ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 2:
{{เก็บกวาดสถานศึกษา}}
==ประวัติ==
คณะวิทยาการจัดการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2518 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 โดยนายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในสมัยนั้นได้จัดตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2516 เพื่อร่างโครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ โดยมีดร.ไพบูลย์ ช่างเรียน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และพัฒนามาเป็นคณะวิทยาการจัดการในปัจจุบันสำหรับผู้ร่วมงานประกอบด้วย
คณะวิทยาการจัดการ เปิดรับนักศึกษาเป็นอันที่ 4 โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 48 คน ในปี พ.ศ. 2519 เดิมนั้นคณะวิทยาการจัดการมีชื่อว่า คณะสังคมศาสตร์ ซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 ต่อมามหาวิทยาลัยเห็นว่าตามหลักการเดิม มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 2 ศูนย์ คือ ศูนย์ทางวิทยาเขตหาดใหญ่ ให้เป็นศูนย์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์ทางวิทยาเขตปัตตานี ให้เป็นศูนย์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ แต่เนื่องจากคณะสังคมศาสตร์นี้จะจัดตั้งในวิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาการจัดการ ประกอบด้วย 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสารัตถศึกษา ในปี 2541 ภาควิชาสารัตถศึกษาโอนไปเป็นภาควิชาในสังกัดคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่
อาจารย์ทองศรี กำภู ณ อยุธยา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์อุทัย เลาหวิเชียร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์มนตรี เจนวิทย์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายเสริฐ ชูพิกุลชัย สำนักงบประมาณ
นายประยูร พรหมพันธ์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
นายสมศักดิ์ ดำริชอบ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
นายสมปราชญ์ จอมเทศ บริษัท 3 เอ็ม
นายเสมา มีสมบูรณ์ สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
นายสุนทร เกิดแก้ว สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
ร.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
นางกานดา ศิริมไหสวรรย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (เลขานุการ)
(รายชื่อข้างต้นเป็นตำแหน่งและสังกัดเมื่อปี 2516)
การดำเนินการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ (คณะสังคมศาสตร์ในเบื้องต้น) ได้พัฒนา มาเป็นลำดับ คณะทำงานได้ประชุม 3 ครั้ง ในการประชุมครั้งที่ 3/2516 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2516 ซึ่งได้ประชุมร่วมกับอธิการบดี (ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย) รองอธิการบดี และรักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์(ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร) รักษาการคณบดีคณะแพทยศาสตร์ (รศ.นพ.เกษม ลิ่มวงศ์) รักษาการคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์) รักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ (น.ส.พรรณี นิธิอุทัย)ที่ประชุมมีมติว่า
(1) ในคณะสังคมศาสตร์เปิดหลักสูตร 3 หลักสูตร คือ บริหารธุรกิจ และรัฐประศาสนศาสตร์ กำหนดเปิดสอนในปีการศึกษา 2517 และหลักสูตรสังคมมานุษยวิทยาเปิดสอน ในปีการศึกษา 2518
(2) สถานที่ทำการตามโครงการเดิม คณะสังคมศาสตร์จะตั้งที่จังหวัดปัตตานี แต่เนื่องจากคณะนี้ต้องการเน้นหนักที่สาขาวิชาบริหารธุรกิจ จึงขอเปลี่ยนมาตั้งที่หาดใหญ่แทน เพราะหาดใหญ่เป็นศูนย์ธุรกิจการค้าในภาคใต้ ส่วนศูนย์วิจัยของคณะสังคมศาสตร์จะยังคงตั้งที่ จังหวัดปัตตานีตามเดิม
ในปีการศึกษา 2517 กรรมการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในการประชุมครั้งที่ 4/2517 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2517 มีความเห็นชอบอนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้ง คณะมนุษยศาสตร์(ที่จังหวัดปัตตานี) และคณะสังคมศาสตร์ (ที่จังหวัดสงขลา) อย่างไรก็ตามในปีการศึกษา 2517 คณะสังคมศาสตร์ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เนื่องจากปัญหางบประมาณและปัญหาเรื่องที่พักสำหรับนักศึกษาที่มีไม่เพียงพอ แต่มหาวิทยาลัยก็ได้มีการเตรียมงานและการดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยได้ยืมตัว นายมนัส ชัยสวัสดิ์ จากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาช่วยเตรียมงานเบื้องต้น ในการจัดตั้งคณะ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2517 และรับโอนมาบรรจุเป็นอาจารย์โท ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2518 (หนังสือที่ สร.ทม. 1101/ส.430 ลงวันที่ 24 เมษายน 2517) และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2517 ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐได้การประกาศ แบ่งส่วนราชการให้คณะสังคมศาสตร์เป็น คณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แม้ว่าในปี 2518 คณะสังคมศาสตร์ยังไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณ และปัญหาการตั้งคณะสังคมศาสตร์ที่หาดใหญ่ เนื่องจากมหาวิทยาลัย มีนโยบายที่จะให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่หาดใหญ่ เป็นศูนย์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปัตตานี เป็นศูนย์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แต่ก็ได้มีพัฒนาการด้านการปรับเปลี่ยนชื่อคณะ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2518 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เสนอทบวงมหาวิทยาลัย ขอเปลี่ยนชื่อ “คณะสังคมศาสตร์” เป็น “คณะบริหารศาสตร์” และขอเปิดหลักสูตรเพียง 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้น ให้คณะมนุษยศาสตร์ที่ปัตตานีเปิดดำเนินการ ต่อมา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2518 ที่ประชุมทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ มีมติ ให้เปลี่ยนชื่อ “คณะสังคมศาสตร์” เป็น “คณะการจัดการ” ตามหนังสือ ที่ สร.ทม.0203/6980 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2518 และเปลี่ยนชื่อ “คณะการจัดการ” เป็น “คณะวิทยาการจัดการ” ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2518 เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นชื่อที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตสถานได้พิจารณาแล้ว (ราชบัณฑิตยสถานได้เสนอคำ “คณะวิธานศาสตร์” หรือ “คณะวิทยาการจัดการ” สำหรับใช้กับคำภาษาอังกฤษ Faculty of Management Sciences) หลังจากนั้นได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2518 โดยทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกาศแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มี 8 หน่วยงานคือ สำนักงานอธิการบดี และคณะต่าง ๆ อีก 7 คณะ รวมทั้งคณะวิทยาการจัดการ ส่วนคณะสังคมศาสตร์เดิม ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ เป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ที่ปัตตานี และให้มีสำนักงานเลขานุการในคณะวิทยาการจัดการ และเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2518 มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ดร.ไพบูลย์ ช่างเรียน เป็นคณบดี คณะวิทยาการจัดการคนแรก ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2518 และในปลายปีนี้คณะวิทยาการจัดการได้รับ นางวไลพร กังสนันท์ มาบรรจุเป็นอาจารย์ เพื่อช่วยเหลืองานคณะอีกคนหนึ่ง ในตำแหน่งอาจารย์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยมีที่ทำการคณะชั่วคราวอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการเปิดรับนักศึกษาเป็นปีแรก ในปีการศึกษา 2519 ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตและรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต เป็นนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จำนวน 35 คน สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน ได้รับงบประมาณ 4,537,000 บาท (รวมที่ดินและสิ่งก่อสร้างตึกที่ทำการ 1 หลัง) ได้รับตำแหน่งอาจารย์ประจำตำแหน่ง (ไม่รวมคณบดี) และรับโอนอาจารย์จากหน่วยพฤติกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวม 4 คน เป็นอาจารย์รวมทั้งสิ้น 12 คน (รวมคณบดี) คือ
ดร.ไพบูลย์ ช่างเรียน คณบดี
นายมนัส ชัยสวัสดิ์ รองคณบดี
นางวไลพร กังสนันท์ หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ
นายวิชิต พรหมเทพ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
น.ส.สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร
นายรังสรรค์ ประเสริฐศรี
น.ส.สมิหรา จิตลดากร
นายสมมาตร จุลิกพงศ์
น.ส.รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ
นายเดชา อรรถสาร
นางยุคล ทองตัน
น.ส.สุนันทา ชีวโสภณ
นอกจากนี้มีข้าราชการประจำ 2 คน คือ นางพรรณนิภา สุนทราวราวิทย์ และนายธนิต ศิริสมบัติ ลูกจ้างประจำ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 1 คนเมื่อสิ้นปี 2519 คณะวิทยาการจัดการ มีจำนวนอาจารย์ ข้าราชการ และลูกจ้างรวมทั้งสิ้น 17 คน และได้ย้ายที่ทำการชั่วคราวจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์มาอยู่ที่ตึกที่ทำการถาวรในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2521 คณะวิทยาการจัดการได้รับการแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น (1) สำนักงานเลขานุการคณะ (2) ภาควิชาบริหารธุรกิจ และ (3) ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 31 หน้าที่ 136) และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งภาควิชาสารัตถศึกษาขึ้นในคณะวิทยาการจัดการ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2521 เพื่อรับผิดชอบสอนวิชาพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และพลศึกษา ให้แก่นักศึกษาทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ โดยในปีงบประมาณ 2523 คณะได้รับงบประมาณให้สร้างตึกที่ทำการอีกครั้งหนึ่งเต็มตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้ และคณะวิทยาการจัดการ ได้รับการประกาศให้ใช้ “สีม่วงเม็ดมะปราง” เป็นสีประจำคณะ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2523 เป็นต้นมา (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 17 เล่มที่ 97 ตอนที่ 131)
ปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ในสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ต่อมาปี พ.ศ. 2532 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : MBA (เป็นโครงการพิเศษ) ปี พ.ศ. 2533 ได้มีการก่อสร้างอาคารหลังที่สอง เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน (อาคารเรียน 1)
ปี พ.ศ. 2534 มีการขยายการเปิดหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (บธ.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไปยังวิทยาเขตตรัง ปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ในสาขาการจัดการโรงแรมและหลักสูตรพาณิชยนาวี และในปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : MPA (เป็นโครงการพิเศษ) เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ในสาขาอุตสาหกรรมบริการ เป็นเวลา 2 ปี (ปี 2538-2539) ปี พ.ศ. 2541การก่อสร้างอาคารต่อเติมเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน 2 แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายการเปิดหลักสูตรปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : MPA ไปยังวิทยาเขตตรัง (เป็นโครงการพิเศษ) และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 116 ตอนที่ 76 ลงวันที่ 23 กันยายน 2542 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ คณะวิทยาการจัดการ ออกเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการคณะ
2. ภาควิชาบริหารธุรกิจ
3. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
ปีพ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์:ภาคปกติรับนักศึกษา จำนวน 15 คนต่อปี ในปีพ.ศ.2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ(ภาษาอังกฤษ)รับนักศึกษาจำนวน 60 คนต่อปี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี (ต่อเนื่อง) รับนักศึกษาจำนวน 80 คนต่อปี ในปีพ.ศ.2547 ได้จัดตั้งคลินิกวิจัย และศูนย์ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ภาคใต้ (SMIC@PSU) (เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาการจัดการและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (6 สาขา ได้แก่ สาขาการบัญชี สาขาการเงิน สาขาการตลาด สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาการจัดการในอิสลาม) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชานโยบายสาธารณะ สาขาวิชาการบริหารและการปกครองท้องถิ่น และสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ (ภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี (ต่อเนื่อง) ในระดับปริญญาโทเปิดสอน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ในปี พ.ศ.2552 เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (นานาชาติ) และหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ และมีการร่างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการการจัดการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะเปิดสอนได้ปี 2553
คณะผู้บริหารของคณะวิทยาการจัดการปัจจุบัน ประกอบด้วย บุคลากรดังรายนามต่อไปนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ คณบดี
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3. ดร.ณัฐธิดา สุวรรณโณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รท.ดร.เกิดศิริ เจริญวิศาล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา
5. อาจารย์อรรถพร หวังพูนทรัพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
6. ดร.ธนาวุธ แสงกาศนีย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
7. ดร.อนุ เจริญวงศ์ระยับ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมล ส่งวัฒนา หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
10. รองศาสตราจารย์ ดร. อาคม ใจแก้ว ผอ.หลักสูตร ป.เอก สาขาการจัดการ
11. ดร.ชาลี ไตรจันทร์ ผอ.หลักสูตร MPA (ภาคปกติ)
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุพาวดี สมบูรณกุล ผอ.หลักสูตร MBA
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ ผอ.หลักสูตร MPA (ภาคสมทบ)
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เชาวนาศัย ผอ.หลักสูตร IMBA
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จงพิศ ศิริรัตน์ ผอ.หลักสูตร BBA
16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรษมน บุษบงษ์ ผอ.หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
 
==หลักสูตร==