ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวลโคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
ความแน่นเหนียวในการเกาะติดของแถบเวลโครนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะการเกาะของขอเกี่ยวว่าเข้าไปเกี่ยวห่วงได้ดีขนาดไหน และ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงในการดึงจากกัน ถ้าหากแถบเวลโครนี้ใช้การยึดติดวัสดุผิวแข็งเกร็ง แรงยึดเหนี่วจะแน่นเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะของแรงในการดึงออกนั้นจะกระจายออกอย่างสม่ำเสมอเป็นบริเวณกว้าง คือต้องดึงให้ขอเกี่ยวเป็นจำนวนมากหลุดออกพร้อมกัน ส่วนการปะติดนั้นอาจทำให้เกาะเกี่ยวได้แน่นหนาขึ้นด้วยการใช้การสั่นสะเทือนเข้าช่วย
 
ในทางตรงกันข้าม หากแถบเวลโครนี้ใช้ในการยึดวัสดุที่อ่อนตัว โค้งงอได้ การดึงให้แถบเวลโครหลุดจากกันก็จะง่ายขึ้น โดยเป็นการดึงในลักษณะเดียวกับการปลอกปอก หรือ ลอกออก ซึ่งเป็นการทำให้ขอเกี่ยวหลุดออกที่ละน้อย หากการดึงเป็นการดึงในลักษณะให้หลุดพร้อม ๆ กันในแนวขนานกับแถบ ก็จะต้องใช้แรงดึงมากในลักษณะเดียวกับวัสดุผิวแข็งเกร็ง
 
วิธีการในการเพิ่มความแน่นของการยึดเกาะด้วยเวลโคร ซึ่งมีแถบใดแถบหนึ่ง หรือทั้งสองแถบติดกับวัสดุอ่อนตัว คือ
* เพิ่มพื้นที่ของแถบเวลโคร
* ออกแบบให้แรงที่แถบเวลโครพยายึดเกาะนั้นมีแนวแรงขนานกับแถบ เช่น การออกแบบให้แถบแปะโค้งผ่านมุมหักงอ ตัวอย่างเช่น ที่ใช้กับรองเท้านั้นออกแบบให้ แถบเวลโครนั้นพันผ่านห่วงโลหะกลับมาแปะ ซึ่งทำให้แรงดึงนั้น มีแนวขนานกับแถบ
 
== ข้อดี และ ข้อเสีย ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เวลโคร"