ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ได้มาพำนักที่'''วัดเทพศิรินทราวาส''' ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี '''สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)''' เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ [[วัดเทพศิรินทราวาส]] และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ โดย '''สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)''' เป็นพระอุปัชฌาย์ '''พระอุดมศีลคุณ''' (อินทร อคฺคิทตฺตเถร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ '''พระครูวินัยธรเพ็ชร''' (ปภงฺกรเถร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มี '''หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์''' พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า[[กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ทรงเป็นอุปัฏฐากเจ้าภาพบวช ณ พัทธสีมา วัดเทพศิรินทราวาส ได้ฉายาว่า '''"สนฺตงฺกุโร"''' ซึ่งแปลว่า หน่อหรือเชื้อสายหรือทายาทของผู้สงบ และได้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาสตลอดมา
 
สมเด็จพระญาณวโรดมได้เริ่มศึกษาเมื่ออายุราว ๖ ขวบโดยมีบิดาเป็นผู้สอน ต่อมาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอประจันตคาม เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๘ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ครั้งนั้นชั้น ป.๕ เป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาในอำเภอนั้น เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วได้ศึกษาด้านปริยัติศึกษาแผนกธรรม ได้นักธรรมชั้นเอก และแผนกบาลี ได้ ป.ธ.๙ สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เคยศึกษากับนาคะประทีบ ร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นกันคืออาจารย์[[สุชีพ ปุญญานุภาพ]] และ สมเด็จพระวันรัต (นิรันดร์ นิรนฺตโร ป.ธ.๙) จนแตกฉานในวรรณคดีสันสกฤต
 
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ทรงพระกรุณาโปรด ฯ สถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่ '''สมเด็จพระญาณวโรดม ''' ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
 
==ผลงานทางวิชาการ==
*ชุดแบบเรียนไวยากรณ์สันสกฤต ๕ เล่ม จัดพิมพ์โดย[[มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย]] ในพระบรมราชูปถัมภ์
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระราชาคณะ]]
[[หมวดหมู่:วัดเทพศิรินทราวาส]]