ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahoerstemeier (คุย | ส่วนร่วม)
wrong UNESCO link
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
==ประวัติการขุดค้นพบทางโบราณคดี==
ในปี [[พ.ศ. 2503]] หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่นได้เข้ามาสำรวจบ้านเชียง และ รับรู้เรื่องราวการพบ[[วัตถุโบราณ]]จากชาวบ้าน แต่ก็มิได้ทำการอันใด จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2510]] จึงได้มีนักโบราณคดีจากกองโบราณคดีมาขุดสำรวจเป็นครั้งแรก บริเวณตรงข้ามกับวัดโพธิ์ศรีใน ซึ่งก็พบหลักฐานพวก[[เครื่องปั้นดินเผา]] เครื่องใช้ที่ทำจากเหล็กและสำริด รวมทั้งโครงกระดูกจำนวนมาก หลังจากนั้น อีก 2 ปีต่อมาเราถึงได้รู้ว่าเศษภาชนะเหล่านั้นมีอายุระหว่าง 6,933 - 5,793 ปีมาแล้ว สำหรับการขุดค้นในปี [[พ.ศ. 2515]] [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] ได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วย อย่างไรก็ตาม ข่าวภาชนะดินเผาอายุหลายพันปีที่บ้านเชียงก็สร้างความตื่นเต้นไม่เพียงในหมู่นักโบราณคดี หากแต่เย้ายวนบรรดานักล่าสมบัติและชาวบ้านทั้งหลาย จนต้องออกประกาศกฎหมายห้ามขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงครองคลุมพื้นที่ถึง 9 ตำบล
 
การสำรวจอย่างจริงจังครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี[[ พ.ศ. 2517]] - 2518 เมื่อกรมศิลปากร และ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยของ [[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ร่วมการขุดค้นที่บ้านเชียงอย่างละเอียด
บรรทัด 27:
# '''ภาชนะดินเผาสมัยต้น''' อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย
# '''ภาชนะดินเผาสมัยกลาง''' อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว
# '''ภาชนะดินเผาสมัยปลาย''' อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิศดารพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน
 
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}