ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีปเอเชีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 7125824 โดย 14.207.109.254: ด้วยสจห.
บรรทัด 43:
ตามบทนิยามที่เสนอโดย[[สารานุกรมบริตานิกา]]<ref name=Britannica>{{cite encyclopedia | title=Asia | url=http://www.britannica.com/eb/article-9110518/Asia | encyclopedia=eb.com, [[Encyclopædia Britannica]] | year=2006 | location=Chicago | publisher=Encyclopædia Britannica, Inc.}}</ref> และ[[สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก]]<ref name="NatlGeoAtlas">{{cite book|title=National Geographic Atlas of the World|edition=7th|year=1999|location=Washington, DC|publisher=[[National Geographic Society|National Geographic]]|isbn=978-0-7922-7528-2}} "Europe" (pp. 68–9); "Asia" (pp. 90–1): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles."</ref> เอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีป[[ยูเรเชีย]] โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็น[[ทวีปยุโรป]] เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของ[[คลองสุเอซ]] ตะวันออกของ[[เทือกเขายูรัล]] และใต้[[เทือกเขาคอเคซัส]] (หรือ[[แอ่งคูมา-มานิช]]) และ[[ทะเลสาบแคสเปียน]]และ[[ทะเลดำ]] พรมแดนตะวันออกติด[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ใต้ติด[[มหาสมุทรอินเดีย]] และเหนือติด[[มหาสมุทรอาร์กติก]] มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ใน[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] คือ [[ไซปรัส]] เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล
 
คนอ่านควาย
== ศัพท์มูล ==
[[ไฟล์:Gulf5..JPG|thumb|300px|เอเชียของ[[ทอเลมี]] (Ptolemy)]]
 
เดิมที คำว่า "เอเชีย" นั้นเกิดจากแนวความคิดต้องการ[[การสร้างอารยธรรมแบบตะวันตก|สร้างอารยธรรมแบบตะวันตก]]<ref name="reid">Reid, T.R. ''Confucius Lives Next Door: What living in the East teaches us about living in the west'' Vintage Books(1999).</ref> คำว่า "เอเชีย" ในฐานะที่เป็นชื่อสถานที่นั้น แม้ปรากฏในภาษาปัจจุบันหลายภาษาหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่ปรากฏแหล่งที่มาดั้งเดิมแน่ชัด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าเป็นหรือมาจากภาษา,ละตินแปลว่าดินแดนที่แตกต่างสุดแต่เท่าที่ทราบ "เอเชีย" เป็นชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดชื่อหนึ่งซึ่งได้รับการบันทึกเอาไว้ และมีผู้เสนอแนวคิดมากมายเกี่ยวกับศัพทมูลของคำนี้
 
=== ยุคโบราณสมัยคลาสสิก ===
 
คำ "Asia" ในภาษาละติน และคำ "Ἀσία" ในภาษากรีกนั้นปรากฏว่าเป็นคำเดียวกัน นักประพันธ์ชาวโรมันแปลคำว่า "Ἀσία" เป็น "Asia" และชาวโรมันเองตั้งชื่อท้องที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในทวีปเอเชียนี้ว่า "Asia" อนึ่ง ครั้งนั้นยังมีดินแดนที่เรียก "เอเชียน้อย" (Asia Minor) และ "เอเชียใหญ่" (Asia Major คืออิรักในปัจจุบัน) ด้วย เนื่องจากหลักฐานแรกสุดเกี่ยวกับชื่อ "เอเชีย" นี้เป็นหลักฐานภาษากรีก เมื่อว่ากันตามพฤติการณ์แล้ว จึงเป็นไปได้ว่า คำ "เอเชีย" มาจากคำ "Ἀσία" ในภาษากรีก แต่ที่มาที่ไปเกี่ยวกับการรับหรือถ่ายทอดคำนั้นยังค้นไม่พบ เพราะยังขาดบริบททางภาษา<ref>{{cite encyclopedia | url=http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perseus%3Atext%3A1999.04.0057%3Aentry%3D*%29asi%2Fa | title=Ἀσία | author=Henry George Liddell | coauthors=Robert Scott; Henry Stuart Jones; Roderick McKenzie | encyclopedia=A Greek-English Lexicon | year=2007 | location=Medford | publisher=Perseus Digital Library, Tufts University | origyear=1940}}</ref>
 
[[Herodotus|เฮรอโดตัส]] (Herodotus) นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ "เอเชีย" เรียกทวีป ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเขาประดิษฐ์คำนี้ขึ้น แต่เพราะข้อเขียนเรื่อง ''ฮิสตอรีส์ (Histories)'' ของเขาเป็นงานชิ้นเดียวที่บรรยายทวีปเอเชียไว้โดยละเอียดและเหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบัน เฮรอโดตัสนิยามคำว่า "เอเชีย" เอาไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ เขากล่าว่า เขาได้อ่านผลงานของนักภูมิศาสตร์หลายคนซึ่งปัจจุบันสาบสูญไปทั้งสิ้นแล้ว พบว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ถือกันว่า ชื่อทวีปเอเชียนั้นมาจากชื่อของนาง[[Hesione|ฮีไซโอนี]] (Hesione) ภริยาของ[[Prometheus|พรอมีเธียส]] (Prometheus) ขณะที่ชาวลิเดียถือว่า ชื่อทวีปเอเชียมาจากชื่อเจ้าชายเอเซียส (Asies) โอรสแห่งโคติส (Cotys) และนัดดาของพระเจ้า[[Manes (king)|เมนีส]] (Manes) เฮรอโดตัสแสดงความเห็นแย้งว่า ชื่อ "เอเชีย" มาจากชื่อของ[[Asia (mythology)|พรายนางหนึ่ง]]ซึ่งเป็นเทพีประจำเมือง[[ลิเดีย]]ตามความใน[[เทพปกรณัมกรีก]] และแสดงความสงสัยไว้ว่า เหตุใดจึงเอานามสตรีสามนาง "ไปตั้งเป็นนามภูมิภาคซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" กล่าวคือ ชื่อนาง[[Europa (mythology)|ยูโรปา]] (Europa) สำหรับ[[ยุโรป]] นางเอเชียสำหรับเอเชีย และนาง[[Libya (mythology)|ลิเบีย]] (Libya) สำหรับ[[แอฟริกา]]<ref>{{cite web | url=http://www.theoi.com/Nymphe/NympheAsie.html | title=Asie | work=Encyclopedia: Greek Gods, Spirits, Monsters | publisher=Theoi Greek Mythology, Exploring Mythology in Classical Literature and Art | date=2000-2011}}</ref>
 
ความสงสัยข้างต้นของเฮรอโดตัสอาจเป็นเพียงการแสดงความไม่เห็นด้วยหลังจากที่ได้อ่านวรรณกรรมกรีกหลายต่อหลายฉบับและได้สดับตรับฟังถ้อยคำของคนอื่น ๆ แต่มิได้หมายความว่า เขาไม่ทราบเหตุผลที่เอาชื่อสตรีเพศไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ เพราะตามศาสนากรีกโบราณแล้ว สถานที่ทั้งปวงมีเทพารักษ์เป็นสตรี และสถานที่อื่น ๆ หลายแห่งในครั้งนั้นก็เอาชื่อสตรีมาตั้ง เช่น [[เอเธนส์]] (Athens), [[Mycenae|ไมซีนี]] (Mycenae) และ[[Thebes|ธีบส์]] (Thebes)
 
=== ยุคสำริด ===
 
ก่อนสมัยวรรณกรรมของกรีกข้างต้น ท้องที่แถบ[[ทะเลอีเจียน]]นั้นตกอยู่ใน[[ยุคมืดของกรีก|ยุคมืด]] โดยในครั้งที่เริ่มยุคมืดนี้ ผู้คนได้เลิก[[Syllabary|เขียนหนังสือเป็นพยางค์]] แต่ก็ยังมิได้เริ่มใช้ตัวอักษร และนับขึ้นไปก่อนสมัยนั้นอีกซึ่งเป็น[[ยุคสัมฤทธิ์]] ปรากฏบันทึกหลายฉบับของ[[Assyrian Empire|จักรวรรดิอัสซีเรีย]] [[Hittite Empire|จักวรรดิฮิตไทต์]] และ[[Mycenaean Greece|รัฐไมซีเนีย]]หลาย ๆ รัฐแห่งจักรวรรดิกรีก ที่เอ่ยถึงภูมิภาคซึ่งได้แก่เอเชียในปัจจุบัน บันทึกเหล่านี้เป็นเอกสารทางการเมืองการปกครอง ไม่มีเนื้อหาเชิงวรรณกรรมแม้แต่น้อย
 
บรรดารัฐไมซีเนียนั้นถูกกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งทำลายจนล่มจมไปทั้งสิ้นเมื่อราว ๆ 1200 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ใดแท้จริงยังไม่ทราบ แต่ก็มีสำนักทางความคิดสำนักหนึ่งถือสืบ ๆ กันมาจนบัดนี้ว่า เป็น[[การรุกรานของชาวดอริส]] (Dorian invasion) การที่หมู่พระราชวังถูกเพลิงเผาพลาญนั้นส่งผลให้เหล่าบันทึกทางการเมืองการปกครองข้างต้นซึ่งจารด้วยอักษรกรีกลงบนแผ่นดินเหนียวถูกอบเป็นแผ่นแข็ง แผ่นจารึกเหล่านี้ต่อมาได้รับการถอดรหัสโดยคณะผู้สนใจคณะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงนัก[[วิทยาการเข้ารหัสลับ]]ผู้เยาว์รายหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ [[Michael Ventris|ไมเคิล เวนทริส]] (Michael Ventris) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการ[[John Chadwick|จอห์น ชัดวิก]] (John Chadwick) ในการบุกเบิกท้องที่แถบนี้ นักโบราณคดี[[Carl Blegen|คาร์ล เบลเกน]] (Carl Blegen) ได้พบกรุสมบัติขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ซากเมือง[[Pylos|พีลอส]] (Pylos) ในกรุนี้มีบัญชีรายชื่อบุคคลหญิงชายจำนวนมากซึ่งทำขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายประการ
 
หญิงชายจำนวนหนึ่งในกลุ่มที่ปรากฏนามในบัญชีข้างต้นถูกเอาตัวลงเป็นทาส และถูกใช้งานในการค้าขาย เช่น ให้เย็บปักถักร้อย โดยในเวลาที่ถูกเกณฑ์มา ลูกเล็กเด็กแดงของพวกเขามักถูกนำพามาด้วย คนทั้งนั้นถูกเรียกด้วยถ้อยคำหยาบช้าเพื่อใช้บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของพวกเขา เช่น มีการใช้ว่า "aswiai" แปลว่า นางคนเอเชีย (women of Asia)<ref>{{harvnb|Ventris|Chadwick|1973|p=536}}.</ref> ข้อนี้ เบื้องต้นมีการตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขาถูกจับถูกคร่ามาจากเอเชีย แต่เมื่อปรากฏว่า บางคนถูกพามาจากแห่งอื่นก็มี เช่น กลุ่มที่เรียก "ไมลาเทีย" (Milatiai) นั้นมาจากอาณานิคม[[Miletus|ไมเลทัส]] (Miletus) ของกรีก ชัดวิกจึงตั้งสมมุติฐานว่า บัญชีรายชื่อข้างต้นระบุถึงสถานที่ที่คนเหล่านี้ถูกซื้อขาย มากกว่าจะเป็นสถานที่ที่ได้ตัวมา<ref>{{harvnb|Ventris|Chadwick|1973|p=410}}</ref>
 
คำว่า "aswiai" เป็นอิตถีลึงค์ซึ่งเป็นพหูพจน์ ส่วนอิตถีลึงค์เอกพจน์คือ "aswia" ซึ่งใช้เป็นทั้งชื่อประเทศประเทศหนึ่งและเป็นคำเรียกสตรีของประเทศนี้ด้วย และปุรุสลึงค์คือ "aswios" ในการนี้ ปรากฏว่า ประเทศ Aswia
คือ [[Assuwa league|สันนิบาตอัสสุวา]] (Assuwa league) ซึ่งเป็นสหพันธรัฐตั้งอยู่ตอนกลางของจักรวรรดิลิเดีย หรือทางตะวันตกของบริเวณ[[Anatolia|แอนาโทเลีย]] (Anatolia) หรือที่เรียกกันว่า "เอเชียโรมัน" (Roman Asia, คือ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และถูกชาวฮิตไทต์ในรัชสมัยพระเจ้า[[Tudhaliya I|ทุดฮาลิยาที่ 1]] (Tudhaliya I) ยึดครองเมื่อราว ๆ 1400 ปีก่อนคริสกาล จึงมีผู้เสนอว่า ชื่อทวีปเอเชียอาจมาจากชื่อสันนิบาตดังกล่าวก็เป็นได้<ref>Bossert, Helmut T., ''Asia'', Istanbul, 1946.</ref>
 
ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า "เอเชีย" ว่า คำนี้อาจมาจากคำใน[[Akkadian language|ภาษาแอกแคด]] (Akkadian) ว่า "{{Unicode|(w)aṣû(m)}}" มีความหมายว่า ออกไป (go outside) หรือ ขึ้น (ascend) สื่อว่า เป็นทิศทางที่ดวงตะวันขึ้นสู่ฟากฟ้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่า คำดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับคำใน[[Phoenician language|ภาษาฟีนิเชีย]] (Phoenician) ว่า "asa" ซึ่งหมายถึง ตะวันออก ตรงกันข้ามกับชื่อทวีปยุโรปซึ่งตั้งสมมุติฐานกันว่า มาจากคำในภาษาแอกแคดว่า "erēbu(m)" ซึ่งหมายความว่า เข้าไป (enter) หรือ ลง (set) สื่อถึงอาการที่ตะวันตก
 
[[T.R. Reid|ที.อาร์. เรด]] นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เขากล่าวว่า คำ "เอเชีย" ในภาษากรีกนั้นต้องมาจากคำ "asus" ใน[[ภาษาอัสซีเรีย]]ที่หมายความว่า ตะวันออก เป็นแน่ ตรงกันข้ามกับคำ "ยุโรป" ที่มาจากคำ "ereb" ในภาษาเดียวกัน หมายถึง ตะวันตก<ref name="reid"/> ส่วนนักภาษาศาสตร์[[Douglas Harper|ดักลัส ฮาร์เปอร์]] (Douglas Harper) บันทึกว่า "เอเชีย" มาจากภาษาละตินซึ่งมาจากภาษากรีก ว่ากันว่ามาจากคำ asu ในภาษาแอกแคด แปลว่า 'ออกไป, ขึ้น' ซึ่งสื่อถึงดวงตะวัน ฉะนั้น เอเชียแปลว่า 'แดนอาทิตย์อุทัย' (the land of the sunrise)"<ref>"Asia
from L., from Gk. Asia, speculated to be from Akkad. asu "to go out, to rise," in reference to the sun, thus "the land of the sunrise."" ("Asia." Online Etymology Dictionary. Douglas Harper, Historian. 03 Feb. 2013. <Dictionary.com http://dictionary.reference.com/browse/Asia>.)</ref>
 
== ภูมิศาสตร์เอเชีย ==