ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรางค์สามยอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8979276 สร้างโดย 171.103.54.34 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 32:
| หมายเหตุ =
}}
{{Coord|14|48|10|N|100|36|50|E|display=title}}
'''พระปรางค์สามยอด''' [[จังหวัดลพบุรี]] เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของ[[จังหวัดลพบุรี]] ลักษณะเป็นปราสาทขอมใน[[ศิลปะบายน]] (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็น[[ศิลาแลง]]ประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิ[[วัชรยาน]]ประจำเมือง[[ละโว้]]หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของ[[อาณาจักรเขมร]] แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร ([[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]]) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระ[[นางปรัชญาปารมิตา]]สองกร
 
[[ไฟล์:Lopburi ลพบุรี ประมาณปี 2501 ภาพเก่า - panoramio.jpg|250px|thumb|right|พระปรางค์สามยอดในอดีต (ราว พ.ศ. 2501 ด้านทิศตะวันออก)]]
 
== สถานที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ ==
ตั้งอยู่ที่[[ตำบลท่าหิน]] [[อำเภอเมืองลพบุรี]] [[จังหวัดลพบุรี]] บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับ[[ศาลพระกาฬ]] เป็นปราสาทศิลาแลงแบบขอมเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธาน เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] (ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2231)
 
== ประวัติ ==
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 904 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479 และได้กำหนดเขตที่ดินให้มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545<ref>{{Cite web|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00117882.PDF |title=ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน |publisher=ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 119ง หน้า 10 |date=4 ธันวาคม 2545}}</ref>
 
== ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ==
[[ไฟล์:Phra Prang Sam Yod.JPG|250px|thumb|right|พระปรางค์สามยอดในปัจจุบัน (ด้านทิศตะวันออก)]]
 
เป็น[[ปราสาทขอม]] 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน (''อันตรละ'') โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ปราสาทประธานมีความสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ โครงสร้างของปราสาททำจาก[[ศิลาแลง]]ฉาบปูน มีการประดับประดาตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทด้วยปูนปั้น อันเป็นลักษณะของงานสถาปัตยกรรมในยุคของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) ที่นิยมใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เช่น [[ปรางค์พรหมทัต]]ที่[[ปราสาทพิมาย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] ซึ่งประดิษฐานพระรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาท[[วัดกำแพงแลง]] [[จังหวัดเพชรบุรี]] ที่สร้างเป็นปราสาทศิลาแลง 3 องค์เรียงกันในลักษณะเดียวกับพระปรางค์สามยอด และปรางค์องค์กลางของ[[วัดพระพายหลวง]] [[จังหวัดสุโขทัย]] เป็นต้น
 
== ลวดลายประดับ ==
ส่วนยอดหรือ''ศิขระ'' สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกัน 3 ชั้น ถัดลงมาเป็นการยกเก็จสามเก็จตรงด้านและมุมประดับด้วยกลีบขนุนทำจากศิลาแลง และบางส่วนทำจากปูนปั้นเป็นรูปบุคคลยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนที่ยกเก็จชั้นที่ 4 เดิมทั้ง 4 ทิศ จะมีการปั้นเทพประจำทิศอยู่ในกลีบขนุนและตอนล่าง ได้แก่ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณประจำทิศตะวันออก พระวรุณทรงหงส์ ประจำทิศตะวันตก ท้าวกุเวรทรงมกร ทิศเหนือ และ พระยมทรงกระบือ ทิศใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วน สันหลังคาของมุขกระสันประดับด้วยบราลีศิลาแลงปั้นเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเสียหายทั้งหมด
 
* '''บัวรัดเกล้าเรือนธาตุ'''
 
มีการประดับลวดลายปูนปั้นประกอบไปด้วย แถวบนสุดเป็นลายดอกไม้กลม ถัดลงมาปั้นปูนเป็นรูปกลีบบัวหงาย แถวถัดลงมาเป็นลายดอกซีกดอกซ้อน รูปหงส์ ลายกลีบบัวหงาย ลายก้านขด และดอกบัวตูม เรียงเป็นแถว ลวดลายละ 1 แถวรวมเป็น 3 แถว จบด้วยลายกรวยเชิงเป็นรูปเกียรติมุข (หน้ากาล) คายเฟื่องอุบะ
 
* '''ตอนกลางของเรือนธาตุ'''
 
มีลายปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขดที่แถวบนสุด ถัดลงมาเป็นบัวฟันยักษ์คว่ำ หน้ากระดานเป็นลายกระจังประกอบกันเป็นลายกากบาทแทรกด้วยลายประจำยามลายเล็กและลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดลงมาเป็นลายกลีบบัวหงาย ลายกระหนกวงโค้ง ลายดอกบัว ตอนล่างสุดเป็นลายกรวยเชิงตามลำดับ
 
* '''บัวเชิงเรือนธาตุ'''
 
ด้านบนสุดเป็นรูปใบหน้าของชาว[[จาม]]ที่เป็นศัตรูกับชาว[[เขมร]]ที่ถูกประดิษฐ์เป็นใบหน้าของยักษ์ประกอบกับลายกรวยเชิง อันเป็นที่นิยมมากในศิลปะแบบ[[บายน]]ของ[[กัมพูชา]] ถัดลงมาเป็นลายดอกบัว สันลูกแก้วอกไก่เป็นลายรักร้อย และบัวฟันยักษ์คว่ำ ลายก้านขด และดอกซีกดอกซ้อน ลายละหนึ่งแถวตามลำดับ
 
ในส่วนของลวดลายหน้าบันและทับหลังนั้น ปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการปั้นปูนประดับลงบนศิลาแลง เมื่อเวลาผ่านไปรูอากาศของศิลาแลงจะมีการขยายตัว ทำให้ลวยลายปูนที่ปั้นประดับอยู่นั้นกะเทาะออกมารวมถึงลิงที่มาอาศัยก็มีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย<ref>ณัฐพล อาจหาญ และวัชชพันธ์ บุญณลัย, "พระปรางค์สามยอด," รายงานการศึกษาค้นคว้าประกอบการศึกษากระบวนวิชา 116400 ศิลปะในประเทศไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 สาขาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.</ref>
 
นอกจากนี้ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์]]ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และดัดแปลงพระปรางค์สามยอดเพื่อใช้เป็นพุทธศาสนสถานอีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากการซ่อมแซมส่วนที่เป็นเพดาน โดยยังคงเห็นร่อยรอยของการปิดทองเป็นรูปดาวเพดาน และการสร้างฐานภายในพระปรางค์สามยอดหลายฐานลักษณะคล้ายกับ[[ฐานชุกชี]]ด้วยอิฐ อันเป็นวัสดุที่แตกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ของพระปรางค์สามยอดซึ่งส่วนใหญ่เป็น[[ศิลาแลง]]
 
== รูปเคารพในพระปรางค์สามยอด ==
[[ไฟล์:Wat Phra Prang Sam Yod-008.jpg|150px|thumb|right|พระพุทธรูปภายในพระปรางค์สามยอด]]
 
ปัจจุบันไม่พบหลักฐานรูปเคารพประธานในพระปรางค์สามยอด พบเพียงฐาน[[สนานโทรณิ]]ที่ใช้เป็นแท่นรองสรง แต่จากรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาท 3 องค์ที่พบภายในกรุปรางค์ประธาน[[วัดราชบูรณะ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] หรือที่นิยมเรียกกันว่า "พระพิมพ์[[รัตนตรัยมหายาน]]" ทำให้ทราบว่า แต่เดิมภายในปราสาทประธานของพระปรางค์สามยอดคงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง พระโลเกศวรสี่กรในปราสาททิศใต้ และพระ[[นางปรัชญาปารมิตา]]ในปราสาททิศเหนือ เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระพิมพ์ โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อพุทธศาสนาลัทธิ[[วัชรยาน]]จาก[[ขอม]]<ref>{{Cite book|author=พิริยะ ไกรฤกษ์ |title=อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 |place=กรุงเทพมหานคร |publisher=อมรินทร์ |date=2544 |pages=113, 116-117 |isbn=9789742723392}}</ref>
 
สำหรับพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ได้แก่ [[อาทิพุทธะ|พระอาทิพุทธะ]] หรือ[[พระไวโรจนพุทธะ|พระมหาไวโรจนะ]] ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 6 ของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานที่จารึกของอาณาจักรเขมร เรียกว่า [[พระวัชรสัตว์]]<ref>{{Cite book|author=พิริยะ ไกรฤกษ์ |title=อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 |place=กรุงเทพมหานคร |publisher=อมรินทร์ |date=2544 |pages=105 |isbn=9789742723392}}</ref> ใน[[ศิลปะเขมร]]นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก ส่วนพระโลเกศวรอันเป็นพระนามที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาใช้เรียกพระโพธิสัตว์[[อวโลกิเตศวร]] ผู้ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของความเมตตากรุณาและสัญลักษณ์ของอุบาย (''อุปายะ'') และพระนางปรัชญาปารมิตา เทวนารีผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอันล้ำเลิศบุคลาธิษฐานของ[[คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร]] รูปเคารพทั้ง 3 นี้นิยมสร้างในรัชสมัย[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน โดยประกอบกันเป็นความหมายเชิงพุทธปรัชญาของลัทธิวัชรยาน กล่าวคือ พระโลเกศวรทรงเป็นตัวแทนของอุบาย หรือวิธีการอันแนบเนียนซึ่งใช้ไขเข้าสู่''ปราชฺญา'' หรือปัญญาที่มีพระนางปรัชญาปารมิตาเป็นสัญลักษณ์ อันจะนำไปสู่การบรรลุพุทธสภาวะหรือ''ศูนฺยตา'' ซึ่งแทนด้วยพระวัชรสัตว์นาคปรก
 
สำหรับรูปเคารพอื่น ๆ ที่พบในพระปรางค์สามยอดนั้น ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่ง[[กรมศิลปากร]]ได้อัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ใน[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นารายณ์ราชนิเวศน์]] [[จังหวัดลพบุรี]]
 
== วิหารหน้าพระปรางค์สามยอด ==
เป็น[[วิหาร]]ก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สภาพของวิหารคงเหลือเพียงผนังทั้ง 2 ข้างและ[[ผนังหุ้มกลอง]]ทางด้านทิศตะวันออก ส่วน[[เครื่องบน]]พังทลายไปหมดแล้ว ประตูของผนังหุ้มกลองด้านทิศตะวันออกก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งหรือ[[อาร์ช]] (arch) แบบตะวันตก ส่วนประตูทางเข้าที่ผนังด้านข้างของวิหารและหน้าต่างที่ผนังด้านหลังของวิหารก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งกลีบบัว (pointed arch) แบบ[[ศิลปะอิสลาม]] ป้จจุบันเหลือเพียงซุ้มหน้าต่างด้านทิศเหนือเท่านั้น โครงสร้างผนังของก่ออิฐหนาทึบสลับกับ[[ศิลาแลง]]บางส่วน อันเป็นเทคนิคที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] เช่นเดียวกับกับอาคารที่สร้างขึ้นรัชสมัยนี้ที่นิยมก่อสร้างด้วยอิฐแทรกด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ เช่น [[พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]] ใน[[พระราชวังโบราณ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] และอาคารหลายหลังใน[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]] [[จังหวัดลพบุรี]] ด้านหลังของวิหารยกเก็จเป็นกะเปาะเชื่อมต่อกับประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ซึ่งการยกเก็จเป็นกะเปาะนี้เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารซึ่งนิยมสร้างในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์]] เช่น [[พระที่นั่งจันทรพิศาล]] ภายใน[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]] และวิหารหลวง[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี]] ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ทำจากศิลา
 
== อายุเวลาของพระปรางค์สามยอด ==
อายุเวลาของพระปรางค์สามยอด พิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างที่ใช้[[ศิลาแลง]]เป็นโครงสร้างพอกด้วยปูนและประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อันเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่นิยมมากใน[[ศิลปะบายน]]ของ[[กัมพูชา]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] และยังสอดคล้องกับรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาทสามยอด ที่ภายในแต่ละยอดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก พระโลเกศวรสี่กร และพระ[[นางปรัชญาปารมิตา]] อันเป็นรูปเคารพที่เคยประดิษฐานภายในปราสาททั้ง 3 หลังของพระปรางค์สามยอดด้วย โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิ[[วัชรยาน]]ที่รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่ง[[อาณาจักรเขมร]] จากเหตุผลดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าพระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ที่ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1724 ถึงประมาณ 1757
 
ส่วนวิหารด้านหน้าของพระปรางค์สามยอดคงสร้างขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์]] โดยพิจารณาจากเทคนิคการสร้างซุ้มโค้งของประตูและหน้าต่างที่ก่ออิฐตะแคงเป็นซุ้มโค้งหรือ[[อาร์ช]] (arch) อันเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ดังตัวอย่างจากซุ้มโค้งของ[[บ้านวิชาเยนทร์]] [[จังหวัดลพบุรี]] ซึ่งสร้างในรัชสมัยดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ ผนังของวิหารซึ่งมีการเสริมศิลาแลงเข้าไประหว่างอิฐเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น เป็นเทคนิคที่นิยมในรัชสมัยนี้เช่นเดียวกัน ดังปรากฏในอาคารหลายหลังที่[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]] จังหวัดลพบุรี
 
== อิทธิพลทางด้านศาสนาและการเมือง ==
จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า พระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิ[[วัชรยาน]]ประจำเมือง[[ละโว้]] เพื่อประดิษฐานรูปพระวัชรสัตว์นาคปรก พระโลกิเตศวร และพระ[[นางปรัชญาปารมิตา]] อันเป็นรูปเคารพที่นิยมสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในรัชกาลของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากใน[[อาณาจักรเขมร]] เทียบได้กับศาสนาประจำอาณาจักรภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระองค์ ดังจารึก[[ปราสาทพระขรรค์]]ที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า หลังทรงครองราชย์ได้ 10 ปี ได้ทรงสร้างเทวรูปทำด้วยทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และศิลา เพื่อส่งไปพระราชทานยังเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์เป็นจำนวนถึง 20,400 องค์ และทรงส่งพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องอีก 23 องค์ไว้ตามเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร เช่นที่ “ละโว้ทยปุระ” ([[จังหวัดลพบุรี]]) “สุวรรณปุระ” ([[จังหวัดสุพรรณบุรี]]) “ศัมพูกปัฏฏนะ” (เมืองหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย) “ชยราชบุรี” ([[จังหวัดราชบุรี]]) “ชยสิงหบุรี” ([[เมืองสิงห์]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]]) “ชยวัชรบุรี” ([[จังหวัดเพชรบุรี]]) ซึ่งในขณะนั้นเมืองละโว้ในรัชสมัยของพระองค์ก็มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรเขมรด้วย ดังปรากฏในจารึกของอาณาจักรเขมรว่า เจ้าชายอินทรวรมัน (ต่อมา คือ [[พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2]]) พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กับ[[พระนางชัยราชเทวี]] ทรงครองเมือง “ละโว้”<ref>{{Cite book|author=Coedès George |title=Inscriptions du cambodge |volume=2 |place=Hanoi & Paris |publisher=EFEO |date=1942 |page=176 |issn=0768-2530 |language=French}}</ref>
 
ต่อมาหลังการล่มสลายของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในอาณาจักรเขมร พระปรางค์สามยอดจึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพุทธสถานใน[[นิกายเถรวาท]] ดังเห็นได้จากการสร้างวิหารเชื่อมต่อกับปราสาทประธานในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์]] ซึ่งทรงสร้าง[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ในเมืองลพบุรี ในช่วงระยะเวลาที่เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมืองลพบุรีเกือบตลอดรัชกาล
 
== พระปรางค์สามยอดจำลอง ==
===บนแผ่นฟิล์ม===
สัญลักษณ์ (โลโก้) บริษัท'''ละโว้ภาพยนตร์''' ของ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ]] เพื่อรำลึกถึง [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์]] พระบิดาของพระองค์ จากหลักฐานในใบปิดโฆษณา มีภาพลายเส้นองค์พระปรางค์กำกับชื่อบริษัทแนวโค้งขนาดใหญ่ เรื่อง [[นางทาษ]] พ.ศ. 2498 <ref>{{Cite web|url=https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/นางทาษ_(2498) |title=นางทาษ (2498) |website=thaibunterng |accessdate= 2020-07-07}}</ref>
 
ภาพสัญลักษณ์ที่หัวฟิล์มรุ่นไวด์สกรีน (พ.ศ. 2500-2505) องค์พระปรางค์รูปหล่อปูนปั้นขนาดย่อส่วน มีสีขาวและชื่อบริษัทสีทองแนวตรงที่ฐานสีแดง ส่วนรุ่นซีเนมาสโคป (พ.ศ. 2508-2523) มีสีทองสุกอร่ามทั้งองค์บนฐานสีแดง<ref>วีดิทัศน์หนังของละโว้ภาพยนตร์, ''โครงการทึ่งหนังไทย'', มูลนิธิหนังไทย, 2540.</ref>
 
ปัจจุบันองค์สีทอง จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย [[หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)]] ถ.ศาลายา จ.นครปฐม
 
อนึ่ง ครู[[ชลหมู่ ชลานุเคราะห์]] อดีตผู้อำนวยเพลงวงดุริยางค์สากล[[กรมศิลปากร]] ศิษย์ของศาสตราจารย์[[พระเจนดุริยางค์]] (ผู้ประพันธ์เพลงประจำตราบริษัท / แฟนแฟร์) กล่าวถึงองค์พระปรางค์จำลองดังกล่าว อาจเป็นผลงานของ ศาสตราจารย์[[ศิลป์ พีระศรี]]
 
===แหล่งท่องเที่ยว===
องค์พระปรางค์ขนาดจำลอง 2 แห่ง ได้แก่
* [[เมืองโบราณ]] จังหวัด[[สมุทรปราการ]] พ.ศ. 2515
* [[เมืองจำลองพัทยา]] จังหวัด[[ชลบุรี]] พ.ศ. 2529
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[วัดใหม่ปรางค์สามยอด]] วัดที่เคยตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพระปรางค์สามยอด ปัจจุบันได้สูญหายไป
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์|Category:Phra Prang Sam Yod }}
* พิทยาจารย์. ''[http://bidyarcharn.blogspot.com/2012/03/2537.html รายงานการบูรณะโบราณสถานพระปรางค์สามยอด]'' ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2537 (กรกฎาคม 2538). เรียกดูเมื่อ 23 มกราคม 2556.
 
 
{{ปราสาทขอม|state=collapsed}}
[[หมวดหมู่:จังหวัดลพบุรี]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 18]]