ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤติกรรมผู้บริโภค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
แทนที่เนื้อหาด้วย "== อ้างอิง == ไม่บอกปล่อยให้หาเอง ___{{รายการอ้างอิง}} ห..."
บรรทัด 1:
'''พฤติกรรมผู้บริโภค''' คือการศึกษาปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การ และกระบวนการที่พวกเขาเหล่านั้นใช้เลือกสรร รักษา และกำจัด สิ่งที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ หรือแนวคิด เพื่อสนองความต้องการและผลกระทบที่กระบวนการเหล่านี้มีต่อผู้บริโภคและสังคม <ref>Kuester, Sabine (2012): ''MKT 301: Strategic Marketing & Marketing in Specific Industry Contexts'', University of Mannheim, p. 110.</ref> พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการผสมผสาน[[จิตวิทยา]] [[สังคมวิทยา]] [[มานุษยวิทยาสังคม]] และ[[เศรษฐศาสตร์]] เพื่อพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของผู้ซื้อ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล พฤติกรรมผู้บริโภคศึกษาลักษณะเฉพาะของผู้บริโภคปัจเจกชน อาทิ ลักษณะทาง[[ประชากรศาสตร์]]และตัวแปรเชิงพฤติกรรม เพื่อพยายามทำความเข้าใจความต้องการของประชาชน พฤติกรรมผู้บริโภคโดยทั่วไปก็ยังพยายามประเมินสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคโดยกลุ่มบุคคลเช่นครอบครัว มิตรสหาย กลุ่มอ้างอิง และสังคมแวดล้อมด้วย
 
การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมีรากฐานมาจากพฤติกรรมการซื้อของ[[ผู้บริโภค]] ซึ่งแสดงบทบาทที่แตกต่างกันสามบทบาทได้แก่ ผู้ใช้ ผู้จ่าย และผู้ซื้อ ผลการวิจัยได้แสดงว่าพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นยากที่จะพยากรณ์ แม้กระทั่งโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นเอง <ref>{{cite journal|url=http://marketing.wharton.upenn.edu/documents/research/Prediction%20of%20consumer%20behavior.pdf | title = Prediction of Consumer Behavior by Experts and Novices | author = J. Scott Armstrong | journal = Journal of Consumer Research | volume = 18 | pages = 251–256 | year = 1991 | publisher = Journal of Consumer Research Inc.}}</ref> [[การตลาดความสัมพันธ์]]คือสิ่งหนึ่งที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพราะมันมีจุดสนใจที่โดดเด่นในการรื้อฟื้นความหมายที่แท้จริงของการตลาด ด้วยการยอมรับความสำคัญของลูกค้าหรือผู้ซื้อ การรักษาผู้บริโภค การจัดการความสัมพันธ์ต่อผู้บริโภค การปรับตามปัจเจกบุคคล การปรับตามผู้บริโภค และการตลาดหนึ่งต่อหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากขึ้น การทำหน้าที่เชิงสังคมสามารถจัดประเภทเป็น[[ทฤษฎีทางเลือกของสังคม|ทางเลือกของสังคม]]และการทำหน้าที่สวัสดิการ
 
พฤติกรรมผู้บริโภคมีผลต่อความสำเร็จของ[[ธุรกิจ]] ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้สามารถสร้าง[[กลยุทธ์ทางการตลาด]]ที่สร้าง[[ความพึงพอใจ]]ให้แก่ผู้บริโภคและความสามารถในการค้นหาทางแก้ไข พฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยในการพัฒนา[[ตลาด]]และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่ฉลาด นอกจากจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าบริการแล้ว จะต้องรอบรู้เท่าทัน[[กลวิธี]] [[เทคนิค]] และกลฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ใช้ในการขายสินค้าและบริการ รวมถึงสามารถปกป้อง[[สิทธิ]]ที่ตนเองพึงได้รับด้วย การเรียนรู้การเป็น ผู้บริโภคที่ฉลาด จะทำให้ทราบและสามารถลำดับความสำคัญของทางเลือกต่าง ๆ ในการใช้[[เงิน]] ตลอดจนรู้จักหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อและใช้สินค้าและบริการ
 
== อ้างอิง ==
ไม่บอกปล่อยให้หาเอง ___{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:การตลาด]]