ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังเป็นคณะที่ออกประกาศคำสั่งมากที่สุดตั้งแต่มีการรัฐประหารในประเทศไทย นอกจากประกาศและคำสั่ง คสช.แล้วยังมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งของ พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]อีกด้วย คณะรัฐประหารคณะนี้ครองอำนาจเป็นระยะเวลายาวนานเป็นอันดับ 3 รองจาก จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] จอมพล[[ถนอม กิตติขจร]]<ref>[https://www.prachatai.com/journal/2018/05/77049 4 ปีรัฐประหาร: การเมืองและกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย 99.99%]</ref>
 
== สาเหตุ ลุงตู่ดูหนัง..... ==
{{ดูเพิ่มที่|รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557}}
 
วันที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 [[พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา]] [[กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย|ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย]] (ผอ.รส.) เรียกประชุมผู้แทน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60|รัฐบาล]], [[วุฒิสภาไทย|วุฒิสภา]], [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]], [[พรรคเพื่อไทย]], [[พรรคประชาธิปัตย์]], [[นปช.]] และ [[กปปส.]] ที่สโมสรทหารบก [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยัง[[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]] ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทหารแจกใบปลิวให้ประชาชนที่สัญจรย่าน[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] เนื้อหาระบุเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า<ref>[http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9570000061701 คสช.แจกใบปลิว 10 เหตุผลทำรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]</ref>
# มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย
# การใช้อำนาจการปกครองที่กระทำอยู่เดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทำผิดของกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกต่อไป
# แนวทาง[[การเลือกตั้ง]]ในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถ้าเลือกตั้งต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้ อาจเกิดปัญหาความวุ่นวายไม่จบสิ้น
# การชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางความคิด และการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ([[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553]] และ [[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|พ.ศ. 2556–2557]]) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้
# ปัญหา[[การทุจริตทางการเมือง|ทุจริต]] มีคดีความจำนวนมากอยู่ในชั้นศาล และยังรอกระบวนการยุติธรรมตัดสิน
# การบังคับใช้กฎหมายปกติต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ทำให้เกิดความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง ความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะแกนนำที่มีความผิด ตามกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การยุยงปลุกปั่นแนวร่วมของฝ่ายตน ให้พร้อมที่จะกระทำการใด ๆ ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง
# การบริหารราชการแผ่นดินในห้วงที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และก่อปัญหาความเดือดร้อนต่อประชาชนทุกระดับจนถึงรากหญ้า
# [[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย|มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 112]] ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ
# การปลุกระดมมวลชนที่มุ่งเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทวีความรุนแรงและเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
# ปรากฏชัดว่ามีการจัดตั้งและใช้กองกำลังติดอาวุธรวมถึงการตระเวนอาวุธสงครามจำนวนมาก เพื่อปฏิบัติการอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามของตน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่ง[[กองทัพไทย|กองทัพ]]จะยอมให้เกิดขึ้นในประเทศชาติไม่ได้โดยเด็ดขาด
 
== การได้รับความยอมรับ ==