ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lookruk (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9913951 โดย BotKung (พูดคุย) ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
'''วัด''', '''อาวาส''' หรือ '''อาราม''' คือคำเรียก[[ศาสนสถาน]]ของ[[ศาสนาพุทธในประเทศไทย]] [[กัมพูชา]] และ[[ลาว]] เป็นที่อยู่ของ[[ภิกษุ]] และประกอบศาสนกิจของ[[พุทธศาสนิกชน]] ภายในวัดมี[[วิหาร]] [[อุโบสถ]] [[ศาลาการเปรียญ]] [[กุฏิ]] [[เมรุ]] ซึ่งใช้สำหรับประกอบ[[ศาสนพิธี]]ต่าง ๆ เช่น [[การเวียนเทียน]] การสวด[[พุทธมนต์]] [[การทำสมาธิ]]
 
วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสองส่วนคือ พุทธาวาส และสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูป[[เจดีย์]] [[อุโบสถ]] สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับ[[ภิกษุ]][[สามเณร]]จำพรรษา และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม
 
== ประเภท ==
[[ไฟล์:Buddharama Nukari.jpg|thumb|ภายในวัดไทยใน นุคาริ, นูร์มิยาร์วิ, [[ฟินแลนด์]]]]
ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 จำแนกวัดเป็น 2 อย่าง คือ
* สำนักสงฆ์ คือ วัดที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัด รวมถึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]] จึงใช้เป็นที่อยู่พระสงฆ์ได้ แต่ในทางพระวินัยยังไม่สามารถสังฆกรรมได้
* วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดที่เลื่อนฐานะจากสำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว พร้อมใช้ทำสังฆกรรมตามพระวินัย ได้ทุกประการ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา แบ่งออกเป็น พระอารามหลวงและวัดราษฎร์
**'''วัดราษฎร์''' คือวัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้าบัญชีเป็นพระอารามหลวง<ref>{{Cite book|publisher=[[ราชบัณฑิตยสถาน]]|title=[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554]] เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|place=กรุงเทพฯ|date=2556|page=1104}}</ref>
**'''[[พระอารามหลวง]]''' หรือ '''วัดหลวง''' คือวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง
พระอารามหลวงมี 3 ชั้น<ref>{{Cite book|publisher=ราชกิจจานุเบกษา|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF|title=ประกาศกระทรวงธรรมการ พแนกกรมสังฆการี เรื่องจัดระเบียบพระอารามหลวง|volume=32|date=3 ตุลาคม 2458}}</ref> ได้แก่
# ชั้นเอก มี 3 ชนิด ได้แก่ ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร และวรมหาวิหาร
# ชั้นโท มี 4 ชนิด ได้แก่ ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร วรมหาวิหาร และวรวิหาร
# ชั้นตรี มี 3 ชนิด ได้แก่ ราชวรวิหาร วรวิหาร และสามัญ (ไม่มีสร้อยต่อท้าย)
 
==องค์ประกอบ==
รูปแบบและองค์ประกอบศิลปกรรมของวัดในแต่ละยุคและท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไปบ้าง เช่น อิทธิพลทางศิลปะ คตินิยม วัสดุท้องถิ่น แต่ทั่วไปจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
* เขตพุทธาวาส คือ ขอบเขตที่กำหนดไว้สำหรับให้พระสงฆ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ประกอบด้วย [[เจดีย์]]หรือ[[สถูป]] [[มณฑป]] [[อุโบสถ]] [[วิหาร]] [[หอระฆัง]] [[ศาลา]] เป็นต้น บริเวณล้อมรอบพระวิหารและพระอุโบสถมักมีพื้นที่กว้างสำหรับใช้ในกิจพิธีต่าง ๆ เช่น การแห่ประทักษิณ เป็นต้น โดยทั่วไปพระวิหารและพระอุโบสถส่วนมากมักมีรูปทรงเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสมอ มีคำอธิบายว่ามีความเกี่ยวข้องกับ[[พุทธประวัติ]] ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ โดยพระองค์ทรงประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก สอดคล้องกับพระพุทธรูปประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถที่มักเป็น[[ปางมารวิชัย]]ในตอนผจญมารก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ลักษณะการวางผังอุโบสถและวิหารนี้เหมือนกันทั้งภาคพื้นทวีปของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]<ref>{{cite web |title=ศิลปกรรมพระอุโบสถและพระวิหารในเมืองพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 25 |url=http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1155/1/58107208.pdf |publisher=มหาวิทยาลัยศิลปากร|author=Sirang Leng}}</ref>
* เขตสังฆาวาส คือ พื้นที่ซึ่งกำหนดให้เป็นที่พักอาศัยและกระทำกิจวัตรของพระสงฆ์ที่ไม่ข้องกับพิธีการทางศาสนาโดยตรง เช่น [[กุฏิ]] หอฉัน วัจจกุฎี [[ศาลาการเปรียญ]] [[หอไตร]] ศาลาท่าน้ำ เป็นต้น
* เขตธรณีสงฆ์ คือ เขตที่ดินของวัดนอกเหนือจากเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เป็นพื้นที่วัดที่ใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น เมรุ สุสาน [[โรงเรียน]]
 
==สาเหตุการสร้างและปฏิสังขรณ์==
วัดเริ่มมีครั้งแรกใน[[ประเทศอินเดีย]] เพื่อเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจดีย์และเป็นที่พักพระสงฆ์ [[วัดเวฬุวัน]]ถือเป็นพระอารามหรือวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันอยู่ใน[[รัฐพิหาร]] [[ประเทศอินเดีย]] จากนั้นอุบาสกอุบาสิกาอื่น ๆ ในที่ต่าง ๆ ได้สร้างวัดถวาย เช่น พระเชตะวันมหาวิหาร ของอนาถปิณฑิก เศรษฐีบุพพารามของนางวิสาขา อัมพปาลีวัน ของนางอัมพปาลี ในเมืองสาวัตถี วัดโฆสิตตาราม ของพระเจ้าอุเทน เมืองโกสัมภี เป็นต้น<ref>{{cite web |author1=พระสิทธินิติธาดา |title=สถานภาพทางกฎหมายของวัดที่มิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ |url=http://135.181.38.202:8080/jspui/bitstream/123456789/72/1/2557-117%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%2C%20%E0%B8%94%E0%B8%A3.pdf}}</ref>
 
สำหรับการสร้างวัดในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยศิลปะ[[ทวาราวดี]] ในพุทธศวรรษที่ 12–16 บ้างสันนิษฐานว่า [[วัดเขาทำเทียม]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นวัดแห่งแรกของประเทศไทย<ref>{{cite web |title=พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ วัดเขาทำเทียม |url=https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/670 |publisher=กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา}}</ref>
 
ใน[[ประเทศกัมพูชา]] พบหลักฐานการสร้างพระวิหารในพุทธศาสนานิกาย[[เถรวาท]]ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ในรัชสมัยของพระเจ้าสรินทรวรมัน หลักฐานจากศิลาจารึก k.754 ได้กล่าวถึงพระราชบัญชาของพระเจ้าสรินทรวรมันที่ทรงสั่งให้สร้างพระวิหารและพระพุทธรูปสำหรับเคารพบูชาในปี พ.ศ. 1851<ref>George Cœdès. "La Plus Ancienne Inscription En Pali Du Cambodge." Translated by Ang Choulean. In Udaya, (Phnom Penh: Fiends of Khmer Culture, 2008), 115-127.</ref>
 
วัดในระยะแรกมีจุดประสงค์ 2 อย่าง คือ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ เรียกว่า ''วัดพุทธเจดีย์'' อีกประการหนึ่งคือ สร้างเพื่อเป็น ''วัดอนุสาวรีย์'' ได้แก่สถูปเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา ต่อมาวัตถุประสงค์การสร้างเริ่มขยายออกไป แต่มีสาเหตุสำคัญ คือ ความเชื่อในเรื่อง[[กรรม]] [[ไตรภูมิ]] และยุค[[พระศรีอริยเมตไตรย]]ตามคำสอนในคัมภีร์ศาสนา กล่าวคือ การทำบุญที่ได้ผลบุญมากที่สุดคือการสร้างวัด
 
ปัจจัยการสร้างวัดและบูรณะปฏิสังขรณ์อื่น ๆ ได้แก่ สร้างเพื่อแสดงความรุ่งเรืองของอาณาจักร เพื่อเป็นอนุสรณ์สงคราม เพื่อสะดวกในการทำบุญ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานศึกษา สร้างเพื่อความศรัทธาในภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรืออาจเป็นค่านิยม อย่าง ความนิยมสร้างวัดประจำรัชกาล วัดประจำตระกูล สร้างเป็นอนุสรณ์และอุทิศส่วนกุศล เป็นต้น<ref>{{cite web|url=http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/1449/Fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y|title=ความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในวัดราษฎร์ริมคลองสามเสน|author=ภัทราวรรณ บุญจันทร์|publisher=มหาวิทยาลัยศิลปากร}}</ref>
 
== วัดประจำพระราชวังในประเทศไทย ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วัด"