ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฮโรลด์ พินเทอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 28:
'''ฮาโรลด์ พินเทอร์''' ({{lang-en|Harold Pinter}}) ([[10 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1930]] - ([[24 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 2008]]) ฮาโรลด์ พินเทอร์เป็น[[นักเขียน]] [[กวี]] [[นักเขียนบทละคร]] [[นักเขียนบทภาพยนตร์]] [[ผู้กำกับ]] นักแสดง ผู้มีบทบาททางการเมืองคนสำคัญ[[ชาวอังกฤษ]]ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พินเทอร์เป็นนักเขียนบทละครผู้มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยใหม่ ที่เป็นผลทำให้ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]]ในปี ค.ศ. 2005<ref>[http://www.telegraph.co.uk/culture/culturenews/3949591/Harold-Pinter-one-of-the-most-influential-British-playwrights-of-modern-times.html "Harold Pinter: One of the Most Influential British Playwrights of Modern Times",] ''The Daily Telegraph'', 25 December 2008, accessed 5 May 2009.</ref><ref name=NYTobit>Gussow, Mel and Brantley, Ben.[http://www.nytimes.com/2008/12/26/theater/26pinter.html?_r=1&hp "Harold Pinter, Playwright of the Pause, Dies at 78"], ''The New York Times'', 25 December 2008.</ref>
 
หลังจากที่งานกวีนิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์และการแสดงในละครของโรงเรียนเมื่อยังอยู่ในวัยรุ่น พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพทางการละครในปี ค.ศ. 1951 และได้เดินทางไปแสดงไปทั่วไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพการแสดงกับคณะต่างๆ ทั่วอังกฤษเป็นเวลาราวสิบกว่าปี โดยใช้ชื่อว่า “เดวิด บารอน” ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จากบทละครชิ้นแรก ''[[The Room (play)|The Room]]'' (ค.ศ. 1957) พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพการเป็นนักเขียนต่อมาอีก 50 ปีโดยเขียนบทละคร 29 ชิ้น บทภาพยนตร์ 27 ชิ้น รวมทั้งงานเขียนสำหรับวิทยุและโทรทัศน์, บทกลอน นวนิยายเล่มหนึ่ง เรื่องสั้น บทปาฐกถา และจดหมาย งานเขียนบทละครที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดก็รวมทั้ง ''[[The Birthday Party (play)|The Birthday Party]]'' (ค.ศ. 1957), ''[[The Caretaker]]'' (ค.ศ. 1959), ''[[The Homecoming]]'' (ค.ศ. 1964) และ ''[[Betrayal (play)|Betrayal]]'' (ค.ศ. 1978) แต่ละเรื่องก็ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ งานเขียนบทภาพยนตร์จากงานเขียนของผู้อื่นก็รวมทั้ง ''[[The Servant (film)|The Servant]]'' (ค.ศ. 1963), ''[[The Go-Between (film)|The Go-Between]]'' (ค.ศ. 1970), ''[[The French Lieutenant's Woman (film)|The French Lieutenant's Woman]]'' (1981), ''[[The Trial (1993 film)|The Trial]]'' (ค.ศ. 1993) และ ''[[Sleuth (2007 film)|Sleuth]]'' (ค.ศ. 2007) พินเทอร์กำกับละคร ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ถึง 50 เรื่องและเป็นนักแสดงทั้งทางวิทยุุวิทยุ บนเวที ในโทรทัศน์ และภาพยนตร์ของทั้งงานเขียนของตนเองและผู้อื่น<ref name=BattyDir>Batty, Mark. [http://www.haroldpinter.org/directing/index.shtml "Directing",] ''HaroldPinter.org''. Retrieved 24 June 2009.</ref> แม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น[[มะเร็งหลอดอาหาร]]ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 พินเทอร์ก็ยังคงดำเนินการแสดงบนเวทีและในภาพยนตร์ต่อไป งานแสดงชิ้นสุดท้ายชิ้นสำคัญคือการแสดงคนเดียวบนเวทีในบท[[ซามูเอล เบ็คเค็ทท์]] (Samuel Beckett) ในเรื่อง ''[[Krapp's Last Tape#Harold Pinter|Krapp's Last Tape]]'' สำหรับโอกาสครบรอบ 50 ปีของฤดูการแสดงของ[[โรงละครรอยัลคอร์ท]] (Royal Court Theatre) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006<ref name=NYTobit/>
 
งานเขียนประเภทดรามาของพินเทอร์มักจะเป็นงานที่เกี่ยวกับความขัดแย้งอย่างรุนแรงของตัวละครผู้พยายามหาวิธีแสดงออกทางวาจาและการมีอิทธิพลในการควบคุมเนื้อหาตามทัศนคติที่เกี่ยวกับอดีตของตนเอง ลักษณะการเขียนของงานเหล่านี้แสดงถึงการเขียนที่มีลักษณะเป็นบทละครที่มีจังหวะการหยุด การไม่มีเสียง การแสดงมุขที่ถูกจังหวะ การแฝงนัย และความซ้อนเร้น หัวใจของเรื่องมักจะกำกวมในการเสนอหัวเรื่องที่ซับซ้อนของความเป็นอัตตาที่ถูกกดดันโดยแรงบีบของสังคม ภาษา และ ความทรงจำอันบิดเบือน<ref name=BillingtonETP>Billington, Michael. Introduction, "Pinter: Passion, Poetry, Politics," ''Europe Theatre Prize–X Edition'', Turin, 10–12 March 2006. Cf. Billington, "Memory Man" and "Let's Keep Fighting" (chap. 29 and Afterword), ''Harold Pinter'', pp. 388–430.</ref><ref name=Telegraphobit>[http://www.telegraph.co.uk/news/obituaries/3949227/Harold-Pinter-the-most-original-stylish-and-enigmatic-writer-in-the-post-war-revival-of-British-theatre.html "Harold Pinter: the most original, stylish and enigmatic writer in post-war British theatre"], ''The Daily Telegraph'', 26 December 2008, p. 37. Retrieved 11 July 2009.</ref> ในปี ค.ศ. 1981 พินเทอร์กล่าวว่าไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนงานที่เกี่ยวกับหัวข้อทางการเมืองอย่างจงใจ แต่ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 พินเทอร์ก็เริ่มเขียนบทละครที่เป็นการเมืองที่สะท้อนถึงความสนใจทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นและความเปลี่ยนแปลงในชีวิตส่วนตัว แนวโน้มใหม่และงานเขียนที่หนักไปทางซ้ายทำให้เกิดการวิจารณ์เกี่ยวกับปรัชญาทางการเมืองของพินเทอร์ และกลายเป็นสิ่งที่สร้างงานเขียนที่วิจารณ์มากมายเกี่ยวกับพินเทอร์<ref name=MBG>Merritt, ''Pinter in Play'' xi–xxv, 170–209, 174–75; Billington, ''Harold Pinter'' 286–338; and Grimes, p. 19.</ref>
 
พินเทอร์ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย นอกไปจาก[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]]ที่ได้รับในปี ค.ศ. 2005 แล้วพินเทอร์ก็ยังได้รับ[[รางวัลโทนี]]สำหรับบทละครดีเด่นที่สุดประจำปีในปี ค.ศ. 1967 ในบทละครเรื่อง ''The Homecoming'' ({{lang-th|กลับบ้าน}}) [[รางวัลบาฟต้า]], [[เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เลชียงดอนเนอร์]] และ[[ปริญญากิติมศักดิ์กิตติมศักดิ์]]อีก 20 ปริญญา นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเทศกาล และ การประชุมสัมนาที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พินเทอร์และงานเขียน
 
ในการมอบ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]] [[ราชสถาบันสวีเดน]] (Swedish Academy) กล่าวว่า “[พินเทอร์]ได้รับฐานะว่าเป็นนักเขียนคลาสสิคสมัยใหม่ ที่เห็นได้จากการที่ชื่อของ[พินเทอร์]เข้ามาปรากฏในภาษาในการใช้เป็นคำคุณศัพท์ที่หมายถึงลักษณะหรือบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของบทละครในคำว่า “แบบพินเทอร์“ (Pinteresque)”<ref name=BBN>[http://nobelprize.org/nobel_prizes/literature/laureates/2005/bio-bibl.html "Bio-bibliography"], "The Nobel Prize in Literature 2005", Nobelprize.org, The Swedish Academy, 2005. Retrieved 1 July 2009.</ref> พินเทอร์เสียชีวิตด้วย[[มะเร็งตับ]]เมื่อวันที่ [[24 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 2008]] ในกรุงลอนดอน