ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนอม กิตติขจร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 112:
จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี [[พ.ศ. 2501]] สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย
 
<br />
===ผลงานสมัยเป็นรัฐบาล===
ในช่วงที่จอมพลถนอม กิตติขจร บริหารประเทศ ได้มีผลงานที่สำคัญดังนี้
 
1. ด้านการทหาร ตลอดระยะเวลา 15 ปี นับแต่จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2500 และเลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนถึงดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ นายกรัฐมนตรี ได้เสริมสร้างกองทัพทั้งสามเหล่าทัพอย่างทัดเทียม ได้มีการวางนโยบายปรับปรุงแก้ไขพัฒนากิจการงานสาขาต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ให้มีความเจริญก้าวหน้า มีการสนับสนุนกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพด้วยการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เสริมเหล่าทัพให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับประเทศตะวันตก รวมถึงงานด้านยุทธบริการ เช่น ริเริ่มปรับปรุงงานส่งกำลังบำรุง ได้แก่ จัดทำแคตตาล็อกสำหรับสิ่งอุปกรณ์ ยุทธภัณฑ์ เพื่อให้ทุกเหล่าทัพสามารถใช้ร่วมกันได้ กำหนดแบบอาการมาตรฐานของกระทรวงกลาโหมเพื่อให้เป็นแบบเดียวกันซึ่งจะอำนวยให้ลดงบประมาณค่าก่อสร้างและค่าซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ยังได้พัฒนางานในด้านการศึกษาให้เจริญเติบโต ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียน เสนาธิการทหาร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นต้น
 
2. ด้านการเศรษฐกิจและสังคม จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ยึดหลักการพัฒนาตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำการพัฒนาประเทศ ดำเนินการตามโครงการสนับสนุนการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้
 
- การพัฒนาส่วนภูมิภาค แยกออกเป็น 5 ภาค โดยมีคณะกรรมการพัฒนาภาครับผิดชอบในเรื่องนโยบายและจัดสรรเงินงบประมาณให้กับโครงการที่เห็นสมควร
 
- การพัฒนาส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาลของแต่ละจังหวัด โดยอาศัยรายได้ของส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก
 
- การเร่งรัดพัฒนาชนบท ในเขตเร่งรัดพัฒนาชนบท อันได้แก่ จังหวัดชายแดนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอาจขยายวงกว้างได้ขึ้นภายหลังตามความจำเป็น
 
- การพัฒนาเขตทุรกันดารห่างไกล เป็นโครงการพิเศษเฉพาะบางอำเภอและบางตำบลที่อยู่บริเวณชายแดนซึ่งติดต่อได้ยาก เพราะขาดเส้นทางคมนาคม โดยจะเน้นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชายแดนภาคตะวันออกและบริเวณชายแดนภาคใต้
 
- การพัฒนาเฉพาะท้องที่ เป็นโครงการที่จะดำเนินการเฉพาะท้องที่บางแห่ง โดยได้ดำเนินการในเขตลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณสัตหีบ บริเวณเขตชะอำกับปราณบุรี
 
ทั้งนี้ นับได้ว่าเป็นการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างยิ่ง ดังเห็นได้จากการเน้นหนักด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อันเป็นรากฐานของพลังทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อมา อาจจะกล่าวได้ว่า แนวทางการพัฒนาในช่วงนี้ของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นก้าวสำคัญที่สุดที่ปูพื้นฐานความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจส่วนร่วมของประเทศไทยในปัจจุบันนี้<ref>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1_%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%A3_(%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5)#cite_ref-10</ref>
 
== ยศ ==