การคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ (อังกฤษ: design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) และมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์

กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา

ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ แก้

การเข้าใจปัญหา แก้

เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ที่ต้องเน้นการทำความเข้าใจต่อผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (insight) เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตั้งคำถามปลายเปิดหรือสมมติฐานที่ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาให้ชัดเจน โดยการเลือกและสรุปกรอบแนวทางความเป็นไปได้[1]

การสร้างสรรค์ความคิด แก้

การระดมความคิดใหม่ (ideate) อย่างไม่มีขีดจำกัด ให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด ในรูปแบบการระดมสมอง (brainstorm)[2][3] และนำไปสู่การประเมิน (idea evaluation) เลือกความคิดที่อยู่ภายใต้กรอบแนวทางความเป็นไปได้ ซึ่งอาจมีการซ้ำหลายรอบ[1]

ความคิดแปลกใหม่ที่อยู่นอกกรอบแนวทางความเป็นไปได้ อาจถูกบันทึกและนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการอื่นๆได้

การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา แก้

การสร้างแบบจำลอง (prototype) ที่สื่อสารแนวคิดที่ดีที่สุดออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์แนวคิด และนำไปทดสอบกับผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายเพื่อสังเกตประสิทธิภาพและความคิดเห็นจากการใช้งาน[1] โดยการรวบรวมผลตอบรับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป ซึ่งอาจผ่านการทดสอบซ้ำหลายครั้ง[4]ขึ้นกับความซับซ้อนของโซลูชั่น

แบบจำลองช่วยในการรวบรวมความคิดเห็นและปรับปรุงแนวคิด ช่วยให้เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของโซลูชั่นใหม่

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Brown, T. Wyatt, J. 2010. Design thinking for social innovation. Stanford social innovation review.
  2. An introduction to design thinking, dschool.stanford.edu.
  3. Kelley T. Littman J, 2005, The Ten Faces of Innovation
  4. designandthinking, Mu Ming Tsai,2012, Film