ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 81:
|}
 
การโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของความคลั่งทิวลิปของสมัยใหม่เริ่มขึ้นในหนังสือชื่อ ''Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน)'' ที่เขียนในปี ค.ศ. 1841 โดยนักเขียนวรสารหนังสือพิมพ์ชาวสกอตชื่อ [[ชาร์ลส์ แม็คเคย์]] แม็คเคย์เสนอว่ามหาชนมักจะแสดงพฤติกรรมอันขาดเหตุผล ความคลั่งทิวลิป หรือ[[เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี]]ของอังกฤษ หรือแผนการล่อนักลงทุนของ[[บริษัทมิสซิสซิปปี]]ของฝรั่งเศสต่างก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมดังกล่าว
 
แม็คเคย์บรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลจากงานเขียน “ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1797 โดย[[โยฮันน์ เบ็คมันน์]] เป็นส่วนใหญ่ และในงานเขียนของเบ็คมันน์ก็ใช้จุลสารอีกสามเล่มที่เขียนโดยนักประพันธ์นิรนามที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1637 ที่เป็นเอกสารที่มีจุดประสงค์เบื้องหลังของการเขียนเพื่อการต่อต้านการเก็งกำไร เป็นแหล่งข้อมูลอีกทีหนึ่ง<ref>{{Harvnb|Garber|1990|p=37}}</ref> หนังสือของแม็คเคย์ที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้งเป็นที่นิยมกันโดยนักเศรษฐศาสตร์และบรรดาผู้มีบทบาทในการค้าขายหุ้นอยู่หลายชั่วคน และความเป็นที่นิยมนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อมา แม้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของสภาวะ[[ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่|ฟองสบู่ของการเก็งกำไร]]จะมีความบกพร่อง และแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานหลายประการของหนังสือไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม<ref>{{Harvnb|Garber|1990|p=37}}</ref>
บรรทัด 90:
 
{{quote|
มีผู้คนหลายคนที่ร่ำรวยขึ้นมาอย่างกระทันหันกะทันหัน เมื่อมีเหยื่อทองห้อยล่อใจอยู่ตรงหน้า ก็ทำให้คนแล้วคนเล่าก้าวเข้าไปร่วมในการค้าขายในตลาดทิวลิปเหมือนกับแมลงวันที่บินรอบน้ำผึ้ง ต่างคนต่างก็คิดว่าความคลั่งทิวลิปจะไม่มีวันจบสิ้น ต่างคนต่างก็พยายามซื้อทิวลิปไม่ว่าจะด้วยราคาใดที่เรียกร้อง และต่างก็เชื่อกันว่าความนิยมนี้จะทำให้ความมั่งคั่งจากส่วนต่างๆ ของโลกหลั่งไหลเข้ามายังเนเธอร์แลนด์ ผู้คนที่มั่งคั่งในยุโรปต่างก็พากันมายังซุยเดอร์เซ (Zuyder Zee) ความยากจนก็จะอันตรธานไปจากความรุ่งเรืองของเนเธอร์แลนด์ ขุนนาง พ่อค้า เกษตรกร ช่างเครื่องยนต์ กะลาสี คนรับใช้ของขุนนาง หญิงรับใช้ และแม้แต่คนกวาดปล่องไฟหรือหญิงแก่ช่างตัดเสื้อจึงต่างก็เข้ามาร่วมค้าขายหัวทิวลิปด้วยกันทั้งสิ้น<ref name=Chap3/>}}
 
[[ไฟล์:Pamphlet dutch tulipomania 1637.jpg|thumb|240px|จุลสารเกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของเนเธอร์แลนด์ที่พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1637]]