ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันพระปกเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pastman (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
== ข้อความหัวเรื่อง ==
'''สถาบันพระปกเกล้า''' (King Prajadhipok's Institute) เป็นองค์การมหาชนอิสระทางวิชาการในกำกับของประธานรัฐสภา โดยมีสภาสถาบันพระปกเกล้าเป็นองค์กรบริหารสูงสุด ขอบข่ายการดำเนินงานของสถาบันพระปกเกล้าเกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิชาการ ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่องของการวิจัย การจัดการศึกษา อบรม และเผยแพร่ให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย และการเมืองการปกครอง รวมทั้งให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการบริหารปกครองบ้านเมืองที่ดี ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบงานเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ ต่างประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน
 
 
== ประวัติสถาบันพระปกเกล้า ==
ในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก]] พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]] แก่ปวงชนชาวไทยได้เวียนมาบรรจบเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ศาสตรจารย์มารุต บุนนาค ประธาน[[รัฐสภา]]ในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่งรัฐสภาที่ ๑๒/๒๕๓๖ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป้นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการพิจารณากำหนดรูปแบบและพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้สถาบันนี้สามารถดำเนินกิจการได้ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อจัดทำโครงร่างงบประมาณแผนงานการจัดตั้ง และกำหนดชื่อสถาบัน และได้เดินทางไปดูกิจการศึกษาเผยแพร่ประชาธิปไตยที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานผลการศึกษาโครงการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าเสนอ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และในวันเดียวกันได้มีคำสั่งรัฐสภาที่ ๕/๒๕๓๗ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นในรัฐสภา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาเป็นชื่อของสถาบัน และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "King Prajadhipok's Institute" ต่อมา ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ได้มีประกาศรัฐสภาเรื่องแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๕) เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้จัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกอง สังกัดสำนัก งานเลขาธิการ[[สภาผู้แทนราษฎร]] โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม สัมมนา การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติ การจัดทำเอกสารและสื่อการสอน ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการฝึกอบรม งานเตรียมการปรับปรุงสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานระดับกรมและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย การดำเนินการของสถาบันให้อาศัยระเบียบการบริหารการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการ ๒ คณะ คือ คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้า และคณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดูแล
 
 
ในการดำเนินงานเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าจากหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งที่ ๑/๒๕๓๘ เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อยกฐานะสถาบันพระปกเกล้าเป็นกรม ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๘ โดยมี นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นประธานคณะอนุกรรมการ
 
และในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ครั้งที่ ๖/๒๕๔๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เมื่อวันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ... ตามที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๕๕ ตอนที่ ๕๗ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๑ เป็นต้นไป โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเป็นประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า คนแรกและมีศาสตราจารย์ ดร.[[บวรศักดิ์ อุวรรณโณ]] เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าคนแรก
 
== ลิงค์ลิงก์ภายนอก ==
[http://www.kpi.ac.th/ สถาบันพระปกเกล้า]
 
[[หมวดหมู่:องค์กรอิสระ]]
 
[[หมวดหมู่:กฎหมาย]]
== ลิงค์ภายนอก ==
[http://www.kpi.ac.th/ สถาบันพระปกเกล้า]