ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บั้งไฟพญานาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
น.พ.มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาคมาอย่างยาวนาน เผยว่า ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจน[[ภาวะโลกร้อน]]ในปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป<ref name="เลาะริมโขง"/>
 
การที่บั้งไฟพญานาคกิน
== คำอธิบาย ==
 
=== ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ===
งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจนเกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ 16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูงกระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้<ref name="พิสูจน์">[http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000073245&Page=2 พิสูจน์ปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” กับหลักวิทยาศาสตร์] ผู้จัดการออนไลน์, 28 ตุลาคม 2547</ref>
 
น.พ.มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า "บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ"<ref name="พิสูจน์"/> เขายังพบว่า[[pH|ความเป็นกรดด่าง]]ของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืน[[วันออกพรรษา]] เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของ[[แรงโน้มถ่วง]]พลังงานรังสีของ[[ดวงอาทิตย์]] [[ดวงจันทร์]]และ[[โลก]]<ref name="เคมี">[http://manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9470000072690 บั้งไฟพญานาค: ปฏิกิริยาเคมีในลำโขง]</ref>
 
มีคำอธิบายที่คล้ายกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ใกล้เคียงในฟิสิกส์พลาสมา (plasma physics) โดยเป็นลูกพลาสมาลอยอิสระซึ่งสร้างจากไฟฟ้าสถิต (เช่น จาก[[ตัวเก็บประจุ]]) ถูกปล่อยสู่[[สารละลาย]]<ref>{{cite web |title=Free Floating Plasma Orb|url=http://www.aps.org/about/physics-images/archive/plasma-orb.cfm |publisher=American Physical Society}}</ref> ทว่า การทดลองบอลพลาสมาส่วนใหญ่กระทำโดยใช้ตัวเก็บประจุค่าแรงดันสูง ตัวกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟหรือเตาอบไมโครเวฟ มิใช่ภาวะธรรมชาติ
 
ในปี พ.ศ. 2555 [[ผู้จัดการออนไลน์]]ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือน[[เลเซอร์]]ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนกล่าวว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก<ref name="ผจก"/>
 
=== การกระทำของมนุษย์ ===
สารคดีของสถานีโทรทัศน์[[ไอทีวี]]ในปี พ.ศ. 2545 แสดงทหารลาวยิง[[กระสุนส่องวิถี]]ขึ้นฟ้า และมีเสียงเฮที่ดังมาจากฝั่งไทยที่มารอชมบั้งไฟพญานาค<ref>"เบื้องหลังบั้งไฟพญานาค", [[ถอดรหัส]], ไม่ทราบสตูดิโอ, 2545. [http://www.youtube.com/watch?v=QlngR2RJeLc]</ref> และเมื่อสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในเขต[[อำเภอโพนพิสัย]] [[จังหวัดหนองคาย]] และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 17–18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ชาวบ้านในพื้นที่ก็รู้ดีว่ามีการยิงลูกไฟในฝั่งลาวใน[[วันออกพรรษา]] แต่ลักษณะจะแตกต่างจากบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลาง[[แม่น้ำโขง]] และสามารถแยกแยะออกว่าอันไหนของจริง อันไหนคนทำ<ref>[http://www.most.go.th/fireball/principle1.htm ความเกี่ยวเนื่องของแหล่งพลังงานส่วนเกินกับปรากฏการณ์ธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง] กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี{{ลิงก์เสีย}}</ref>
 
ผศ. ดร.[[เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์]] นักวิชาการจาก[[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] อธิบายว่า ไม่มีก๊าซชนิดใดในโลกที่สันดาปเองแล้วกลายเป็นลูกไฟลอยสูงขึ้นไปสูง ๆ ได้ เว้นแต่มีการสันดาปด้วยเชื้อเพลิงขับ เช่น ดินปืน พลุ หรือกระสุนส่องแสง ขึ้นจากฝั่งตรงข้ามแต่หลอกตาเหมือนขึ้นจากน้ำ และยังตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมายังไม่มีภาพถ่ายวิดีโอใดๆเลยที่ชี้ให้เห็นว่าลูกไฟขึ้นจากน้ำได้จริง โดยมักเป็นภาพลูกไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว พร้อมขอให้มีการสร้างบั้งไฟพญานาคเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อพิสูจน์<ref>[http://www.youtube.com/watch?v=cM4kE53ZvwY&feature=player_embedded บั้งไฟพญานาค ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ] รวมบรรยายวิทยาศาสตร์ลวงโลกกับชีวิตคนไทย ในงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ปี 2554</ref>
 
ปิ่น บุตรี ได้เขียนบทความลงในผู้จัดการออนไลน์ ในปี พ.ศ. 2556 ว่า สกู๊ป (ของไอทีวี) ที่ว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากการยิงปืนของทหารลาวนั้นถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ และยังถูกคนจับผิดและหาข้อมาหักล้าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของการยิงปืนที่ต้องมีเสียง ควัน และมีวิถีการพุ่งที่เร็วมากแถมสีก็แตกต่างกับลูกไฟประหลาดที่พวยพุ่งขึ้นมา พุ่งช้ากว่า ไม่มีควัน เสียงไม่ดังเท่า นอกจากนี้ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคยังมีบันทึกว่าเกิดขึ้นมานับร้อย ๆ ปี มาก่อนการยิงปืนของทหารนานแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130539|title= ออกพรรษาได้เวลา “บั้งไฟพญานาค”...ปรากฏการณ์มหัศจรรย์แห่งลำน้ำโขง|author= ปิ่น บุตรี|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
 
== ตำนานและความเชื่อ ==