ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคิดเชิงออกแบบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 2:
 
กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา
 
== ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ ==
 
=== '''การเข้าใจปัญหา''' ===
เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ที่ต้องเน้นการทำความเข้าใจต่อผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (insight) เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตั้งคำถามปลายเปิดหรือสมมติฐานที่ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาให้ชัดเจน โดยการเลือกและสรุปกรอบแนวทางความเป็นไปได้<ref name=":0">Brown, T. Wyatt, J. 2010. Design thinking for social innovation. Stanford social innovation review.</ref>
 
=== การสร้างสรรค์ความคิด ===
การระดมความคิดใหม่ (ideate) อย่างไม่มีขีดจำกัด ให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด ในรูปแบบการระดมสมอง (brainstorm)<ref>An introduction to design thinking, dschool.stanford.edu.</ref><ref>Kelley T. Littman J, 2005, The Ten Faces of Innovation</ref> และนำไปสู่การประเมิน (idea evaluation) เลือกความคิดที่อยู่ภายใต้กรอบแนวทางความเป็นไปได้ ซึ่งอาจมีการซ้ำหลายรอบ<ref name=":0" />
 
ความคิดแปลกใหม่ที่อยู่นอกกรอบแนวทางความเป็นไปได้ อาจถูกบันทึกและนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการอื่นๆได้
 
=== การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา ===
การสร้างแบบจำลอง (prototype) ที่สื่อสารแนวคิดที่ดีที่สุดออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์แนวคิด และนำไปทดสอบกับผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายเพื่อสังเกตประสิทธิภาพและความคิดเห็นจากการใช้งาน<ref name=":0" /> โดยการรวบรวมผลตอบรับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป ซึ่งอาจผ่านการทดสอบซ้ำหลายครั้ง<ref>designandthinking, Mu Ming Tsai,2012, Film</ref>ขึ้นกับความซับซ้อนของโซลูชั่น
 
แบบจำลองช่วยในการรวบรวมความคิดเห็นและปรับปรุงแนวคิด ช่วยให้เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของโซลูชั่นใหม่
 
== อ้างอิง ==