ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: eo:SLE
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ลบส่วนละเมิดลิขสิทธิ์จาก http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-25-40/1787-2009-01-23-02-18-07
บรรทัด 17:
}}
 
'''ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง''' ({{lang-en|Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE}}) เป็น​เป็นโรคที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายระบบ​ในร่างกาย โรคนี้เกิดจาก[[ภูมิคุ้มกัน]]ของ[[ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ]]ทำงานผิดปกติโดยแทนที่จะทำหน้าที่ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม​หรือเชื้อโรคแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายกลับมาต่อต้าน หรือทำลายเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายตนเอง จนก่อให้เกิดการอักเสบได้เกือบทุกอวัยวะของร่างกาย​ อวัยวะที่เกิดการอักเสบได้บ่อย ได้แก่ [[ผิวหนัง]], [[ข้อ]], [[ไต]], ระบบ[[เลือด]], ระบบ[[ประสาท]] เป็นต้น ​การอักเสบนี้จะเป็นต่อเนื่องจนเป็น<ref>[http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-25-40/1787-2009-01-23-02-18-07 โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เอส แอล อี]</ref>​
 
คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ '''"โรคพุ่มพวง"''' เนื่องจาก [[พุ่มพวง ดวงจันทร์]] นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
บรรทัด 30:
=== กรรมพันธุ์ ===
พบว่าผู้ป่วยโรคเอสแอลอี 10% มีพ่อแม่หรือญาติป่วยเป็นโรคนี้ด้วย และพบเพียง 5% ของเด็กที่เป็นโรคนี้มีแม่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี
 
== ปัจจัยเสริม ==
ปัจจัยเสริมที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี​หรือมีโอกาสจะเป็นมีอาการกำเริบขึ้น​เช่น​แสงแดด​หรือแสง[[อัลตราไวโอเลต]]​การตั้งครรภ์​ยา​หรือสารเคมีบางชนิด​การออกกำลังกาย​หรือทำงานหนัก​ภาวะเครียดทางจิตใจ​
== กลุ่มประชากร ==
ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี​ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง​อายุระหว่าง​20-45 ปี​ที่พบมากสุดอยู่ในช่วงอายุประมาณ​30 ปี​แต่ก็พบได้ในทุกช่วงอายุ พบผู้หญิงเป็นโรคเอสแอลอี มากกว่าผู้ชายถึง​9 เท่า​โรคเอสแอลอีนี้​พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั่วโลก
== อาการและอวัยวะที่ปรากฏอาการ ==
โรคเอสแอลอีเป็น​โรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะ​หรือหลายระบบของร่างกาย​บางราย อาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน​บางรายมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละระบบ​ ​เช่น​มีปวดบวมตามข้อ​มีผื่นขึ้นที่หน้า​มีขาบวม​หน้าบวมจากไตอักเสบ​หรือมีอาการทางระบบประสาท เป็นต้น​บางรายมีอาการเฉียบพลันรุนแรง​บางรายอาการค่อยเป็นค่อยไปในช่วงระยะหนึ่ง​อาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆที่สำคัญคือ​
# อาการทางผิวหนังผู้ป่วยมักมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า​บริเวณสันจมูก​และโหนกแก้ม​2 ข้างเป็นรูปคล้ายผีเสื้อ​หรือมีผื่นแดงคันบริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด​หรือมีผื่นขึ้นเป็นวงเป็นแผลเป็นตามใบหน้า​หนังศีรษะ​หรือบริเวณใบหู​มีแผลในปาก​โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก​ นอกจากนี้ยังมีผมร่วงมากขึ้น​
# อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ​ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ​ มักเป็นข้อนิ้วมือ​ข้อมือ​ข้อไหล่​ข้อเข่า​หรือข้อเท้า​บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วย
# อาการทางไต ผู้ป่วยมักมีอาการบวมบริเวณเท้า​2 ข้าง​ขาหน้า หนังตาบวม เนื่องจากมีการอักเสบที่ไต ทำให้มีโปรตีนไข่ขาวจากเลือดรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก​ รายที่มีอาการรุนแรง​จะมีความดันโลหิตสูงขึ้น​ปัสสาวะออกน้อยลง​ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นมีไตวายได้ในระยะเวลาอันสั้น ​อาการทางไตเป็นอาการสำคัญอันหนึ่งที่บอกว่า​โรคเป็นรุนแรง
# อาการทางระบบเลือด ผู้ป่วยอาจมีโลหิตจาง มีเม็ดเลือดขาว​หรือเกร็ดเลือดลดลง​ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีภาวะติดเชื้อง่าย​หรือมีจุดเลือดออกตามตัวได้
# อาการทางระบบประสาท​ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชัก หรือมีอาการพูดเพ้อเจ้อไม่รู้เรื่อง​หรือคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้​ เนื่องจาก​มีการอักเสบของสมอง​หรือเส้นเลือด​ใน[[สมอง]]
 
​ นอกจากนี้​ยังมีอาการทางระบบอื่นๆ​ในร่างกาย​เช่น​ทางเดินอาหาร​[[หัวใจ]] [[ปอด]]​ได้​รวมทั้ง​มีอาการทั่วไป​ เช่น​ มีไข้​อ่อนเพลีย​เบื่ออาหาร​ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ​ปวดศีรษะ​จิตใจหดหู่​ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี แต่ละรายไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกระบบ​หรือมีอาการรุนแรง​ บางรายก็มีอาการน้อย​เช่น​มีไข้​ปวดข้อ​มีผื่นขึ้นถือว่าไม่รุนแรง​ บางรายมีอาการรุนแรง​มีไตอักเสบมากจนไตวาย​มีอาการชัก​หรือมีปอดอักเสบรุนแรงจนมีเลือดออกในปอด​ อาการของโรคมักจะแสดงความรุนแรงมาก​หรือน้อย​ภายในระยะเวลา​1-2 ปี​แรกจากที่เริ่มมีอาการ​หลังจากนั้นมักจะเบาลงเรื่อยๆ​ แต่อาจมีอาการกำเริมรุนแรงได้เป็นครั้งๆ​ เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานาน​ เมื่อมีอาการปวดตามข้อ​เมื่อมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า​หรือมีผื่นคันบริเวณที่ถูกแสงแดด เมื่อมีผมร่วงมากผิดปกติ​ เมื่อมีอาการบวมตามขา​หน้า​หรือหนังตา​
 
== การรักษา ==
การรักษาโรคเอสแอลอี​จะต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคของผู้ป่วย​ การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องของผู้ป่วยและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา​ การเลือกวิธีการรักษา​โรค ​เอสแอลอี​ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยแต่ละราย​ ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง​การใช้ยาแก้ปวด​เช่น​ยา[[พาราเซตามอล]] หรือ[[แอสไพริน]]​หรือยาลดการอักเสบชนิดไม่​ใช่[[สเตียรอยด์]]ก็ควบคุมอาการได้
 
​สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นอาจต้องใช้​ยาสเตียรอยต์​เช่น​ยาเพรตนิโซโลน​ในขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมตั้งแต่ขนาดต่ำ​ถึง​สูง​เป็นระยะเวลาต่างๆ​ เป็นสัปดาห์จนเป็นหลายเดือนขึ้นกับความรุนแรงและระบบ​อวัยวะที่มีอาการอักเสบ​ ​บางรายที่มีการอักเสบของอวัยวะสำคัญ​ เช่น​ ไต หรือระบบประสาท อาจจำเป็นต้องใช้​ยากดภูมิคุ้มกัน​เช่น​ ยาอิมูแรน​ หรือเอ็นด๊อกแซน​อาจเป็นใน​รูปยารับประทาน​หรือการให้ยาทางน้ำเกลือเป็นระยะ​ บางรายถึงกับต้องใช้การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองร่วมด้วย​ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค​ในผู้ป่วยแต่ละราย​การเลือก​ใช้ชนิดของการรักษา​ด้วยขนาดที่เหมาะสม ในจังหวะที่ถูกต้องกับความรุนแรงของโรคเป็น​กุญแจสำคัญที่จะทำให้การรักษาได้ผลดี
 
​การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด​ในการรักษาโรคเอสแอลอีให้ได้ผลดี​ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องทำได้​ ดังนี้​ ​
พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด​ตั้งแต่ช่วง​10.00 น.-16.00 น. ถ้าจำเป็นให้กางร่ม​ใส่หมวก​หรือสวมเสื้อแขนยาว​และใช้ยาทากันแดดที่ป้องกันแสงอุลตราไวโอเลตได้ดี​ พักผ่อนให้เพียงพอ​
​หลีกเลี่ยงความตึงเครียด​โดยพยายามฝึกจิตใจให้ปล่อยวาง​ ไม่หมกมุ่น​ทำใจยอมรับกับโรคและปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นและค่อยๆแก้ปัญหาต่างๆไปตามลำดับ​
​ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ​ ไม่รับประทานอาหารที่ไม่สุกหรือไม่สะอาด​เพราะจะมีโอกาสติดเชื้อต่างๆง่าย​ เช่น​ พยาธิต่างๆ​หรือแบคทีเรีย​ โดยเฉพาะเชื้อไทฟอยด์​ดื่มนมสดและ​อาหาร​อื่นๆที่มีแคลเซี่ยมสูงเพื่อป้องกันภาวะ[[กระดูก]]พรุน​ ไม่รับประทานยาเองโดยไม่จำเป็น​ เพราะยาบางตัวอาจทำให้โรคกำเริบได้​
​ป้องกันการตั้งครรภ์ขณะโรคยังไม่สงบ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังได้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่​ แต่ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจน​เพราะอาจทำให้โรคกำเริบได้​และไม่ควรใช้​วิธีใส่ห่วงด้วย​เพราะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าคนปกติ​
​เมื่อโรคอยู่ในระยะสงบสามารถตั้งครรภ์ได้​ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน​และขณะตั้งครรภ์ควรมารับการตรวจอย่างใกล้ชิดมากกว่าเดิม​ เพราะบางครั้งโรคอาจกำเริบขึ้นระหว่างตั้งครรภ์​
​หลีกเลี่ยงจากสถานที่แออัดที่มีคนหนาแน่น​ที่ที่อากาศไม่บริสุทธิ์​และไม่เข้าใกล้ผู้ที่กำลังเป็นโรคติดเชื้อ​เช่น​ไข้หวัด​เพราะจะมีโอกาสติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย​
​ถ้ามีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ​เช่น​ไข้สูง​หนาวสั่น​มีฝีตุ่มหนองตามผิวหนัง​ไอเสมหะเหลืองเขียว​ปัสสาวะแสบขัด​ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที​
หากรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอยู่​เช่น​อิมูแรน,เอ็นด๊อกแซน​ให้หยุดยานี้ชั่วคราวในระหว่างที่มีการติดเชื้อ​
​มาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ​ เพื่อประเมินภาวะของโรค​และเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม​
​ถ้ามีอาการผิดปกติที่เป็นอาการของโรคกำเริบให้มาพบแพทย์ก่อนัด​ เช่น​มีอาการไข้เป็นๆหายๆ​ อ่อนเพลีย​ น้ำหนักลด บวม​ ผมร่วง​ผื่นใหม่ๆ​ปวดข้อ​เป็นต้น​
​ถ้ามีการทำฟัน​ถอน[[ฟัน]]​ให้รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการทำฟัน​ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ​ทั้งนี้โดยปรึกษาแพทย์​
​การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี​แต่ละรายแตกต่างกัน​ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค​ การรักษาที่ได้รับว่าถูกต้องหรือไม่​ ตลอดจนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย​ ความต่อเนื่อง และความ​สม่ำเสมอของการไปติดตามการรักษา ในปัจจุบันการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยโรคเอสแอลอีดีขึ้นมาก​ เนื่องจากมีความก้าวหน้าในทางการแพทย์​ ทำให้การรักษาโรคเอสแอลอีมีประสิทธิภาพมากขึ้น​มีการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ดีขึ้น​ มียารักษาภาวะแทรกซ้อน​ เช่น​ ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อที่ดีขึ้น​ ทำให้ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี​มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้นมากและอยู่อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
== สาเหตุการเสียชีวิต ==
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอีเกิดได้จาก​3​สาเหตุคือจาก​ตัวโรคเองผู้ป่วยมีอาการอักเสบรุนแรงของอวัยวะสำคัญ​เช่น​ไต​สมอง​หลอดเลือดโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที​
​จากภาวะติดเชื้อเนื่องจากโรคเอสแอลอีทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอยู่แล้ว​ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งยาสเตียรอยด์​และยากดภูมิคุ้มกันยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป​
​จากยาหรือวิธีการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือขนาดยาที่ไม่​หมาะสม​
​โรคเอสแอลอีเป็นโรคแพ้ภูมิชนิดหนึ่งที่มีอาการและอาการแสดงได้หลากหลาย​มีความรุนแรงได้ตั้งแต่น้อยจนถึงมาก​ ​การรักษาโรคที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการจะทำให้ผู้ป่วยมีการพยากรณ์โรคดีมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรือเกิดความพิการน้อยลงการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้องเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ​ถึงแม้โรคนี้จะไม่หายขาด​แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง​ จะทำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบได้ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้เหมือนปกติทั่วไป
 
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* นิยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2551