ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่องว่างความกว้างศูนย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''ช่องว่างความกว้างศูนย์''' ('''ZWSP''' ย่อมาจาก zero-width space) คือ[[อักขระควบคุม]]ที่ใชัในการเรียงพิมพ์ เพื่อแสดงขอบเขตของ[[คำ]]สำหรับระบบประมวลข้อความในคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้เพื่อจุดประสงค์ในการเว้นวรรค ปกติแล้วช่องว่างความกว้างศูนย์จะเป็นตัวแบ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เราจะเห็นได้เมื่อ[[การกระจายช่องไฟ|กระจายช่องไฟ]] (justification) ของข้อความอย่างเต็มที่ ในหน้า [[HTML]] ช่องว่างนี้สามารถใช้เป็นจุดตัดแบ่งคำยาว เพื่อให้ขึ้นบรรทัดใหม่ที่จุดตัดเมื่อคำนั้นยาวเกินกว่าบรรทัด แทนที่การใช้แท็กที่ไม่มาตรฐาน <code><wbr></code> อย่างไรก็ตามอักขระนี้ก็ไม่ได้รองรับใน[[เบราว์เซอร์]]ทุกชนิด โดยเฉพาะ[[อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์]]รุ่น 6 หรือต่ำกว่า
 
อักขระนี้เคยใช้เป็นตัวแบ่งในการตัดคำภาษาไทยใน[[ไฟร์ฟอกซ์]]รุ่น 1-2 ซึ่งไม่สามารถตัดคำไทยโดยปกติได้ (ตัดได้เฉพาะตำแหน่งช่องว่าง) โดยจำเป็นต้องติดตั้งแอดออน Mozilla Thai Line-breaking Extension พัฒนาโดย [http://www.osdev.co.th/ โอเพนซอร์สดิเวลอปเมนต์] (Osdev) <ref>[http://web.archive.org/web/20071224021330/http://www.osdev.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=115&Itemid=1 ทดสอบ Thai Line-breaking Extension beta 0.1.1 สำหรับ Windows] เรียกคืนจาก [[Archive.org]] ปัจจุบันไม่มีให้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์หลักแล้ว</ref> หรือแอดออน Thai Words Separator พัฒนาโดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ([[ผู้ใช้:Bact|bact']]) <ref>[https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/2666 Thai Words Separator 0.2.0.1]</ref> ซึ่งแอดออนเหล่านี้จะเข้าไปแทรกช่องว่างความกว้างศูนย์ในข้อความในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถตัดคำได้ ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์รุ่น 3 ไม่ต้องใช้แอดออนเหล่านี้แล้ว สามารถตัดคำได้เป็นปกติ
 
ช่องว่างความกว้างศูนย์มีรหัส[[ยูนิโคด]] U+200B <ref>[http://www.unicode.org/charts/PDF/U2000.pdf Unicode Chart: General Punctuation]</ref> และมี [[HTML เอนทิตี]] เป็น &#8203; บางเบราว์เซอร์ก็รองรับรหัส &zwsp; ด้วย <ref>[http://www.tads.org/t3doc/doc/htmltads/linebrk.htm Word Wrapping and Line Breaking in HTML TADS]</ref>