กรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเมืองพิษณุโลกนั้น [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2|สมเด็จพระเชษฐาธิราช]] ผู้เป็นพระอนุชาได้ปกครองอยู่ในฐานะ[[พระมหาอุปราช]]