ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{เก็บกวาด}}
'''รัฐศาสตร์''' ({{lang-en|political science}}) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง<ref>http://www.britannica.com/EBchecked/topic/467721/political-science</ref> ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง<ref>http://www.answers.com/topic/political-science</ref>
 
กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสาย[[สังคมศาสตร์]] สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ [[ปรัชญาการเมือง]] ประวัติศาสตร์การเมือง [[ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง]] [[ทฤษฎีการเมือง]] [[อุดมการณ์ทางการเมือง]] [[รัฐประศาสนศาสตร์|การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์]] การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), [[การพัฒนาการเมือง]], [[สถาบันทางการเมือง]] , การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น<ref>Andrew Heywood. Politics. London : Macmillan, 1997</ref> ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และ[[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ]](international relation)
 
== ขอบเขตของการศึกษา ==
รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่มีมโนทัศน์หลักในการศึกษาคือการเมือง อย่างไรก็ตามความเข้าใจเรื่องนิยามของการเมืองระหว่างคนทั่วๆไป กับผู้ศึกษาวิชารัฐศาสตร์จะมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้นสิ่งที่เรียกว่าการเมืองมักถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องกิจการของรัฐ, รัฐบาล, พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์นั้นจะมองการเมืองบนฐานของมโนทัศน์เรื่อง "อำนาจ" (power) เป็นหลัก