ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองตรัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ภูมิประเทศ: ิิแมาไิา
บรรทัด 19:
'''เมืองตรัง''' ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้น[[ยางพารา]] โดย[[พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี|พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)]] ได้นำพันธุ์มาจาก[[มาเลเซีย]]มาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อปี [[พ.ศ. 2442]] และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ[[ศาสนาพุทธ]]คิดเป็นร้อยละ 93 นับถือ[[ศาสนาอิสลาม]]ร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 2
 
่ืีklkfjhujfvhhhfhahhfvhruhgurahurfnbifjaurejjfg
== ประวัติ ==
ประวัติของเมืองตรังมีมาตั้งแต่สมัยก่อนยุคอาณาจักรโบราณ โดยมีประวัติการตั้งรกรากตามริมฝั่ง[[แม่น้ำตรัง]] และมีบันทึกเมื่อคราวท้าวศรีธรรมาโศกราชครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ได้ตั้งเมืองตรังเป็นหัวเมืองบริวาร ให้ปี[[มะเมีย]]เป็นสัญลักษณ์นักษัตรประจำเมือง ราวปี [[พ.ศ. 2367]] มีการตั้งชุมชนริมฝั่งแม่น้ำตรังโดยชาวจีนที่มาจาก[[ปีนัง]] ล่องเรือเข้ามาทางปาก[[แม่น้ำตรัง]] และได้อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางในการทำการค้า จึงได้ชื่อว่า "ชุมชนท่าจีน" และเรียกแม่น้ำที่ไหลผ่านช่วงนี้ว่า [[คลองท่าจีน]]
 
ที่ตั้งของตัวเมืองตรังนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ตามหลักฐานตั้งแต่ยุคอาณาจักรโบราณ ลัดเลาะตามริมฝั่งแม่น้ำตรัง จนกระทั่งในสมัย[[รัชกาลที่ 6]] [[พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] ได้ทูลขอย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตำบลทับเที่ยง โดยให้ชื่อว่า '''อำเภอบางรัก''' และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''อำเภอทับเที่ยง''' ในปี [[พ.ศ. 2459]]
 
ต่อมาเมื่อ[[พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน)]] มารับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลากลางเมือง จนเปิดทำการได้ใน [[พ.ศ. 2463]] และเมื่อ[[พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล)]] ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล[[มณฑลภูเก็ต]] (มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองตรัง) ได้เอาใจใส่พัฒนาเมืองตรังหลายด้าน จึงปรากฏชื่อของท่านเป็นอนุสรณ์ไว้ในอำเภอเมืองตรัง เช่น กระพังสุรินทร์ ถนนวิเศษกุล วัดควนวิเศษ เป็นต้น
 
[[พ.ศ. 2483]] [[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] ตรวจราชการเมืองตรัง ดำริให้สร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของ[[พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี|พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)]] จังหวัดตรังจึงดำเนินการจนเสร็จเรียบร้อย ทำพิธีประดิษฐานไว้ ณ ตำบลทับเที่ยง ในวันที่ 10 สิงหาคม [[พ.ศ. 2493]] และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการพร้อมกับเฉลิมฉลองในวันที่ 10 เมษายน [[พ.ศ. 2494]]
 
ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง เริ่มการปกครองสุขาภิบาล เมื่อ [[พ.ศ. 2474]] ต่อมาหลังจากที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 สุขาภิบาลเมืองตรังจึงได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตรัง เมื่อ [[พ.ศ. 2478]] และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครตรังเมื่อปี [[พ.ศ. 2542]]
 
== ภูมิประเทศ ==