ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคพลังประชารัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
→‎ประวัติ: ฟหกด่าสว
บรรทัด 20:
}}
 
<br />
'''พรรคพลังประชารัฐ''' ([[อักษรย่อ|ย่อ]]: พปชร.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ภายในพรรคประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61|คณะรัฐมนตรีประยุทธ์]] รวมทั้งมีการรับนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าสังกัด ทั้งอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตแกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] อดีต ส.ส. [[พรรคไทยรักไทย]] และอดีต ส.ส. [[พรรคประชาธิปัตย์]] และอดีตแกนนำ [[กปปส.]] ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] พรรคเสนอชื่อพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
 
== ประวัติ ==
ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และพันเอก [[สุชาติ จันทรโชติกุล]] อดีต ส.ส. สงขลา [[พรรคความหวังใหม่]] และอดีตสมาชิก[[สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ]]เป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2561<ref>[http://www.thairath.co.th/content/1218393 จดพรรคใหม่คึก มารอแต่เช้ามืด] ไทยรัฐ 2 มีนาคม 2561</ref> ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1546578/pm-allows-ministers-to-back-parties|title=PM allows ministers to back parties|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-11-27}}</ref>
 
พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ [[สมศักดิ์ เทพสุทิน]], [[สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ]]และ[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]]ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่ง คสช. ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
 
พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ปรากฏว่า [[อุตตม สาวนายน]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม]]ในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ[[สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์]]ในรัฐบาลประยุทธ์เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
 
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา<ref>{{Cite news|url=http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/27/150-politicos-defect-to-new-pro-junta-party/|title=150+ Politicos Defect to New Pro-Junta Party|date=2018-11-27|work=Khaosod English|access-date=2018-11-27|language=en-US}}</ref> นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีต[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]<ref>{{Cite news|url=https://prachatai.com/journal/2019/03/81739|title=นับคะแนน 112 อดีต ส.ส./ผู้สมัคร ส.ส. ซบพลังประชารัฐลุยเลือกตั้ง 62|website=ประชาไท|access-date=2019-03-27}}</ref>
 
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/003/T_0221.PDF ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ]</ref> ในเดือนมกราคม 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน<ref name=":6">{{Cite web|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1619878/palang-pracharath-ministers-resign-from-cabinet|title=Palang Pracharath ministers resign from cabinet|website=Bangkokpost.com|access-date=2019-01-30}}</ref>
 
===การเลือกตั้งทั่วไปปี 2562===
{{บทความหลัก|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562}}
 
พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบัญญัติรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์<ref name=":0">{{Cite news|url=http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/19/three-friends-join-pro-junta-party-say-charter-favors-them/|title=‘Three Friends’ Join Pro-Junta Party, Say Charter Favors Them|date=19 November 2018|newspaper=Khaosod English}}</ref><ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/general/1495034/parties-propose-poll-date|title=Parties propose poll date|date=30 June 2018|newspaper=Bangkok Post}}</ref>
 
ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ<ref name="ks_dummy">{{cite news
| author = Asaree Thaitrakulpanich
| title = Thai Election for Dummies: Guide to the Parties
| url = http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/thai-election-for-dummies-guide-to-the-parties/?fbclid=IwAR1M_8hf8RwkpaXkkdVi_sBuVrnO-dt3otNfacVaus1k_7xbvin7QHybEbU
| work = Khaosod English
| location =
| date = February 27, 2019
| access-date = 3-3-2019
}}</ref> ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับ[[ค่าจ้างขั้นต่ำ]]เป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง<ref>{{cite news
| author =
| title = รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง
| url = https://www.thairath.co.th/content/1521243
| work = ไทยรัฐ
| location =
| date = 17 มี.ค. 2562
| access-date = 17-3-2019
}}</ref>
 
พรรคพลังประชารัฐถูกร้องเรียนว่าได้รับการสนับสนุนอย่างลำเอียงจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ<ref>{{Cite news |author=Mongkol Bangprapa |url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1496170/ec-asked-to-nip-palang-pracharat-in-the-bud |title=EC asked to nip Palang Pracharat in the bud |newspaper=Bangkok Post |date=2 July 2018}}</ref><ref>{{Cite news |url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30349145 |title=‘No special treatment for pro-Prayut group’ |newspaper=The Nation |date=3 July 2018}}</ref> ในเดือนพฤศจิกายน 2561 รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดเงินสด 86,700 ล้านบาท<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1580474/ec-to-investigate-cash-handout-spree|title=EC to investigate cash handout spree|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-11-29}}</ref> ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช้เงินภาษีซื้อเสียง<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1581646/pprp-not-shaken-by-ecs-cash-handout-investigation|title=PPRP 'not shaken' by EC's cash handout investigation|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-11-29}}</ref> นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังถูกกล่าวหาว่ามีการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อแลกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายช่วยเหลือคนยากจนของรัฐบาล<ref>{{Cite web|url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/95523|title=ชาวบ้าน "เลิงนกทา" แฉ ต้องสมัครสมาชิก พปชร. ถึงได้บัตรคนจน แถมเงินกลับบ้านอีก 100 บาท|website=Pptvhd36.com|language=th|access-date=2018-12-26}}</ref>
 
พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตาม มาตรา 44 ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557|รัฐธรรมนูญชั่วคราว]] สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1577702/new-ec-boundary-ruling-under-fire|title=New EC boundary ruling under fire|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-11-28}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30359125|title=EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-28|language=en}}</ref><ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30359473|title=EC completes redrawing of constituencies - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-28|language=en}}</ref> นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว<ref>{{Cite news|url=http://www.nationmultimedia.com/detail/opinion/30359420|title=Election has already been won, so what now? - The Nation|work=The Nation|access-date=2018-11-29|language=en}}</ref>
 
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น [[กระทรวงการคลัง]] [[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]] และ[[กรุงเทพมหานคร]] เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต<ref name="Limited">{{Cite web|url=https://www.bangkokpost.com/news/politics/1599110/sontirat-dinner-table-map-doesnt-belong-to-party|title=Sontirat: Dinner table map doesn't belong to party|website=Bangkokpost.com|access-date=2018-12-26}}</ref> ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ<ref>{{Cite web|url=https://www.isranews.org/isranews-scoop/73301-isranews-73301.html|title=ต้องโชว์ทุกเดือน! กาง กม.เงินบริจาคพรรค-ลุ้นก้อน 532 ล.งานโต๊ะจีน พปชร.ใครทุนใหญ่?|date=2019-01-28|website=Isranews.org|language=th-th|access-date=2019-02-03}}</ref> วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ
| url = http://news.thaipbs.or.th/content/278339
| work = ไทยพีบีเอส
| location =
| date = 12 มีนาคม 2562
| access-date = 2019-03-13
}}</ref> ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจาก[[ประเทศไอซ์แลนด์]]ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = 'สำนักข่าวอิศรา' แกะรอยทุนไอซ์แลนด์ถือหุ้นบริษัทบริจาคโต๊ะจีน พปชร. พบใช้ที่อยู่เดียวกับนิติบุคคลในเอกสาร Offshore Leaks
| url = https://prachatai.com/journal/2019/03/81535
| work = ประชาไท
| location =
| date = 2019-03-16
| access-date = 2019-03-27
}}</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน “ตู่” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
| url = https://www.thairath.co.th/content/1497560
| work = ไทยรัฐ
| location =
| date = 16 ก.พ. 2562
| access-date = 2019-02-27
}}</ref> ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = "ประยุทธ์"รอด!ผู้ตรวจฯชี้ ไม่มีสถานะ"จนท.อื่นของรัฐ"
| url = https://www.dailynews.co.th/politics/698448
| work = เดลินิวส์
| location =
| date = 14 มีนาคม 2562
| access-date = 2019-03-14
}}</ref> วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"
| url = https://www.thairath.co.th/content/1518953
| work = ไทยรัฐ
| location =
| date = 14 มี.ค. 2562
| access-date = 2019-03-14
}}</ref>
 
ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นพบว่าพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. มากเกินคาด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสามารถแย่งที่นั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด ทำให้ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์''ข่าวหุ้น'' เขียนว่า คนชั้นกลางเก่าอนุรักษนิยมที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพราะเกลียด[[ทักษิณ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ใบตองแห้งยังเขียนว่า พรรคพลังประชารัฐใช้ปัจจัยในการเมืองแบบเก่าเพื่อเอาชนะ คือ นโยบาย[[ประชานิยม]] ส.ส.ที่ดูดจากพรรคอื่น ประกอบกับอำนาจรัฐราชการ นอกเหนือจากฐานเสียงอนุรักษนิยมในต่างจังหวัด องค์ประกอบของรัฐบาลที่อาจเกิดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งจะมีองค์ประกอบจะเป็นนักการเมืองทุนท้องถิ่น ย้อนกลับไปเหมือนสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ<ref>{{cite news
| author =<!--Staff writer(s); no by-line.-->
| title = การเมืองยุคตู่ Vs ธนาธร
| url = https://www.kaohoon.com/content/285959
| work = ข่าวหุ้น
| location =
| date = 25 มี.ค. 2562
| access-date = 2019-03-27
}}</ref>
 
=== ผลการเลือกตั้งทั่วไป ===
{| class="wikitable"
|-
! การเลือกตั้ง
! จำนวนที่นั่ง
! คะแนนเสียงทั้งหมด
! สัดส่วนคะแนนเสียง
! ผลการเลือกตั้ง
! ผู้นำเลือกตั้ง
|-
![[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562|2562]]
| {{Composition bar|116|500|hex=#4061a2}}
| 8,441,274
| 23.74%
| '''แกนนำจัดตั้งรัฐบาล'''
| พลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
|-
|}
 
== บุคลากร ==
=== รายชื่อหัวหน้าพรรค ===
{| border="1" cellpadding="4" cellspacing="1" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; text-align:center; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
|- style="background:#cccccc"
| '''ลำดับ''' || '''รูป ''' || '''ชื่อ''' || '''เริ่มวาระ''' || '''สิ้นสุดวาระ'''
|-
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''1''' || [[ไฟล์:อุตม.jpg|100px]] || '''[[อุตตม สาวนายน]]''' || 29 กันยายน พ.ศ. 2561 || ปัจจุบัน
|-
|}
 
=== รายชื่อเลขาธิการพรรค ===
{| border="1" cellpadding="4" cellspacing="1" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; text-align:center; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
|- style="background:#cccccc"
| '''ลำดับ''' || '''รูป ''' || '''ชื่อ''' || '''เริ่มวาระ''' || '''สิ้นสุดวาระ'''
|-
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''1''' || [[ไฟล์:สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์.jpg|100px]] || '''[[สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์]]''' || 29 กันยายน พ.ศ. 2561 || ปัจจุบัน
|-
|}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{facebook|pprpthailand}}
* {{instagram|pprpthailand}}
* {{twitter|pprpthailand}}
 
{{พรรคพลังประชารัฐ}}
{{พรรคการเมืองไทย}}
 
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทย]]