ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวลโคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 2:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ภาพ:Velcro.jpg|thumb|350px|เวลโคร]]
'''เวลโคร''' (Velcro) เป็น[[ชื่อทางการค้า]] ของแถบสำหรับปะยึด โดยมีลักษณะเป็นแถบ ตะขอ และ ห่วง 2 แถบ ภาษาไทยเรียกแถบชนิดนี้ว่า ''ตีนตุ๊กแก''
 
== ประวัติ ==
เวลโคร คิดค้นขึ้นโดย[[วิศวกร]]ชาว[[สวิสเซอร์แลนด์]] ชื่อ [[จอร์จ เดอ เมสทราล]] ([[:en:Georges de Mestral|Georges de Mestral]]) ในปี ค.ศ. 1948 เขาได้แนวความคิดจากการสังเกตเมล็ดเบอร์ ([[:en:burr|burr]]) ซึ่งเป็นเมล็ดพืชมีหนาม ชอบติดตามเสื้อผ้า มักจะติดบนตัวสุนัขของเขา ในระหว่างที่เดินเล่นในบริเวณ[[เทือกเขาแอลป์]] ([[:en:Alps|Alps]]) เขาได้ตั้งชื่อสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ของเขาตามคำ[[ภาษาฝรั่งเศส]] "velours" หมายถึง ผ้าฝ้าย หรือ กำมะหยี่ และ "crochet" หมายถึง ห่วง
 
== ส่วนประกอบ ==
 
เวลโคร ประกอบจากแถบ 2 ด้านคือ ด้านที่เป็นขอเกี่ยว ซึ่งเป็นแผ่นที่เต็มไปด้วยขอเกี่ยวพลาสติกเล็ก ๆ จำนวนมาก และอีกด้านที่เป็นห่วง ทำจากเส้นใยพลาสติกวงเป็นห่วงเล็ก ๆ จำนวนมาก. นอกจากนี้แล้ว เวลโครยังอาจเป็น ตะขอทั้งสองด้าน กลุ่มคนบางกลุ่มเรียกด้านทั้งสองของเวลโคร นี้ว่า "posi-cro and neg-cro" แต่ก็ไม่มีใครรู้เป็นที่แน่นอนว่าด้านไหนชื่ออะไร เมื่อด้านทั้งสองของเวลโครนี้ถูกประกบกดเข้าด้วยกัน ด้านที่เป็นขอก็จะเกี่ยวห่วงของอีกด้าน ซึ่งทำให้ด้านทั้งสองประกบติดกัน เมื่อทำการดึงด้านทั้งสองให้หลุดจากกันจะมีเสียงดังคล้ายผ้าฉีกขาด เนื่องจาก "เวลโคร" นี้เป็นชื่อจดทะเบียนทางการค้า ชื่อโดยทั่วไปที่ใช้เรียกอุปกรณ์นี้คือ "hook and loop" แต่ชื่อ "เวลโคร" นี้เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากกว่า คนโดยทั่วไปจึงใช้คำ "เวลโคร" นี้เป็นคำติดปากใช้หมายถึงอุปกรณ์นี้โดยทั่วไป
 
== การใช้งาน ==
 
ความแน่นเหนียวในการเกาะติดของแถบเวลโครนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะการเกาะของขอเกี่ยวว่าเข้าไปเกี่ยวห่วงได้ดีขนาดไหน และ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงในการดึงจากกัน ถ้าหากแถบเวลโครนี้ใช้การยึดติดวัสดุผิวแข็งเกร็ง แรงยึดเหนี่วจะแน่นเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะของแรงในการดึงออกนั้นจะกระจายออกอย่างสม่ำเสมอเป็นบริเวณกว้าง คือต้องดึงให้ขอเกี่ยวเป็นจำนวนมากหลุดออกพร้อมกัน ส่วนการปะติดนั้นอาจทำให้เกาะเกี่ยวได้แน่นหนาขึ้นด้วยการใช้การสั่นสะเทือนเข้าช่วย
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เวลโคร"