ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคหัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
กล่องข้อมูล
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล โรค
[[ภาพ:H9991083.jpg|thumb|right|ภาพผิวของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัด]]
| Name = หัด<br> (Measles)
 
| ICD10 = {{ICD10|B|05||b|00}}.-
| ICD9 = {{ICD9|055}}
| Image = H9991083.jpg
[[ภาพ:H9991083.jpg|thumb|right| Caption = ภาพผิวผิวหนังของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัด]]
| DiseasesDB = 7890
| MedlinePlus = 001569
| eMedicineSubj = derm
| eMedicineTopic = 259
| eMedicine_mult = {{eMedicine2|emerg|389}}
| eMedicine_mult = {{eMedicine2|ped|1388}} |
}}
'''โรคหัด''' (Measles/Rubeola) พบมากในเด็กอายุ 2-14 ปี มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6-8 เดือน เนื่องจากยังมี[[ภูมิต้านทาน]]ที่ได้รับจากแม่ตั้งอยู่ในครรภ์ เป็นโรคที่แพร่หลายได้รวดเร็วมาก มักจะพบในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็อาจพบได้ประปรายตลอดปี
 
== สาเหตุ ==
เกิดจากเชื้อ[[ไวรัสรูบิโอลา]] (rubeola virus) ซึ่งจะพบมากในน้ำลายของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน '''ระยะฟักตัว 9-11 วัน'''
== อาการ ==
มีอาการตัวร้อนขึ้นทันทีทันใด ในระยะแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ผิดกันตรงที่จะมีไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ลด เด็กจะซึม กระสับกระส่าย ร้องกวน เบื่ออาหาร มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ น้ำตาไหล ไม่สูงแสง หนังตาบวม จะมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดินในระยะก่อนที่จะมี[[ผื่น]] หรืออาจชักจากไข้สูง'''ผื่นของหัดจะขึ้นจากตีนผม ซอกคอก่อน แล้วลามไปตามใบหน้าลำตัวและแขนขา'''
ลักษณะเฉพาะของหัดคือจะมีผื่นขึ้นหลังมีไข้ 3-4 วัน มักจะขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ เป็นผื่นเท่าหัวเข็มหมุดที่ตีนผมก่อนและซอกคอ ผื่นนี้จะจางหายได้เมื่อดึงรั้งผิวหนังให้ตึง เป็นแผ่นกว้าง รูปร่างไม่แน่นอน อาจมีผื่นคันเล็กน้อย ผื่นจะไม่จางหายไปในทันที จะจางหายไปใน 4-7 วัน และจะเหลือให้เห็นเป็นรอยสีน้ำตาล บางราย
== สิ่งตรวจพบ ==
ไข้ 38.5-40.5 องศาเซลเซียส หน้าแดง ตาแดง หน้าตาบวมคู่ เปลือกตาแดง ระยะ 2 วันหลังมีไข้ พบจุดสีขาวๆ เหลืองๆ ขนาดเล็ก คล้ายเม็ดงาที่กระพุ้งแก้มบริเวณใกล้ฟันกรามล่าง เรียกว่า'''จุดค็อปลิก (Koplik's spot) ''' ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหัด หลังไข้ขึ้น 3-4 วันจะพบผื่นที่หน้า ซอกคอ ลำตัว หลังหู ปอดจะมีเสียงปกติ ยกเว้นถ้ามีโรคปอดอักเสบแทรก เมื่อใช้เครื่องฟังจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)
 
== อาการแทรกซ้อน ==
มักจะพบในเด็กขาดสารอาหารร่างกายอ่อนแอ ที่พบบ่อยคือ ปอดอักเสบ ท้องเดิน ซึ่งมักจะพบหลังผื่นขึ้น หรือไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว ที่รุนแรงถึงตายได้ คือ สมองอักเสบ นอกจากนี้ ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงมีโอกาสเป็น[[วัณโรคปอด]]ได้ง่ายขึ้น
== การรักษา ==
# ปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ พักผ่อนมากๆ ไม่อาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบตัวเมื่อมีไข้สูง ดื่มน้ำและน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ให้มากๆ
# ให้ยารักษาตามอาการ เช่นยาลดไข้ Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) เด็กให้ชนิดน้ำเชื่อม (120 มิลลิกรัมต่อช้อนชา ) เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ครั้ง ครึ่งช้อนชา อายุ 1-4 ปี ให้ 1 ช้อนชา
# ห้ามใช้[[ยาปฏิชีวนะ]] ตั้งแต่ระยะแรกเพราะไม่มีความจำเป็น
# ถ้ามีอาการไอมีเสลดข้นหรือเขียว ไอ ปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) หรือเสียงอีด ให้ยา Amoxycillin ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน เด็กให้วันละ 30-50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือแบ่งให้ตามน้ำหนักตัว หรือให้ Erythromycin ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
== ข้อแนะนำ ==
# ควรแยกผู้ป่วย ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
# โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง พบภาวะแทรกซ้อนเป็นส่วนน้อย
# ไม่มีของแสลง กินอาหารที่มีประโยชน์ บำรุง ได้ตามปกติ
== การป้องกัน ==
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยรับการฉีด[[วัคซีน]] เมื่ออายุ 9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป วัคซีนมีทั้งชนิดเดี่ยว และรวมกับ[[หัดเยอรมัน]]และ[[คางทูม]] (MMR) '''ขอรับการฉีดได้ที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลทั่วไป'''
== อ้างอิง ==
ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป : นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ
 
 
{{โครงแพทย์}}
 
[[หมวดหมู่:โรค|หัด]]
[[หมวดหมู่:โรคติดต่อ|หัด]]
{{โครงแพทย์}}
 
{{Link FA|de}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โรคหัด"