ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46:
}}
 
าบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313<ref>_________________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า 49-51</ref>{{โครงส่วน}}<!-- ไม่มีประวัติตั้งแต่ปี 2313-2324 -->
'''อาณาจักรธนบุรี''' เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 ระยะเวลา 15 ปี มี[[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ภายหลัง[[อาณาจักรอยุธยา]]ล่มสลายไปพร้อมกับ[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] ทว่า ในเวลาต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ [[กรุงเทพมหานคร]]ในปัจจุบัน
 
== ประวัติ ==
 
=== การกอบกู้เอกราช ===
{{บทความหลัก|การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก}}
 
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่าง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|สงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]]<ref>{{cite book|title=Columbia Chronologies of Asian History and Culture|author=John Bowman|publisher=Columbia University Press|pages=514|isbn=0231110049}}</ref> พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมือง[[นครนายก]] เมือง[[ปราจีนบุรี]] [[พัทยา]] [[สัตหีบ]] [[ระยอง]] โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้เป็น "เจ้า"<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). '''บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น'''. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5 </ref> และตีจนได้เมือง[[จันทบุรี]]และ[[ตราด]] เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310<ref name=DamrongRajanubhab385>[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. (2463). '''ไทยรบพม่า'''. มติชน. น. 385</ref>
 
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมี[[นายทองสุก|สุกี้]]เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้าน[[ค่ายโพธิ์สามต้น|โพธิ์สามต้น]] พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
 
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. (2548). '''สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 55</ref> และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนบุรี<ref>ภัทรธาดา, '''เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี''' (ชลบุรี:พฤษภาคม ๒๕๒๔) หน้า ๙-๑๐.</ref> <!--เนื่องจากทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงจนไม่อาจปฏิสังขรณ์ได้กลับคืนดังเดิม โดยเรียกนามว่า ''กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร'' ส่วนสาเหตุที่ทรงเลือกนั้นเป็นเพราะว่าเมืองธนบุรีมีขนาดเล็กและชัยภูมิ มีปราการป้องกันเข้มแข็ง ทำให้ข้าศึกรุกรานได้ยาก และยังสามารถใช้เป็นสถานที่หลบหนีไปตั้งหลักยังเมืองจันทบุรีได้ทางเรือได้อีก<ref>{{cite book|title=นิราศพระบาท|year=2550|author=[[สุนทรภู่]]|publisher=กองทุน|pages=123-124|isbn=9789744820648}}</ref>-->
 
=== การรวมชาติและการขยายตัว ===
{{ดูเพิ่มที่|สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี}}
[[ไฟล์:แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย.jpg|thumb|200px|right|แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]
ครั้งเมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]แห่ง[[อาณาจักรพม่า]]ทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง<ref>[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. (2463). '''ไทยรบพม่า'''. มติชน. น. 411-414</ref>
 
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]สู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311<ref>นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 158.</ref> เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ ''นักองราม'' เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ ''กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท'' เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 159.</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมือง[[เสียมราฐ]] และเมือง[[พระตะบอง]] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
 
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมือง[[สวางคบุรี]]ได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ 2 เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313<ref>_________________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า 49-51</ref>
 
{{โครงส่วน}}<!-- ไม่มีประวัติตั้งแต่ปี 2313-2324 -->
 
=== การสิ้นสุด ===